หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ประวัติสมาคมฮากกา แห่งประเทศไทย 客家會館

รูปภาพของ ฮากกาแห่งประเทศไทย


ประวัติสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย จาก
http://www.hakkathailand.com

26 ถ.พาดสาย เขตสัมพันธวงศ์ จ.กรุงเทพฯ 10100 โทร.02-2264473, 02-2264474, 02-2242256 fax.02-2247901



ประวัติสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย

พี่น้องชาวฮากกาของเรา เดินทางมาประเทศไทยเมื่อใดนั้น ไม่มีประวัติบันทึกไว้ให้ศึกษา และจากข้อมูลที่มีการบันทึก ทำให้รู้ว่า ประเทศไทยมีชาวฮากกาเข้ามาอาศัย ตั้งแต่รัชสมัยสุโขทัย ติดต่อมาถึงรัชสมัยจักรี รวมเป็นเวลาหลายร้อยปี ส่วนการจัดตั้งองค์กร ชาวฮากกาในประเทศไทยนั้น มีประวัติยาวนานถึงกว่าร้อยปี สามารถแยกเป็น 5 ช่วงเวลาดังนี้


1. ช่วงจัดตั้ง " ชมรมจี๋เสียนก่วน "

ประมาณปี ค.ศ. 1870 "ชมรมจี๋เสียนก่วน" ได้ก่อตั้งขึ้นโดยชาวฮากกาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่วังบูรพา โดยมีคุณหลี่เจียเหยิน และคุณอู่ฟู เป็นผู้ดำเนินการ วัตถุประสงค์เพื่อให้ความสำคัญต่อความมีสัจจธรรม การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน รวมทั้งความสมานฉันท์ระหว่างกัน


2. ช่วงของ "หมิงซุ่น" และ "ฉวินอิง"

ปลายรัชสมัยชิง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของตัวบุคคลและสภาพแวดล้อม ทำให้มีความเห็นขัดแย้ง ในที่สุดแตกแยกออกเป็น "ชมรมหมิงซุ่น" และ "ชมรมฉวินอิง" ผู้ดำเนินการของ "ชมรมหมิงซุ่น" คือคุณเฉินซุนชิน ส่วน "ชมรมฉวินอิง" ดำเนินโดยคุณเหลียงกว่าง และ คุณหลินอี้เซิง


3. การสถาปนา " สมาคมจีนแคะ "

ปี ค.ศ. 1901 คุณอวี๋ชื่อเผิง สมาชิกเชื้อสายฮากกาของสมาคมสันนิบาตประเทศจีน ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย และได้พบเห็นชาวฮากกา ต่างก่อตั้งองค์กรของตัวเองนั้น เป็นการบั่นทอนกำลัง รวมทั้งไม่เป็นผลดีต่อชาวฮากกา จึงได้ดำเนินการไกล่เกลี่ย ขอร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายยกเลิกชื่อของชมรม จากนั้นได้มีการรวบรวมคณะบุคคลก่อตั้ง "สมาคมจีนแคะ" ขึ้น จนถึงปี ค.ศ. 1909 จึงได้จัดตั้งที่ทำการสมาคม โดยเรียนเชิญเจ้าพระยายมราช รัฐมนตรีมหาดไทย เป็นนายกสมาคมในพิธีเปิดป้ายสมาคมจีนแคะ ที่ตั้งอยู่ที่ศาลเจ้าหลีตี้เบี้ยว และได้คุณหยางหลี่ชิงเป็น นายกสมาคมสมัยที่ 1 คุณอู่จั่วหนาน เป็นรองนายก คุณสวี่เอี๋ยนฮุย เป็นเหรัญญิก ต่อเนื่องมาถึง นายกสมาคมสมัยที่ 2 คุณโหวหลันถิง และ นายกสมาคมสมัยที่ 3 คุณสวี่จื่อถิง


4. จดทะเบียนสมาคมหัวเฉียวจีนแคะ

ปี ค.ศ. 1912 ทางสมาคมได้แลกที่ดินบริเวณถนนพาดสายมาผืนหนึ่ง จึงได้มีการก่อสร้างอาคารใหม่ เป็นที่ตั้งของสมาคมปัจจุบัน ต่อมาได้มีการกำหนดระเบียบข้อบังคับของสมาคม และจดทะเบียนเป็น "สมาคมหัวเฉียวจีนแคะ" เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2470 (ปี ค.ศ. 1927) และได้เลือกคุณอู่จั่วหนาน เป็นนายกสมาคม คุณเอี้ยหวินฝั่ง เป็นรองนายกสมาคม คุณเสืองอิ้วหลิน เป็นเหรัญญิก และคุณหวงเซ่าเว่ย เป็นเลขานุการ

5. ความเป็นมาของสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย
ปี ค.ศ. 1936 ได้มีการกำหนดระเบียบข้อบังคับของสำนักงานประจำต่างจังหวัดหรือสาขา สมาคมขึ้นเป็นครั้งแรก และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งสาขาสมาคม ชื่อของสมาคมได้เปลี่ยนเป็น "สมาคมหัวเฉียวจีนแคะแห่งประเทศไทย" ปี ค.ศ. 1967 เพื่อสะดวกต่อการพัฒนากิจการสาขา จึง ได้มีการจดทะเบียนและเปลี่ยนชื่อสาขาเป็นสมาคมฮากกาจังหวัดนั้น ๆ และในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2515 (ปี ค.ศ. 1972) ที่ประชุมสมาชิกประจำปี ได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อ "สมาคมหัวเฉียวจีนแคะแห่งประเทศไทย" เป็น "สมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย" ใช้ชื่อย่อว่า "เค่อจ่ง" อีกทั้งจัดตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ เพื่อพัฒนากิจกรรมของสมาคมรวม 8 คณะ คือ ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายกีฬา ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสตรี ฝ่ายสวัสดิการ ฝ่ายพาณิชยการ ฝ่ายประสานงาน และฝ่ายยุวชน สมาคมมีสุสาน 4 แห่ง คือ สุสานสีลม สุสานตรอกจันทร์ สุสานจงจินต์ สุสานจันทร์ฟ้า ศาลเจ้า 6 แห่ง คือ ศาลเจ้าซำไนเก็ง ศาลเจ้าหลีตี้เบี้ยว ศาลเจ้าโรงเกือก ศาลเจ้าปุนเถ้ากง ศาลเจ้ากวนอู และศาลเจ้ากวนอิมเนี้ย โรงเรียน 2 แห่ง คือ โรงเรียนจิ้นเตอะ และ โรงเรียนพณิชยการเอเชีย โรงพยาบาล 1 แห่ง คือ มูลนิธิโรงพยาบาลจงจินต์ นอกจากนี้ทางสมาคมได้จัดตั้งกองทุนการศึกษา แจกรางวัลทุนการศึกษา แก่บุตรของสมาชิก และกองทุนผู้สูงอายุ มอบสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุปีละครั้งด้วย และในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2544 (ปี ค.ศ. 2001) จากการประชุมฮากกามิตรสัมพันธ์ ครั้งที่ 9 ณ จังหวัดนครสวรรค์ ก็ได้มีมติให้เปลี่ยนคำว่า "เค่อสู่" เป็น "เค่อเจีย" ซึ่งหมายถึง "ฮากกา" ในชื่อภาษา



คณะกรรมการสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย สมัยที่ 41 ( พ.ศ.2550 - พ.ศ.2552)

นายกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ
นายเกียรติ วัธนเวคิน , นายชลิต พงษ์วัฒนานุสรณ ,์ นายผิน คูณทวีลาภ , นายมงคล มหกิจไพศาล , นายประยูร รินธนาเลิศ , นายจี่เคียง แซ่หลิ่ว , นายวีระวงศ์ ศิริบรรณไพศาล

ประธานกิตติมศักดิ์ตลอดชีพ
นายยืนยง ทายาทสุวรรณ , นายมานะ วิฑูรย์เธียร , นายธนิต ลิ่วเฉลิมวงศ์ , นางยินดี ลิ่วเฉลิมวงศ์ , นายสุรินทร์ ชูจิรวงศ์ , นายวิเชียร วิจิตราทรัพย์ , นายประมุข วงศ์วานรุ่งเรือง , นายพันศักดิ์ ทองจินดาวงษ์ , นายประพันธ์ ปัญญาวุฒิไกร , นางมาลี ติงธนาธิกุล , นางอุไร ศักดิ์วานิชกุล , นายสิงห์ทอง จันทร์สิงห์ทอง , นายพัฒน์ ชวลิตากุล , นายชิน กนกวลีวงศ์ , นายชิน ชินเศรษฐวงศ์ , นายสุวิทย์ จิรากรตระกูล , นางปราณี จงถาวรวาสนา , นายบรรจง ฉันท์วีรวงศ์
ประธานกิตติมศักดิ์ นายนพดล เทพชาตรี , นายเติ้ง จื่อ เลี่ยง , นายชัยวัฒน์ ไชยชัชวาล

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
นายซิมเหงียน แซ่หย่อง , นายเสถียร สมบูรณ์เวชชการ , นายไสว สีตลาศัย , นายฟุ้ง ศรีสว่างวัฒน์ , นายซุ้งเหงี่ยน แซ่เท้น , นายประพล ประพันธ์องอาจ , นายเกรียง วงศ์สุขศิริ , น.ส. มั่นจิตต์ ชินสมจีนสมบัติ , นางบังอร วสุนธราพร

ที่ปรึกษา
นายมังกร วรวิสุทธิ์สารกุล , นายหยก แซ่หยุ่ง , นายวิเชียร รื่นฤดีปัญญา , นายสุนทร เรืองอนุพงศ์ , นายมณฑล กอบอารยธรรม , ดร.ประเสริฐ จิตต์จารึก , นายประยูร อนันต์โกศลพร , นายอุดม โพธิบรรจง , นายอุดม ชัยชนะพานิช , นางสุภา แซ่ผั่ง , นายประสิทธิ์ รัตนประภาต

นายกสมาคม
นายพจน์ กาญจนปลั่ง

รองนายกสมาคม
นายปกรณ์ เทพชาตรี , นายสถาพร ถิ่นวัฒนกูล , นายอุดม ยงชัยชาญ , นายแสงชัย จงพิพัฒนากูล , นายไพบูลย์ วิทยสิริไพบูลย์ , นางฟุ้ง ศิริฟ้า , นายเชาว์ ชวนะอิทธินันท์ , นายวุฒิพล สุริยาภิวัฒน์ , นายนภดล ชวาลกร , นายอุดม กองวรนันท์ , นายทรงศักดิ์ ชินวรกิจ , นายเยี้ยว แซ่ฉิ่น , นายทินกร ธนาภิสิทธิกุล , นายสมิง ติงธนาธิกุล , นางเพ็ชรรัตน์ เทพชาตรี , นายกำธร วรรธนะเลาหะ , นางรวีวรรณ เทอดจิตไพศาล

รองนายกสมาคมและเหรัญญิก นายชูวงศ์ วงศ์รัตนพรกูร
เลขาธิการ นายกีรติ ศุภพัตธรรม

รองเลขาธิการ
นางนิภานันท์ ชูพจน์เจริญ

เลขาธิการไทย
นายชูวิทย์ ลดากรเวทย์

รองเหรัญญิก
นายจรูญ รุจิเรขเสรีกุล , นางพัชรินทร์ วงศ์ศิริเดช

ผู้ตรวจสอบบัญชี
นายเจริญชัย ก้องกิตติวงศ์ นายกลวัชร กองเรืองกิจ

ปฏิคม
นายชาลี ศรีสว่างวัฒน์ , นายไชยยันต์ อนันต์วัฒนสุข , นายสัมฤทธิ์ สิริอร่ามสกุล

กรรมการบริหาร
นางจรรย์สมร วัธนเวคิน , นายวิชัย สุวีรานนท์ , น.ส.รัตนา จงถาวรวาสนา , นางศรีสุวรรณ เจริญวัฒนพันธ์ , น.ส.นฤมล คุณาวิชยานนท์

กรรมการ
นายนิยม จองบุญวัฒนา , นายเต็กฝ่า แซ่จอง , นายทวีชัย คุ้มจรัส , นายไพรัช
อุส่าห์เพียร , นายเอี่ยม ปิติไกรศร , นายสุรชัย แสนเฉลิม นางสุปราณี
จุฑากรณ์ , นางเสาวลักษณ์ เชี่ยวสิริขจร , นายสวัสดิ์ ฐปนางกูร ,
นายเตียหุ้ง แซ่หย่อง , นางนงนุช หวังคณาลาภ , น.ส.สุวรรณา เทพชาตรี ,
นายวรวุฒิ ฟุ้งธรรมสาร , นายทรงธรรม สิริเสาวภาคย์ , นางสุนทรี
เลิศปรีชาพล , นางอรุณวรรณ อาสยโสภ

ปรึกษากฎหมาย
นายวิศาล ภัทรธรรมมาศ , อ.สงวน ลิ่วมโนมนต์

คณะอนุกรรมการ 8 คณะ ของสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย
1. คณะอนุกรรมการฝ่ายการศึกษา
2. คณะอนุกรรมการฝ่ายกีฬา
3. คณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์
4. คณะอนุกรรมการฝ่ายสตรี
5. คณะอนุกรรมการฝ่ายสวัสดิการ
6. คณะอนุกรรมการฝ่ายพาณิชยการ
7. คณะอนุกรรมการฝ่ายประสานงาน
8. คณะอนุกรรมการฝ่ายยุวชน

 



ทรัพย์สินสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย

1. สุสาน มี 4 แห่งคือ
สุสานสีลม ,สุสะานตรอกจันทร์ ,สุสานจงจินต์ ,สุสานจันทร์ฟ้า

2. ศาลเจ้า มี 6 แห่งคือ
ศาลเจ้าซำไนเก็ง ,ศาลเจ้าหลีตี้เบี้ยว ,ศาลเจ้าโรงเกือก ,ศาลเจ้าปุนเถ้ากง ,ศาลเจ้ากวนอู ,ศาลเจ้ากวนอิมเนี้ย

3. โรงเรียน มี 2 แห่งคือ
โรงเรียนจิ้นเตอะ และ โรงเรียนพณิชยการเอเซีย


4. โรงพยาบาล มี 1 แห่งคือ

มูลนิธิโรงพยาบาลจงจินต์

 

26 ถ.พาดสาย เขตสัมพันธวงศ์ จ.กรุงเทพฯ 10100 โทร.02-2264473, 02-2264474, 02-2242256 fax.02-2247901


รูปภาพของ ฉินเทียน

泰國 客家 會館

泰国客家会馆 + 泰國 客家 會館

泰国客家兄弟会馆 + 泰國 客家兄弟 會館

http://www.hakkathailand.com/index.php?langtype=tw&pageid=tw_48

รูปภาพของ ฉินเทียน

將改革 = 将改革

ประวัติศาสตร์หน้านี้ มีเหตุการณ์สำคัญในสมาคมฮากกาฯ กทม. และควรได้รับให้จัดเก็บเพื่อความรู้สู่ครอบครัว hakkapeople.com แห่งนี้  

 

客總第四十五屆理事互選正副理事長


大會主席林豹如總監察長主持選舉 巫碧珠女士高票當選新屆理事長

 

圖片說明

(19-7-2557)

左:選舉委員會主任張盛財致詞;中:大會主席林豹如致詞;右:理事長候選人巫碧珠致詞

泰國客家總會第四十五屆理事會於七月十九日(星期六) 上午十時正假總會會議廳舉行, 是日新屆理事會同仁出席非常踴躍(照簽名為序,恕未稱呼):

林豹如、張盛財、巫碧珠、盧鈞元、張笑蓮、古柏生、鄧子亮、黃建華、

李菊芳、周鑑遠、李  玲 、 張德華、劉國和、盧繼良、梁漢釗、蕭仕祥、

鄭細玲、徐瑪麗、鄧繁榮、曾海東、沈依霓、盧來福、葉繼鋒、黃佛清、

謝香新、鄧麗春、鍾美蘭、鄧桂英、林梅英、周正華、馬仙鳳、柯記榮、

王維禮、熊金麟、鄧木堃、張錦海、陳富祥、鍾東鑾、劉采儀、巫梅珍、

張皓國、江仕鈞、黃進龍、陳毓坤、陳連盛、鄧麗蘭、余秀雲、盧平光、

盧龍光、鄧天福、徐心蓮、劉兆儀、鄧玉清  

等五十三位。

吉時既屆,選舉委員會主任張盛財先生致開會謂:林總監察長豹如先生,各位理事會同仁:大家好!今天泰國客家總會在此舉行第45屆互選正副理事長大會,承蒙大家在百忙之中抽出寶貴時間出席,特別感謝林總監察長豹如先生蒞臨指導,證明大家都有一顆愛護客家的心,我希望能夠選出一位能做事,會做事的領導人來擔任客總的下一屆的理事長,同時也希望客總尚未完成的客家文史館工作能夠順利進行。我們客總是泰華九屬會館中第二位,希望大家能夠團結合作,共同推進客家會務,爭取客家人的最高榮譽。最後祝大家身體健康,萬事如意,發大財!

接著恭請總監察長林豹如永遠名譽理事長致詞謂:客總俱有一百餘年會史的會館,有堅固的基礎,擁有不動產和基金等,寄望大家團結合作,共同為客家作出貢獻,並講到客總過去的歷史,要大家牢記教訓,強調要向前看,向前走,改革、創新、和諧僑社,群策群力,發展會務,共創輝煌。

接著參選人鄧巫碧珠女士登台分別使用中泰文發表政見:尊敬的總監察長林豹如永遠名譽理事長、尊敬的泰國客家總會全體理事會同仁,大家早上好!今日是泰國客家總會第45屆互選正副理事長的吉日,本人承蒙理事會推薦參選理事長職位,首先要感謝大家對我的信任和支持。 大家都知道第42,43兩屆,在我先夫鄧幹勳先生擔任理事長之時,與各界鄉賢及客家鄉親共同出錢出力,擴建了客總大廈,使客總舊貌換新顏。尤其是本人提議恭請詩琳通公主駕臨主持客總大廈揭幕儀式,付出一番苦心終於獲得成功,非常感恩詩琳通公主為客總大廈揭幕,這是泰國客家人無上的光榮!

2555年10月12日詩琳通公主駕幸主持客總大廈揭幕儀式,提到她對客家文化非常有濃厚興趣,希望客家文化能夠傳承下去。現在客總收集了很多資料,如果本人當選為理事長,本人決定於任期內將文史館整理完成。另外我若選為新屆理事長,我將改革創新,客總章程是會務活動的重要規章,為了符合形勢發展,應當對客總章程進行修正;同时將肩負起弘揚客家文化的重要的使命,提倡客家美食廚藝培訓,聘請老師教客家流行歌曲;達到客家人講客家話、客家人吃客家菜、客家人唱客家歌,定期組織各項客家文化的活動,使客家文化發揚光大。

互選結果,鄧巫碧珠以46票高票當選第四十五屆理事長,張盛財先生及陳晉堯先生照會章榮升為永遠名譽理事長。互選完畢,全體理事聚餐,至下午二時正圓滿完成。

http://www.hakkathailand.com/index.php?langtype=tw&pageid=tw_3&add=view&id=107

รูปภาพของ 曾绍华

รายชื่อของบุคคลและสถานที่

ผมมีความเห็นอยากให้เพิ่มรายชื่อของบุคคลและรายชื่อสถานที่ในประวัติของสมาคมฯภาคภาษาไทย  โดยเพิ่มติดกับชื่อไทย  ทั้งนี้ผู้อ่านจะได้เข้าใจชื่อได้ดียิ่งขึ้นครับ  (เนื่องจากมีการใช้ชื่อไทยและสกุลไทยกันหลายท่าน)

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal