หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

โลกยุคดิจิตอล ... ทำคนจีนเริ่มอ่าน-เขียนไม่คล่อง

รูปภาพของ อิชยา

เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ - ชาวจีนยุคใหม่เริ่มพึ่งพาการใช้ “พินอิน” หรือดัดแปลงภาษาจีนกลาง เมื่อใช้คีย์บอร์ด ทว่า ความสามารถในการเขียนตัวอักษรจีนกลับกำลังอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ

....สืบเนื่องจากกระแสนิยมรายการโทรทัศน์ “Chinese Characters Dictation Competition” ที่ถ่ายทอดผ่านช่องซีซีทีวี (CCTV) อันมีเนื้อหาเกี่ยวกับการแข่งขันสะกดคำศัพท์ต่างๆ ในภาษาจีน โดยผู้แข่งขันจะเป็นกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาจำนวน 32 ทีมจากจีน ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน ซึ่งเป้าหมายของรายการคือ การกระตุ้นเตือนให้ชาวจีนใส่ใจในการอ่านและเขียนภาษาจีนให้มากขึ้น
....อย่างไรก็ดี ยังมีกลุ่มผู้ใหญ่วัยทำงานอีกจำนวนหนึ่งที่ร่วมรับชมรายการอยู่ภายในห้องส่งของสถานีฯ ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ร้อยละ 70 ของผู้ใหญ่กลุ่มนี้ ไม่สามารถเขียนตัวอักษรจีนคำง่ายๆ บางคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยลายมือของตนเองแล้ว นับเป็นผลลัพธ์ที่น่าตกใจว่า จีนอาจกำลังเผชิญ “วิกฤตทางภาษา” ครั้งใหญ่ก็เป็นได้


ภาพตัดจากรายการโทรทัศน์ "Chinese Characters Dictation Competition" ที่ถ่ายทอดผ่านช่อง CCTV ของจีน (ภาพ - เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์)

 

. . . รายงานข่าว (20 ส.ค.) กล่าวถึงผลการวิจัยด้านภาษาศาสตร์ต่างๆ ที่สะท้อนปรากฏการณ์ความเสื่อมถอย ของทักษะการเขียนภาษาจีนในหมู่พลเมืองแดนมังกร ... โดยในเดือน พ.ค. องค์กรที่ปรึกษางานวิจัยโฮริซอน (Horizon Research Consultancy Group) ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง ... สำรวจพบว่ากว่า 94% ของประชาชน ใน 12 เมืองใหญ่ของจีน ไม่สามารถเขียนตัวอักษรจีน ที่พวกเขาคิดว่ารู้และเข้าใจได้อย่างถูกต้อง... และอีกกว่า 25% ของกลุ่มผู้ถูกสำรวจยอมรับว่า ประสบปัญหานี้บ่อยครั้งขึ้นเรื่อยๆ
. . . “อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารยุคใหม่” กลายเป็นต้นตอสำคัญของปัญหาดังกล่าว ... เพราะมันได้นำเสนอวิถีทางใหม่ที่หลากหลาย ในการเขียนตัวอักษรจีน... เช่น การใช้ปากกาสไตลัส (Stylus Pen).. หรือนิ้วมือที่ใช้สัมผัสหน้าจอสมาร์ทโฟนรุ่นต่างๆ.. และที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ วิธีการพิมพ์ “พินอิน”(Pinyin) อันเป็นระบบสัทอักษรโรมันแทนเสียงภาษาจีน
. . . ระบบสัทอักษรโรมันแทนเสียงภาษาจีน หรือพินอิน (Pinyin - 拼音) ในภาษาจีน ... ได้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับการเขียนภาษาจีน ผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มากยิ่งขึ้น ... โดยผู้ใช้รู้เสียงอ่านของคำศัพท์นั้นๆ ที่ต้องการก็เพียงพอแล้ว ซึ่งนักวิจัยชี้ว่ามันกลายเป็นตัวกัดกร่อน ความทรงจำเกี่ยวกับตัวอักษรจีน ... โดยเฉพาะยิ่งถ้าเป็นตัวอักษรที่มีความซับซ้อน หรือใช้ไม่บ่อยครั้ง
. . . นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ค้นพบว่า นักเรียนจีนจำนวนมากกำลังถลำลึกสู่โลกการอ่าน ที่ต้องพึ่งพา “พินอิน” เป็นหลักเท่านั้น โดยผลงานวิจัยฉบับดังกล่าว ตีพิมพ์ลงในนิตยสารด้านวิทยาศาสตร์ฉบับหนึ่งของสหรัฐฯ ประจำเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า.."จากการทดสอบทักษะการอ่านของนักเรียน โรงเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 5000 แห่งของกรุงปักกิ่ง เมืองก่วงโจว มณฑลก่วงตง และเมืองจี่หนิง มณฑลซานตง ... พบว่าผลที่ได้รับต่ำกว่ามาตรฐานทั่วไป และมี “เครื่องมือสื่อสารยุคดิจิตอล” ทั้งหลาย เป็นอุปสรรคใหญ่ที่มาขัดขวาง พัฒนาการด้านการอ่านของเด็กๆ รุ่นปัจจุบัน"..
ref:: http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000103822

อันนี้ไม่เกี่ยวเอามาฝากให้ชมกัน....แพนด้าสีน้ำตาล

     

 
.....ภาพ “ชีจื่อ” หรือเจ้าเจ็ด แพนด้าสีน้ำตาลในมณฑลส่านซี (ภาพซินหวา).....

 


เห็นด้วยครับ (ขอคิดด้วยคน)

โลกยุคดิจิตอล ทำให้คนได้รับความสะดวกมาก จนคนในสมัยนี้ไม่ใช่แต่เพียงคนจีน ที่อ่าน เขียนไม่คล่อง ไม่ต้องมองให้ไกลตัว บ้านเรานี่แหละ ชัดเจนที่สุด เด็กนักเรียนสมัยนี้ เข้าเรียนป. 1 เขาก็ยัดเยียดให้ใช้แท็บเลท เด็กที่เพิ่งผ่านอนุบาลมาหมาด ๆ แทนที่เด็กจะได้หัดใช้ดินสอลองขีดเขียน ฝึกคัดลายมือ เด็กก็โดนเบี่ยงเบนมาใช้อุปกรณ์ทันสมัย เพียงแต่กด แล้วก็กด ฝึกแบบนี้จนชินตั้งแต่ ป. 1 เลย และภายในอุปกรณ์ทันสมัยแบบนี้ก็มีสิ่งเร้ามากมาย ออกไปในทางเล่น ๆ ซะมากกว่า แล้วเด็กที่ไหนจะสนใจอ่านเขียน เด็กในวัยInnocent เขาแยกแยะไม่ออกหรอกว่าภายในแท็บเลทมีข้อมูลอะไรบ้าง อะไรเหมาะสม อะไรไม่เหมาะสม เด็กเพิ่งจะเริ่มเรียน ก. ไก่ ข. ไข่ แทนที่จะได้หัดเขียนตัวอักษรไทยให้คล่อง ดันเอาแท็บเล็ทมาแจกให้เด็กเรียน เด็กมันจะเอาไปเล่นซะมากกว่าน๊า เออ ถ้าแจกเด็ก ป. 5 ขึ้นไป น่าจะดีกว่า อย่างน้อยเด็ก ป. 5 เรื่องการอ่านการเขียน ก็ผ่านมาได้ระดับหนึ่งแล้ว ดีกว่าแจกให้เด็กที่ยังจับดินสอเขียนก็ยังไม่เป็น แทนที่เด็กจะมีเวลาได้หัดคัดลายมือ กลายเป็นไปทำร้ายเด็กรุ่นใหม่ให้อ่อนด้อยทางการเขียนหนังสือ ขอยกตัวอย่างเช่น วันพฤหัสบดี ในภาษาอังกฤษ คือ Wednesday เด็กสมัยนี้เขียนกันไม่ถูก เพราะหน้าจอในคอม จะโชว์ Wed หรือถ้าวันอังคาร หน้าจอจะโชว์แค่ Tue นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าการศึกษาของเด็กสมัยนี้เป็นอย่างไร สมุดปกอ่อน สมุดปกแข็ง เด็กสมัยนี้แทบจะไม่ค่อยได้ใช้ เพราะมีสมุดแบบฝึกหัด ที่พิมพ์มาพร้อมให้เติมคำลงในช่องว่าง หรือไม่ก็เป็นแบบฝึกหัดแบบ ปรนัย ให้วงกลม หรือ กากบาท การเขียนในสมัยนี้จึงลดน้อยลงน่าใจหายครับ

รูปภาพของ อาฉี

เห็นด้วยอย่างแรง

หัดดีหัดยากในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งเร้าจากทุนนิยม ขนมหวานอาบยาพิษ

อย่าว่าแต่ ป.1  วัย Innocent ควรได้ใช้ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดโดยผู้ที่เข้าใจการพัฒนาการที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะของแต่ละวัย จึงจะคุ้มค่า ของที่ประเทศไม่ได้มาฟรี ที่แลกด้วยภาษีที่ใช้ควรใช้พัฒนาประเทศ

แต่ในทางปฏิบัติ ไม่ว่าเด็กเล็ก(ป๑) หรือเด็กโต(ในสภา) ได้ของฟรี มีสิ่งเร้ามากมายในนั้น ยากที่จะมีผู้ใหญ่มานั่งกับกับควบคุมชี้แนะกันตลอดเวลา แล้วใครจะไปสนใจตั้งใจทำในสิ่งที่เหมาะกับการเรียนรู้ปฏิบัติหน้าที่ ให้เหมาะกับสถานภาพของแต่ละวัย ที่ต้องเหนื่อยยากกว่า การหยิบวิธีฉาบฉวบใช้แค่จิ้ม วง กา แล้วโชวออฟเรียกเรดติ้ง เยอะเลย แล้วใครจะไปสนชีวิตสามัญ เมื่อการตลาดยังไม่ยอมให้ถึงจุดสูงสุด 

เมื่อทุกคนได้เวลามาคนละ 24 ชม.ต่อวันเท่ากันทุกคน ถ้าใช้เวลาไปลุ่มหลงไปกับสิ่งหนึ่ง เวลาการเรียนรู้ที่เหมาะสมอีกสิ่งก็หายไปในเวลาที่เท่ากันด้วย จึงเห็นด้วยกับท่านทั้งสองอย่างแรง

รูปภาพของ ฉินเทียน

ป๊ากับเม้ของไหง ก็อ่านเขียนจีน ไม่ค่อยได้

แต่ถ้าป๊าก้องขักฝ่า ได้แบบเกือบเต็มร้อยครับ กับการใช้ชีวิตที่ประเทศจีน ถิ่่นจีนแคะ หรือฮากกา บรรพชน คนขยันทำมาหาได้เลี้ยงชีวิตและครอบครัว ไม่เมามั่วเรื่องคิดริษยา หารายได้จุนเจือครอบครัวและตอบแทนสังคม อบรมลูกหลานให้กตัญญูรู้บุญคุณผู้มีพระคุณทุกคนที่ได้ให้โอกาส และความรู้สู้ชีวิต คิดแต่เรื่องดี มีการให้อภัยต่อคนไม่ดี 

ส่วนเม้ของไหง ก้องขักได้ แต่ได้แค่ประมาณครึ่งของป๊าไหง เนื่องจากเกิดในสมัยสงคราม และประกอบกับนโยบายห้ามเรียนภาษาจีน ของทางการที่เข้มงวด แล้วต้องออกมาทำงานตั้งแต่อายุได้เพียง ประมาณ 15 ปี

ที่กล่าวมานี้ มีข้อคิดที่จิตสำนึกครับ สำหรับเด็กคงซนตามประสาเด็ก ยังไม่บรรลุวุฒิภาวะ พอจะเก่งได้มากเท่าผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้อาวุโสกว่าครับ รายการนี้นำเสนอแง่มุมของสังคมจีน ซึ่งไม่ค่อยได้ใช้การเขียนอักษรจีน แต่ก็ยังพูดจาฟังภาษาจีนได้ อ่านได้ ทราบว่าตัวหนังสือนั้นที่พิมพ์ เป็นตัวอักษรจีนที่ตนต้องการจะสื่อความหมาย ก็จะทำให้ภาษาจีนไม่สูญหายไป  ในโลกยุคปัจจุบัน  ไหง ยอมรับว่าคอมพิวเตอร์มีบทบาทมาก เช่น เวป Hakkapeople.com แห่งนี้   ไหง เคยคิดจะตั้งค่าภาษาหลักในคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอื่นๆ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ มันก็ให้ใช้แต่ภาษาอังกฤษ ซึ่งมาจากผู้คิดค้นต้องการให้ใช้เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น  แต่ภาษาจีน คงมีใช้อยู่และเป็น 1 ใน 6 ภาษาราชการขององค์การสหประชาชาติ ( UN ) ครับ   

หมายเหตุ คนจีนที่ไม่รู้ภาษาจีน เขียนไม่ได้ อ่านไม่ออก พูดไม่คล่อง ฟังไม่ชัดเจน ไม่ต้องอาย ครับ  ไหง ยังเป็นกำลังใจให้ครับและเข้าใจในชีวิตของพวกท่าน ไท้ก่า ว่าเป็นอย่างไร ในส่วนของคนไทย และคนอื่นๆ ที่สนใจเรียนภาษาจีน ก็ขอให้กำลังใจ ครับ สำหรับการเรียนให้ประสบผลสำเร็จ แต่อยู่ประเทศไทย ใช้ภาษาไทย ก็ดีครับ เพราะป้ายจราจรบอกทางไม่มีภาษาจีน ครับ

ส่วนภาพแพนด้า ที่นำมาลงคือ แพนด้าสีน้ำตาล ซึ่งหาได้ยากมากในโลกยุคปัจจุบัน

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000105595

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal