หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ชามตราไก่

รูปภาพของ หลัวจินไฉ

ชามไก่กำเนิดในเมืองจีนเมื่อกว่าร้อยปี ฝีมือชาวจีนแคะ ตำบลกอปี อำเภอไท้ปู มณฑลกวางตุ้ง แต่เดิมชามตราไก่ไม่ปรากฏการเขียนลาย เป็นเพียงชามขาวธรรมดา เมื่อผลิตเสร็จได้จัดส่งมาเขียนลายเผาสีบนเคลือบ ที่ตำบลปังเคย แต้จิ๋ว หลังจากนั้นจึงกลายเป็นชามตราไก่สำเร็จรูปและส่งออกจำหน่ายในตลาดทั่วไป

ต่อมาราว ปี พ.ศ. 2480 ชาวจีนที่ทำชามตราไก่ในประเทศจีนได้ย้ายถิ่นมาจากเมืองจีนมาตั้งบ้านเรือนที่ กรุงเทพมหานครและ ลำปาง (ในการย้ายถิ่นมาครั้งนี้ได้นำช่าง ญาติพี่น้อง ชาวจีนที่มีความสามารถทางการปั้นเครื่องปั้นดินเผามาด้วย) พร้อมกันนี้ได้ก่อสร้างโรงงานและเตาเผาชามตราไก่ขึ้น ที่แถววงเวียนใหญ่ จังหวัดธนบุรี และที่ถนนเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร

ในราวปี  พ.ศ. 2500 ชาวจีนที่ทำโรงงาน และเตาเผาชามตราไก่ ได้ย้ายขึ้นมาตั้งโรงงานและเตาเผาใน จังหวัดลำปางทั้งนี้เนื่องจากที่จังหวัดลำปางมีดินขาวเหมาะที่จะนำมาทำการผลิตชามตราไก่มากที่สุดหลังจาก พบดินขาวที่อำเภอแจ้ห่ม  ในปีเดียวกันชามไก่ใน จ.ลำปางเริ่มผลิตขึ้นโดยชาวไท้ปู 4 คนคือนายซิมหยู นายเซี่ยะหยุย แซ่อื้อ นายซิวกิม แซ่กว็อก และนายซือเมน แซ่เทนร่วมก่อตั้ง " โรงงานร่วมสามัคคี " ที่บ้านป่าขาม อำเภอเมือง ก่อนแยกตัวเปิดกิจการตนเองในอีก 3 ปีถัดมา

ระหว่างปี  2502-2505  ชาวจีนตั้งโรงงานผลิตถ้วยชามที่ลำปางมากขึ้น  รวมถึงผลิตชามไก่ที่เริ่มด้วยขว้างดินขาวลำปางหมักเปียกลงบนพิมพ์ซึ่งหมุนบนล้อจักรยาน แล้วใช้แผ่นไม้ตัดเป็นรูปโค้งขนาดเหมาะมือ (จิ๊กเกอร์มือ)  แต่งดินให้ได้รูปทรงถ้วย  ต่อขา เคลือบขี้เถ้าแกลบ การเผาใช้เตามังกรโบราณแบบกอปี ฟืนไม้ ส่วนการวาดลายไก่ก็ฝึกคนท้องถิ่นตวัดพู่กันจีนวาดเป็นส่วนๆต่อเติมจนเต็มรูปแบบในแต่ละใบ แต่ละคนจับพู่กัน  2-3  ด้ามในเวลาเดียวกันแล้วแต่ความยุ่งยากของกรรมวิธี    ทำให้ผลิตภัณฑ์ออกมาไม่ทันความต้องการ       ชามไก่เริ่มเปลี่ยนรูปแบบเมื่อโรงงานใช้เครื่องปั้นหรือเครื่องจิ๊กเกอร์ ชามจึงมีรูปกลมไม่เป็นเหลี่ยมมีขาในตัว ที่สุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อโรงงานเสถียรภาพที่อ้อมน้อย สมุทรสาคร สร้างเตาอุโมงค์เผาด้วยน้ำมันเตา

ในปี 2505 เผาถ้วยชามแบบเผาครั้งเดียวได้ชาม ช่วงนี้ตัวไก่สีเขียวหางน้ำเงิน ดอกไม้ชมพู ลดความละเอียดลงแต่ทำตลาดได้ดีเนื่องจากราคาถูกและไม่ถลอกง่าย จวบจนปี  2506 โรงงานถ้วยชามเริ่มหันไปผลิตถ้วยชามแบบญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาแทนที่ ลำปางเป็นเพียงจังหวัดเดียว  ที่ผลิตชามไก่อย่างต่อเนื่องแต่หาช่างฝีมือที่คงรูปแบบเดิมยาก อีกทั้งสีที่วาดมีราคาแพงลายไก่เปลี่ยนมาใช้สีชมพูหางน้ำเงินแซมใบไม้เขียวเข้ม พ.ศ. 2516 ขณะที่ชามไก่ขนาด 6 นิ้ว  มีราคาเพียงใบละ 40 สตางค์ เพราะเป็นชามในยุคหลังที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก กลายเป็นสินค้าราคาถูก จึงเริ่มมีการสะสมและกว้านซื้อชามไก่ในรุ่นแรกๆจนทำให้ชามไก่รุ่นนั้นหายไปจากตลาด ถึงทุกวันนี้จึงเป็นสินค้าสูงค่าเพราะหา (ของแท้) ยาก 

 

 

ชามตราไก่ ในภาษาฮากกาเรียกว่าอย่างไรครับ

อ้างอิงจาก   http://www.lampang108.com/wb/read.php?tid-4400-page-e.html    


รูปภาพของ อาคม

แกกุงหว่อน

อาเลี่ยงจ่าย (หลู่กิมฉ่อย) ชามไก่ ฮากกาฝ่าว่า แกกุงหว่อน สำเนียงไท้ปูของไหง สำเนียงอื่นอาจออกเสียง แกกุงหวั่น แกกุ๊งหว้านไม่รู้ว่าเพราะเป็นคนไท้ปูหรือปล่าวอาปาไหงชอบใช้แกกุงหว่อน ถ้าท่านยังอยู่ปีหน้าอายุครบ100ปี ท่านจากไป12ปีแล้ว แต่แกกุงหว่อนยังใช้อยู่ เดี๋ยวจะกลับไปเก็บเข้ากรุ รุ่นเหลี่ยมสีออกเทานิดๆ อาเลี่ยงจ่าย อาสุขอถามหงี อากุงหรือกุงไท้มาจากฮากกาส่วนไหนครับ
รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

ภาพชามตราไก่ ลำปาง

ชามตราไก่ เก่ามากๆ

                             ชามตราไก่ เก่ามากๆ

ชามตราไก่โบราณ (จีนแท้)

ความเป็นมาของชามตราไก่ในลำปาง

ชามไก่กำเนิดในเมืองจีนเมื่อกว่าร้อยปี   ฝีมือชาวจีนแคะ  ตำบลกอปี อำเภอไท้ปู มณฑลกวางตุ้ง  แต่เดิมชามตราไก่ไม่ปรากฏ  การเขียนลายเป็นเพียงชามขาวธรรมดา เมื่อผลิตเสร็จได้จัดส่งมาเขียนลายเผาสีบนเคลือบ  ที่ตำบลปังเคย  แต้จิ๋ว หลังจากนั้นจึงกลายเป็นชามตราไก่  สำเร็จรูปและส่งออกจำหน่าย ในตลาดทั่วไปต่อมาราว ปี พ.ศ. 2480 ชาวจีนที่ทำชามตราไก่  ในประเทศจีนได้ย้ายถิ่นมาจากเมืองจีนมาตั้งบ้านเรือนที่ กรุงเทพมหานครและ ลำปาง (ในการย้ายถิ่นมาครั้งนี้ได้นำช่าง ญาติพี่น้อง ชาวจีนที่มีความสามารถทางการปั้นเครื่องปั้นดินเผามาด้วย) พร้อมกันนี้ได้ก่อสร้างโรงงานและเตาเผาชามตราไก่ขึ้น ที่แถววงเวียนใหญ่ จังหวัดธนบุรี และที่ถนนเพชรบุรี กรุงเทพมหานคร

ในราวปี พ.ศ. 2500  ชาวจีนที่ทำโรงงาน และเตาเผาชามตราไก่ ได้ย้ายขึ้นมาตั้งโรงงานและเตาเผาใน  จังหวัดลำปางทั้งนี้เนื่องจากที่จังหวัดลำปางมีดินขาวเหมาะที่จะนำมาทำการผลิตชามตราไก่มากที่สุดหลังจาก  พบดินขาวที่อำเภอแจ้ห่ม ในปีเดียวกันชามไก่ใน จ.ลำปางเริ่มผลิตขึ้นโดยชาวไท้ปู 4 คน คือ นายซิมหยู นายเซี่ยะหยุย แซ่อื้อ นายซิวกิม แซ่กว็อก  และนายซือเมน แซ่เทน ร่วมก่อตั้ง " โรงงานร่วมสามัคคี " ที่บ้านป่าขาม อำเภอเมือง ก่อนแยกตัวเปิดกิจการตนเองในอีก 3 ปีถัดมา

ระหว่างปี 2502-2505  ชาวจีนตั้งโรงงานผลิตถ้วยชามที่ลำปางมากขึ้น  รวมถึงผลิตชามไก่ที่เริ่มด้วยขว้างดินขาวลำปาง  หมักเปียกลงบนพิมพ์ซึ่งหมุนบนล้อจักรยาน แล้วใช้แผ่นไม้ตัดเป็นรูปโค้งขนาดเหมาะมือ  (จิ๊กเกอร์มือ) แต่งดินให้ได้รูปทรงถ้วย ต่อขา เคลือบขี้เถ้าแกลบ  การเผาใช้เตามังกรโบราณแบบกอปี ฟืนไม้ ส่วนการวาดลายไก่ก็ฝึกคนท้องถิ่นตวัดพู่กันจีนวาดเป็นส่วนๆ   ต่อเติมจนเต็มรูปแบบในแต่ละใบ   แต่ละคนจับพู่กัน 2-3 ด้าม  ในเวลาเดียวกันแล้วแต่ความยุ่งยากของกรรมวิธี ทำให้ผลิตภัณฑ์ออกมาไม่ทันความต้องการ   ชามไก่เริ่มเปลี่ยนรูปแบบเมื่อโรงงานใช้เครื่องปั้นหรือเครื่องจิ๊กเกอร์ชามจึงมีรูปกลม  ไม่เป็นเหลี่ยม มีขาในตัว ที่สุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อโรงงานเสถียรภาพที่อ้อมน้อย  สมุทรสาคร สร้างเตาอุโมงค์เผาด้วยน้ำมันเตา

ในปี 2505 เผาถ้วยชามแบบเผาครั้งเดียวได้  ชามช่วงนี้ ตัวไก่สีเขียว   หางน้ำเงิน ดอกไม้ชมพู ลดความละเอียดลงแต่ทำตลาดได้ดี   เนื่องจากราคาถูกและไม่ถลอกง่าย จวบจนปี 2506   โรงงานถ้วยชามเริ่มหันไปผลิตถ้วยชามแบบญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาแทนที่ ลำปางเป็นเพียงจังหวัดเดียวที่ผลิตชามไก่อย่างต่อเนื่อง   แต่หาช่างฝีมือที่คงรูปแบบเดิมยาก   อีกทั้งสีที่วาดมีราคาแพง ลายไก่เปลี่ยนมาใช้สีชมพู หางน้ำเงิน แซมใบไม้เขียวเข้ม พ.ศ. 2516 ขณะที่ชามไก่ขนาด 6 นิ้ว มีราคาเพียงใบละ 40 สตางค์ เพราะเป็นชามในยุคหลังที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก   กลายเป็นสินค้าราคาถูก   จึงเริ่มมีการสะสมและกว้านซื้อชามไก่ในรุ่นแรกๆ จนทำให้ชามไก่รุ่นนั้นหายไปจากตลาด ถึงทุกวันนี้จึงเป็นสินค้าสูงค่าเพราะหา (ของแท้) ยาก

ลักษณะของชามตราไก่ "ชามไก่"   หรือเรียกทั่วไปว่า "ชามตราไก่" ภาษาแต้จิ๋วเรียก "โกยอั้ว" เป็นชามที่เหมาะสมกับการใช้ตะเกียบพุ้ย ชามไก่มี 4 ขนาด คือ ขนาดปากกว้าง 5 นิ้ว (เสี่ยวเต้า) 6 นิ้ว (ตั่วเต้า) 7 นิ้ว (ยี่ไห้) และ 8 นิ้ว (เต๋งไห้) โดยชามขนาด 5-6 นิ้ว  สำหรับใช้ในบ้านและร้านข้าวต้มชั้นผู้ดี   ส่วนขนาด 7-8 นิ้ว สำหรับจับกังที่ทำงานหนักเพราะกินจุ  ลักษณะของชามไก่จะเป็นรูปทรงแปดเหลี่ยมเกือบกลม  ปากบาน   ข้างชามด้านนอกมีรอยบุบเล็กน้อยรับกับเหลี่ยม ขามีเชิง วาดลวดลายด้วยมือ  เป็นรูปไก่ขนคอและลำตัวสีแดง หางและขาสีดำ เดินอยู่บนหญ้าสีเขียว มีดอกโบตั๋นสีชมพูออกม่วง   ใบสีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านซ้าย มีต้นกล้วย 3 ใบ สีเขียวตัดเส้นด้วยสีดำอยู่ด้านขวา   บางใบมีค้างคาวห้อยหัวอยู่ฝั่งตรงข้ามกับไก่ มีดอกไม้ ใบไม้เล็กๆ แต้มก้นชามด้านใน ใช้สีบนเคลือบขี้เถ้าเผาที่อุณหภูมิ 750 - 850 องศาเซลเซียส  เพราะต้องการให้สีสดลักษณะของเคลือบบนชามจะมีลักษณะสีเขียวอ่อนๆ แบบจีนต่อมาเมื่อประเทศจีน  มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วชามตราไก่ส่งมาขายเมืองไทยไม่ได้ไทยจึง   ต้องผลิตชามตราไก่เองต่อมาในระยะหลังๆ การผลิตและการขายชามตราไก่  มีการแข่งขันกันมากขึ้นในท้องตลาด การผลิตจึงได้เปลี่ยนไป  จากการเผาเคลือบและเผาสีซึ่งมีกระบวน การ 2 ขั้นตอน   ให้เหลือการผลิตขั้นตอนเดียวคือเผาครั้งเดียวไม่ต้องเผาสีจึงได้พยายามเปลี่ยนรูปแบบของการผลิตขึ้น   เพื่อลดต้นทุนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกันนี้จึงได้เปลี่ยนสีรูปไก่ไปเป็นสีใต้เคลือบแทนสีบนเคลือบ ซึ่งตัวไก่เป็นสีเขียว หางสีน้ำเงิน ดอกไม้สีชมพูอ่อน   เคลือบชามตราไก่เป็นสีขาวออกสีครีมคุณภาพด้อยลงราคาถูก   ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีและวิทยาการการผลิตถ้วยชามก้าวหน้าขึ้น จึงมีการเปลี่ยนแปลงโดยการนิยมใช้เครื่องถ้วย แบบญี่ปุ่นมากขึ้น ความนิยมในชามตราไก่จึงค่อยๆ หมดไป

ชามตราไก่รุ่นแรก ๆ  ผลิตภัณฑ์จากประเทศจีน  ลักษณะของไก่ ตัว หงอนสีแดง หางสีดำ ต้นกล้วยสีเขียวอ่อน ต้นหญ้าสีเขียว  ดอกโบตั๋นสีชมพูม่วง

ชามตราไก่รุ่นปัจจุบัน  ลักษณะของไก่สีม่วงหรือชมพูม่วงหรือสีจ่าง ๆ กัน   หางสีน้ำเงิน เขียว ต้นกล้วยเขียวคล้ำ  ดอกไม้ชมพูม่วงเขียนลวดลายตามใจ ไม่ค่อยมีแบบแผน

การเปลี่ยนแปลงของชามไก่

วิธีผลิตแบบโบราณ

เริ่มจากการผสมดินโดยย่ำด้วยเท้า  และนวดด้วยมือ  จากนั้นนำดินมาปั้นตบเป็นดินแผ่น แล้วจึงอัดดินลงแม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์  หมุนขึ้นรูปชามเป็นวงกลมด้วยมือ ปาดด้วยไก๊ (ไม้ปาดตัดเป็นรูปโค้ง) แล้วนำมาต่อขาทิ้งชามที่ขึ้นรูปแล้วเสร็จ ไว้บนกระดานให้แห้งโดยธรรมชาติ  นำมาชุบเคลือบที่ทำจากขี้เถ้าแกลบปูนหอย และดินขาว จากนั้นบรรจุลงจ้อนำไปเรียงในเตามังกร  เผาด้วยฟืนในความร้อนประมาณ 1300 oC ระยะเวลา 18-24 ชั่วโมงเมื่อเผาสุกดีแล้ว  จึงนำชามมาเขียนสีบนเคลือบด้วยพู่กันเป็นลายไก่ ดอกไม้และต้นกล้วย  แล้วเผาในเตาอบรูปกลมภายในเป็นถังดินขนาดใหญ่ ด้วยความร้อนประมาณ 700 – 750 oC  ด้วยฟืนประมาณ 5 – 6 ชั่วโมง รอจนเย็นจึงบรรจุใส่เข่งส่งจำหน่าย

การเปลี่ยนแปลง

ชามไก่เริ่มมีการเปลี่ยนรูปแบบ เมื่อโรงงานต่างๆ  หันมาลดต้นทุนในการผลิต เพื่อให้สามารถขายได้

ในราคาต่ำลง โดยเริ่มใช้เครื่องปั้น หรือ  เครื่องจิ๊กเกอร์เข้ามาช่วยในการผลิต ชามไก่จึงมีลักษณะกลมไม่เป็นเหลี่ยมและต่อมา ได้มีการทำแม่พิมพ์ให้มีขา  ชามในตัว เพื่อจะได้ไม่ต้องต่อขาชามภายหลัง  ขาชามไก่รุ่นหลังจึงไม่เป็นเชิงจะตรงลงมาในแนวดิ่ง

ชามไก่เริ่มเปลี่ยนไปอย่างมาก  เมื่อโรงงานเสถียรภาพที่อ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่  สร้างเตาอุโมงค์เผาด้วยน้ำมันเตาในปี พ.ศ. 2505 และสามารถเผาถ้วยชามแบบเผาครั้งเดียวได้   ซึ่งรวมถึงการเผาถ้วยชามที่วาดสีใต้เคลือบในครั้งเดียวกันโดย  ไม่ต้องอบสีในภายหลัง   ลักษณะของชามไก่ที่ผลิตขึ้นในช่วงนี้ลายไก่วาดด้วยสีเขียว หางน้ำเงิน ดอกไม้สีชมพู   ลายวาดลดความละเอียดลง   ราคาขายก็ถูกลง   สามารถทำตลาดได้ดีเนื่องจากราคาถูกและลวดลายไม่ถลอกได้ง่าย   จากนั้นราคาชามไก่ก็ถูกลงเรื่อย ๆตั้งแต่ปี 2506 โรงงานถ้วยชามเริ่มหันมาผลิตถ้วยชามรูปแบบอื่น ๆ มากขึ้น   โดยเฉพาะถ้วยชามแบบญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาแทนที่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยขึ้น   จังหวัดลำปางเป็นเพียงจังหวัดเดียวที่ยังผลิตชามไก่มาอย่างต่อเนื่อง   แต่หาช่างฝีมือที่คงรูปแบบเดิมยาก อีกทั้งสีที่วาดมีราคาแพง  ส่วนใหญ่จึงใช้สีวาดใต้เคลือบ  เผาครั้งเดียวที่อุณหภูมิประมาณ 1260 oC  การวาดลายไก่มีการเปลี่ยนมาใช้สีชมพู หางสีน้ำเงิน แซมใบไม้สีเขียวเข้ม   และราคาขายชามไก่ขนาด 6 นิ้ว ในปี พ.ศ. 2516 มีราคาเพียงใบละ 40 สตางค์ เท่านั้น   ทั้งยังมีการผลิตน้อยลงเรื่อย ๆ   และการผลิตด้วยสีบนเคลือบแบบดั้งเดิมเริ่มหายไปจากตลาด

ชามไก่ในยุคปัจจุบัน

เมื่อชามไก่ในยุคหลัง ๆ ได้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก   และกลายเป็นสินค้าราคาถูก จึงเริ่มมีการสะสม และกว้านซื้อชามไก่ในรุ่นแรก ๆ   ซึ่งมีสีสันสวยงาม จนทำให้ชามไก่รุ่นแรก ๆ หายไปจากตลาด   จนเริ่มมีบางโรงงานหันกลับมาผลิตชามไก่ให้คล้ายกับรุ่นแรก ๆ โดยขายในราคาที่สูงขึ้น

สมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง  เห็นความสำคัญของชามไก่ ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาในยุคแรกของจังหวัดลำปาง และยังคงมีผลิตอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย เห็นสมควรที่จะรักษาไว้   จึงได้สร้างประติมากรรมรูปชามไก่ขนาดกว้าง 3.5 เมตร ไว้ที่แยกทางเข้าจังหวัดลำปาง   ริมถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เมื่อราวปี พ.ศ. 2542 ให้ผู้ผ่านไปมาได้รับรู้และเห็นความสำคัญของชามไก่   ที่มีต่อจังหวัดลำปาง และเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปหันกลับมาใช้ชามไก่มากยิ่งขึ้น

ในช่วง ปี พ.ศ. 2544 มีโรงงานในจังหวัดลำปาง   หันกลับมาผลิตชามไก่กันมากขึ้น ทั้งแบบวาดใต้เคลือบและวาดบนเคลือบแบบเก่า ตามความต้องการของตลาด ทั้งเผาด้วยเตามังกรโดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงและเผาด้วยเตาแก๊ส   ชามไก่ที่ผลิตขึ้น มีมากกว่า 10 ขนาด ตั้งแต่ 1 นิ้วไปจนถึง 8 นิ้ว   และพัฒนารูปแบบไปหลากหลาย ตั้งแต่จาน ชาม ถ้วยน้ำ ช้อน และของที่ระลึกต่าง ๆ   เพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในจังหวัด และบางส่วนยังสามารถส่งออก   ไปขายต่างประเทศได้อีกด้วย

ชามไก่ ถือเป็นต้นกำเนิดของเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง    ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันจังหวัดลำปางมีการผลิตเซรามิกหลากหลายประเภท   ตั้งแต่เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของประดับของชำร่วย กระเบื้อง สุขภัณฑ์  ลูกถ้วยไฟฟ้าตลอดจนลูกกรงเซรามิก และแม้ว่าปัจจุบันชามไก่จะไม่ใช่สินค้าที่มีมูลค่าหลัก  ของเซรามิกจังหวัดลำปาง แต่ชามไก่มีความหมายเป็นสัญลักษณ์  ของเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปาง   และจะอยู่ในความทรงจำของกลุ่มผู้ผลิตเซรามิกจังหวัดลำปา  ง และของคนไทยตลอดไป

ที่มา : ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก จ.ลำปาง 
                 และ  สมาคมเครื่องปั้นดินเผา จ.ลำปาง

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

แกกุงหว้าน...หยิดย่อง

 

แฮ่  อากุงอาม่าวอไหงซังต้อว่า  คื่อแถ่แกกุงหว้าน  หรอยปุนไหง   หยิดย่องวอ

ไหงแตวสาก้อง   ลำปางก้องหลี่คี.   ว่า  แกกุงหว้าน  ไหงกี่แต๊ด..

รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

ขอบคุณคุณอาคม สาวตากลม+ชามไก่

ที่ช่วยพิมพ์เป็นภาษาจีนมาให้อ่าน ไหงจำมาตอนอายุ12-13ปี วรรค3-4คำท้ายจะเป็นตากลม ไม่ใช่กลมๆครับ แต่ไหงว่า  ไกกุงหว่อน  คุณอาคมคำว่า  ตั๊บไห่ล ช่วยบรรยายให้ทราบหน่อยคร้บ
รูปภาพของ แกว้น

เหนือยเหนื่อย

ขออนุญาตครับ...

ตั๊บไห่ล แปลว่า เหนือยเหนื่อย (เหนื่อยมาก)

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal