หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

Josip Broz (ติโต / Tito / 铁托 / 鐵托 ) ค.ศ.1892 - 1980

รูปภาพของ ฉินเทียน

ติโต - พระราชนิพนธ์แปลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จอมพล โยเซิป โบรซ - Josip Broz หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ติโต / Tito / 鐵托 / 铁托  (ว่ากันว่ามาจากการที่เขาชอบตะโกนสั่งการด้วยเสียงอันดัง)

ติโตเป็นหนังสือที่ผมอ่านมาแล้ว และได้อ่านอีกจนถึงบัดนี้ประมาณ 3-4 รอบ โดยอ่านจากพระราชนิพนธ์แปล ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงสละเวลาอันมีค่าแปลงานของ ฟิลลิส ออตี - Phyllis Auty ผู้เป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอ๊อคฟอร์ดที่เชี่ยวชาญการเมืองภาคยุโรปตะวันออกมาให้พวกเราได้อ่านศึกษากัน

ประวัติของคอมมิวนิสต์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้น่าดูอยู่ แต่อย่างไรก็ตามเห็นจะต้องบอกสภาพภูมิศาตร์และการเมืองของพื้นที่เสียก่อนเพราะผมถือว่าเป็นแกนหลักของเรื่องทั้งหมด

ดินแดนยุโรปตะวันออกแถบยูโกสวาเวียเป็นพื้นที่เต็มไปด้วยปัญหาทั้งข้อแย้งทางการเมือง ศาสนา และเชื้อชาติมานาน แต่เดิมก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง พวกเขาส่วนหนึ่งอยู่ภายใต้อาณาจักรออสโตร-ฮังการี อีกส่วนหนึ่งเป็นกองกำลังย่อยๆรักษาท้องถิ่นตนเอง บางส่วนศรัทธาในระบอบราชาธิปไตย บางส่วนศรัทธาในระบอบรัฐสภา บางส่วนเลื่อมใสในลัทธิคอมมิวนิสต์ ในดินแดนที่มีทั้งเชื้อชาติ เซิร์บ / โครแอต / มาร์ซิโตรเนียน / แขกขาว ดินแดนอย่าง สโลเวเนีย / บอสเนีย / มอนโตรเนโกร / เซอร์เบีย มีศาสนาที่นับถือหลักๆถึงสามส่วนคือ ออร์โธด๊อคค์ / คาทอลิก และ มุสลิม

ติโตเกิดมาบนความขัดแย้ง พ่อเป็นชาวโครแอต แม่เป็นชาวสโลเวเนีย ในแรกรุ่นเขาไม่ได้สนใจอะไรมากในการเมือง เคยร่วมรบในสงครามที่โรมาเนียในวัย 20 เขาทำงานหลายอย่างก่อนจะเริ่มเรียนรู้ในแนวทางพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะที่ทำงานเป็นกรรมกรโรงงาน ความเฉลียวฉลาดทำให้เขาได้ไปศึกษาที่รัสเซีย เขาเริ่มมีบทบาทในทางการเมืองใต้ดินของอาณาจักรยูโกสลาฟตามลำดับในฐานะสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ในช่วงปี 1927 เป็นต้นมา (ชื่อเล่น ติโต ของเขาได้มาในช่วงนี้) ในสภาพที่ประชาชนเบื่อหน่ายในระบอบราชาธิปไตย เขาเริ่มมีชื่อเสียงจนถึงกับหลบๆซ่อนๆ และต้องถูกจับเข้าคุกเป็นเวลาหลายปี ลูกก็เสียชีวิตไปถึง 3 ในทั้งหมด 4 คน

ติโตฉายแววอย่างชัดเจนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงแรกของสงครามเขาตั้งกลุ่มปาร์ติซาน ยังต้องช่วงชิงการนำประชาชนกับ พันเอก ดราจา มิไฮโลวิก ผู้ซึ่งนำกลุ่มเช็คนิก ที่มีสมเด็จราชาธิปดีที่หนีไปอยู่ลอนดอนหนุนหลัง แต่หลังจากใช้ความอดทนเป็นเวลาหลายปี และแสดงถึงความมุ่งมั่นชัดเจนที่จะสร้างประเทศยูโกสลาเวียให้เป็นปึกแผ่น และต่อสู้กับพวกนาซีในขณะที่กลุ่มเช็คนิค แก้ผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆซ้ำยังไม่ยอมรับชนชาติเล็กๆเช่น มุสลิม จนฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งรัสเซียและอังกฤษให้ความไว้วางใจและสนับสนุนทุกรูปแบบแก่ติโต จนกระทั้งพวกเขาชนะสงคราม

 

Josip Broz ติโต Tito 1892 - 1980

หลังสงครามเป็นอันว่าติโตได้ใจของประชาชนเกือบทั้งหมดของประเทศเขาชนะเลือกตั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรี และต่อมาเมื่อระบบการปกครองแบบเก่าหมดไปจากอาณาจักรยูโกสลาฟอย่างสิ้นเชิง เขาคือประธานธิบดีที่กุมอำนาจทั้งหมด

อำนาจไม่ได้ทำลายติโต - เขาปกครองประชาชนในดินแดนที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งอย่างให้สิทธิเท่าเทียม ทุกชนชาติ - ศาสนา - ดินแดน

"Let that man be a Bosnian, Herzegovinian. Outside they don't call you by another name, except simply a Bosnian. Whether that be a muslim (bosniak), serb or croat. Everyone can be what they feel that they are, and no one has a right to force a nationality upon them." - ใช่แล้ว - ไม่มีใครมีสิทธิจะบังคับใครทำเช่นนั้น

"No one questioned 'who is Serb who is a Croat who is a Muslim we were all one people, that's how it was back then, and I still think it is that way today." - ใช่แล้ว - พวกเราอาจไม่ใช่เชื้อสาย / ศาสนาเดียวกัน แต่ ทุกคน คือ คนชาติเดียวกัน

ผมเลื่อมใสที่ติโตเป็นตัวของตัวเองสูง เขาเป็นคอมมิวนิสต์ที่ดี เขาไม่ยอมทำตามนโยบายของรัสเซียหลายๆอย่างที่เขาเห็นว่าจะเป็นผลเสียของประชาชนของเขา ไม่ยอมเอา Collettive Farm (นโยบายร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์ที่จะใช้กันทั่วโลกในยุคนั้น - และวิบัติล้มเหลวกันเป็นส่วนใหญ่ ) มาใช้ จนตัวเองถูกปลดออกจากองค์การคอมมิวนิสต์สากล และกิจการระหว่างประเทศที่ดีอีกอย่าง คือ การก่อตั้งกระบวนการกับกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ร่วมกับนายกรัฐมนตรีเนรูห์ของอินเดีย ประธานาธิบดีนัสเซอร์ของอียิปต์ ประธานาธิบดีซูการ์โนของอินโดนีเซีย

ในปี 1974 รัฐธรรมนูญระบุให้จอมพลติโตเป็น "ประธานธิบดีตลอดกาล" - President for life

หนังสือระบุรายละเอียดถึงคราวที่ติโตได้ชนะเลือกตั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สองแล้วจบลง แต่ผมก็หาอ่านประวัติท่านต่อ เป็นที่รู้กันว่าตลอดยุคของติโต ประเทศยูโกสลาเวียเป็นประเทศที่ไปได้อย่างมั่นคงทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และการกีฬา - มีความเจริญรุ่งเรืองตามสมควร ปัญหาข้อขัดแย้งในชาติน้อยมาก จำได้ว่าตอนผมเด็กๆทีมฟุตบอลจากประเทศยูโกสวาเวียเก่งมาก ทีมชาติพวกเขาได้รับสมญาว่า "บราซิลแห่งยุโรป" ทีมสโมสรอย่าง เรด สตาร์ เบลเกรด ก็ได้แชมป์ยุโรป (ยูฟ่าแชมป์เปี้ยนลีกในปัจจุบัน) หลายต่อหลายครั้ง

จอมพลติโตถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี 1980 สิริรวมอายุได้ 88 ปี

หลังจากนั้นความขัดแย้งต่างๆทั้งจากเชื้อชาติและศาสนาก็กลับมาอีก ด้วยหลายๆสาเหตุ โดยเฉพาะพวกผู้นำทางการเมืองที่เอาประชาธิปไตยมาบังหน้า แต่มีนโยบายกีดกันชนกลุ่มน้อยต่างๆ เพื่ออาศัยหาเสียงข้างมาก ทำให้ไม่มีการตกลงด้วยดีดังที่คราวสมัยติโตยังมีชีวิตที่ให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย เพียงสิบปีหลังสิ้นติโต ประเทศที่ยิ่งใหญ่เริ่มมีสงครามกลางเมือง รุนแรงที่สุดเริ่มในปี 1991 มีการเข่นฆ่าคนต่างเชื้อชาติ ศาสนาและลงเอยด้วยการแตกสลายเป็นประเทศต่างๆ เริ่มตั้งแต่โครเอเซียแยกประเทศ/ บอสเนีย / เซอร์เบีย จนปีที่แล้วดินแดนที่มีประชากรแค่ไม่ถึงหนึ่งล้านคนอย่างมอนโตรเนโกรก็แยกเป็นรัฐอิสระล่าสุด

พระราชนิพนธ์แปลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่มนี้ออกจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ 1994 ตอนนั้นรัฐยูโกสลาเวียแยกสลายแล้ว)

ทุกๆรัฐชาติย่อมประสานด้วยผู้คนที่หลากหลาย หากแต่เมื่อใดที่มีการแบ่งแยกประชาชน เพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเมือง แบ่งภาค แบ่งศาสนา แบ่งความคิดทางการเมือง โดยไม่ได้ให้ความเท่าเทียมกัน ข้อขัดแย้งนั้นย่อมจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเมื่อใดที่รัฐชาติขาดมหาบุรุษที่ทุกฝ่ายเชื่อถือ เช่น ยูโกสวาเวียในคราวสิ้นติโต รัฐนั้นก็ล่มสลายอย่างสิ้นเชิง


ความสามัคคี คือ ต้องเข้าใจว่าทุกคนคือคนของชาติ ไม่ใช่ว่าเป็นเสียงข้างมากแล้วจะทำอะไรก็ได้อย่างที่บางคน หรือ บางพรรคเข้าใจ รัฐชาติเป็นของเราทุกคน ไม่ใช่ไปบอกประชาชนว่าเป็นของคนนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เป็นของคนที่เลือกพรรคใดพรรคหนึ่งเท่านั้น หากใครสอนชาวบ้านกันแบบนี้ก็สามัคคีกันยาก

ผู้ปกครองประเทศ คือ คนที่สามารถให้ความยุติธรรมและเสรีภาพแก่ทุกชนชาติและศาสนา จอมพลติโตคือตัวอย่างอันดีที่สุด ในการประสานความสามัคคีของคนในชาติได้

ท่านอดีตนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน ได้มีความเห็นในเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแปลหนังสือเรื่องติโตนี้ว่า "เป็นการแปลที่กะทัดรัด เก็บสาระและประเด็นได้อย่างแยบคาย และรักษาเนื้อหาความตื่นเต้นของแนวเรื่องได้อย่างดี" - "เราเรียนชีวประวัติของคนเพื่อสะสมความรู้ และเพื่อที่จะสอนให้เราไม่กระทำอะไรทั้งสังคมในอันที่จะก่อให้เกิดความผิดพลาด ที่ประเทศอื่นเขาได้ประสบมาแล้วในประวัติศาสตร์"

"คำว่า การต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติบ้านเมือง ต้องหมายตลอดถึงเสรีภาพของชาวโครแอต สโลวีน เซิร์บ มาร์เซโดเนียน ชิปต้าร์ มุสลิม พร้อมกันหมด ต้องหมายว่าการต่อสู้จะนำมาซึ่งอิสระภาพ เสมอภาค และภารดรภาพ สำหรับทุกชนชาติในยูโกสวาเวียอย่างแท้จริง นี่คือสารัตถ์สำคัญของการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาติ" ติโตกล่าวในปี 1942 - ติโต พระราชนิพนธ์แปล หน้า 62 - 63

" ความสามัคคีจะมีมาจากการได้ผู้นำที่ดีและยุติธรรม ใครยังไม่ได้อ่าน ลองหามาอ่านเถิดครับ "

บทความโดย COZY

วันที่ พฤหัสบดี ธันวาคม 2550

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=168861

http://en.wikipedia.org/wiki/International_Day_of_Democracy

http://th.wikipedia.org/wiki/วันประชาธิปไตยสากล


รูปภาพของ ฉินเทียน

ยูโกสลาเวีย + Yugoslavia + 南斯拉夫

รูปภาพของ ฉินเทียน

ประชาธิปไตย / 民主 / 英语 / Democracy / δημοκρατία

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal