หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

งานพิธีเปิด 3 โลก

รูปภาพของ tukta

วันที่ 6 เดือน 6  จีน ศาลเจ้าบางแห่งได้ทำพิธี ไหว้ยมทูต ไหว้เจ้ากรรมนายเวร ไหว้บรรพบุรุษ  ทำกงเต็กส่งดวงวิญญาณบรรพบุรุษ

ถือว่าเป็นวันที่ โลก นรก สวรรค์ เปิด ตามศาลเจ้าจะนิมนต์พระจีนมาทำพิธี  

 

ในรูปเป็นงานของศาลเจ้าพ่ิอเฮงเจีย ถ.สวนผัก เขตตลิ่งชัน ซึ่งเป็นถิ่นที่มีชาวฮากกาอยู่ไม่น้อยอีกแห่งหนึ่ง

ควรไปไหว้สักการะสิ่งศักดิ์ของศาลเจ้าก่อน  
   ไหว้ยมทูต  ใช้เสื้อ-หมวกเป็นสัญญาลักษณ์
 ทำบุญปึ่งฉ่ายซัว(ภูเขาข้าวผัก)
อันนี้ไหว้เจ้ากรรมนายเวรของตัวเราเอง
 
   ภูเขาทองจะลงชื่อผู้รับ(อากง/อาม่า) และลงชื่อผู้ส่ง(ลูกหลาน)
ลูกหลานก็นำกับข้าวมาไหว้ที่ด้านหน้าภูเขาทองที่เราจองเอาไว้
 

พิธีกงเต๊กส่งดวงวิญญาณของคนตาย
(ตอนงานศพไม่ได้จัดพิธีกงเต็ก)
 

งานพิธีแบบนี้ตัวไหง่ก๊พึ่งจะได้ไปได้เห็นมา เลยนำมาเล่าแบ่งปันกัน หากท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมข่วยชี้แนะด้วย


รูปภาพของ ฉินเทียน

อยากทราบรายละเอียด เกี่ยวกับวันที่6 เดือน6 จีน ให้มากขึ้นครับ

พิธีกรรมนี้ มีที่มาที่ไปแน่นอน ให้หวนคิดถึงอาหยี ของไหง ที่ถึงแก่กรรมไป โดยที่ไม่มีพิธีกงเต็ก เพราะอาหยี มีพิธีสมรสหรือแต่งงาน แต่ไม่มีลูก และเลี้ยงดูแล ไหง มาตั้งแต่อายุได้ประมาณ 3 ขวบ กระทั่ง ไหง เข้าโรงเรียนตอนอายุ 6 ขวบ และมาอยู่ในความดูแลของอาหยีไหง อีกตอนขึ้น ม.1 กระทั่งสำเร็จ ป.วส. เครื่องกล จาก ราชมงคลฯ นนทบุรี  

ไหง จึงอยากทำพิธีกงเต็ก ย้อนหลังซึ่งทำแบบในวันที่ 6 เดือน 6 ของ จีน ให้ อาหยี   ขอรายละเอียดที่มากมี่สุดครับ  และถ้าได้แผนที่ศาลเจ้าฯ จะดีมากครับ ไท้ก่า 

ตอเซีย เจ๋ tukta สำหรับข้อมูลดีดีที่มีมาให้แบ่งปันกันครับ

 

รูปภาพของ tukta

พิธีกงเต็ก วันที่ 6 เดือน 6

พิธีการไหว้ของงานนี้จะไหว้ 3 ส่วน

ส่วนแรกไหว้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าแปะกง เจ้าพ่อเฮงเจีย องค์อื่นๆ  อยู่ส่วนหน้า ส่วนกลาง ส่วนหลัง

ส่วนที่ 2 ไหว้ เจ้ากรรมนายเวรของเรา

ส่วนที่ 3 ไหว้ ภูเขาทองส่งให้บรรพบุรุษของเรา และต่อด้วยพิธีกงเต็ก

ในวันงาน หลังจากที่เราสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เรียบร้อยแล้ว ก็ติดต่อเจ้าหน้าที่ศาลเจ้าทำบุญภูเขาทอง ที่เราจองไว้ลงชื่อคนให้ และชื่อบรรพบุรุษผู้รับ  ถามเลขที่ของภูเขาทองมาด้วยจะได้หาเจอ จากนั้นก็ทำบุญปึ่งฉ่ายซัวตามศรัทธา

 

จากนั้นจุดธูปไปไหว้ยมทูตกลางแจ้ง ตั้งจิตดีดี ไหว้เจ้ากรรมนายเวรของเราเอง แล้วเอาธูปไปปักปึ่งฉ่ายซัว(ภูเขา ผัก ข้าวเหนียวขาว แดง ซาลาเปา) ปักธูปกับถาดอาหารกลางแจ้งด้วย (เยอะมาก)เสร็จ

ไปไหว้ภูเขาทอง อันนี้เราต้องเตรียมอาหารไปไหว้(เหมือนไปไหว้เช้งเม้ง) จุดธูปไหว้ ตั้งจิตอธิฐานให้บรรพบุรุษของเรา เสร็จแล้วก็รอสักพักค่อยเก็บ

ในระหว่างนั้นพระจีนก็สวดมนต์ไป แล้วท่านก็มาทำพิธี กลางแจ้งทีไหว้เจ้ากรรมนายเวร จากนั้นท่านก็ไปทำพิธีทีภูเขาทองทุกลูก

 พิธีกงเต็ก

ในพิธีกงเต็ก ลูกหลานที่ทำพิธีนี้ถือกระถางธูปที่เป็นชื่อบรรพบุรุษของเรา ลูกหลานคนอื่นก็ถือธูปเดินตาม คนทำพิธีก็สวดมนต์ต่อหน้ารูปเทพเจ้า ดนตรีจีนบรรเลงเหมือนงานกงเต็กทั่วไป  คนทำพิธีสวดมนต์เดินนำพาข้ามสะพาน พาดวงวิญญาณข้ามไปสู่โลกคนตาย ขณะที่ข้ามสะพานต้องหย่อนเหรียญลงในน้ำทุกครั้ง เป็นค่าผ่านทางให้ดวงวิญญาณ เราลูกหลานกตัญญูรู้คุณอากงอาม่าเรา รักท่านมากแค่ไหนก็มาส่งท่านได้เท่านี้

ส่วนภูเขาทองเจ้าหน้าที่ก็นำไปเฮี่ยง (เผา) ส่งให้บรรพบุรุษ

ถ้าเราจะทำแค่ส่งภูเขาทองให้อากงอาม่า ผู้ล่วงลับไปแล้ว เฉพาะแค่นี้ก็ได้เพราะในวันนี้โลก นรก สวรรค์ เปิด ได้ทำให้ท่านเราก็สบายใจ

พิธีนี้ทำปีละครั้ง ถ้าคุณฉินเทียนจะทำ ก็ควรไปติดต่อศาลเจ้า จองภูเขาทอง กับกงเต็ก ก่อนหน้าวันงานล่วงหน้าไว้สักเดือน  

 


ที่อยู่ ศาลเจ้าพ่อเฮ้งเจีย ซอยสวนผ้ก 19


View Larger Map

13.796534 ํN, 100.443462 ํE

สามารถติดต่อตรงกับ ผู้ใหญ่อ๋า ตลิ่งชัน  กรรมการผู้จัดการศาลเจ้าพ่อเฮงเจีย 0818696132  (กื๋อเป็นขักหงินเหมือนกัน)  หรือ ติดต่อกับเจ้ยี้ (เลขาศาลเจ้า) ก็ได้ โทร   0812535722 

 

ผิ่นออน ซุนหลิ่ว

六月初六日 鬼仔過橋節

เทศกาลวิญญาณข้ามสะพาน (鬼仔過橋節,死鬼过橋)หรือ เทศกาลข้ามสะพาน(過橋節)หรือเทศกาลเผากระดาษ(燒紙節)หรือเทศกาลผี(鬼節)จะตรงกับวันที่ 6 เดือน 6 ตามจันทรคติจีน เป็นประเพณีความเชื่อของชาวแต้จิ๋วเชื่อกันว่าในวันนี้ บรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้วยังไม่ครบหนึ่งปีจะต้องข้ามสะพานเพื่อไปเกิดหรือก้าวข้ามเพื่อไปยังภพภูมิใหม่ โดยในค่ำคืนของวันที่ 5 เดือน 6 นั้นชาวบ้านที่มีญาติที่เสียชีวิตใหม่ หรือเรียกได้ว่าเป็นผีน้องใหม่จะมีการเซ่นไหว้ด้วยกระดาษเงินทอง และที่สำคัญคือ มีการเซ่นไหว้ด้วยแตงโม “西瓜”ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า“死瓜” ที่แปลว่าตาย แต่โรงเจอาจจะมีทำพิธี เหมือนพิธีทำกงเต๊กด้วยครับ 
โดย วันที่ 6 เดือน 6 ตามจันทรคติจีน นั้นเป็นเทศกาลผีอีกเทศกาลหนึ่งของชาวแต้จิ๋วเลยก็ว่าได้

รูปภาพของ ฉินเทียน

ตกลง เป็นพิธีกรรมของจีน ...กลุ่มวัฒนธรรมอะไร ครับ

ตอเซีย เจ๋ tukta

กรรมการศาลเจ้าฯ และ เจ๋ tukta เป็น ขักหงิ่น น่าจะเป็นประเพณีวัฒนธรรม จีนแคะ หรือ

ฮากกา นะครับ แต่ maxkung บอกว่าเป็น"เทศกาลผีอีกเทศกาลหนึ่งของชาวแต้จิ๋ว "

ไหง งง ครับ หรือว่า  maxkung เป็นจีนแต้จิ๋ว ครับ  โปรดชี้แจ้งด้วยครับ

วัฒนธรรมแต่ละวัฒนธรรม ต้องชัดเจนให้ลูกหลานได้ศึกษาไว้  จะได้ไม่เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมครับ 

ขออภัยนะครับนะครับผมไม่ได้มีเจตนาให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม

ก่อนอื่นต้องขออภัยนะครับนะครับผมไม่ได้มีเจตนาให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมใดๆทั้งสิ้น พอดีผมเห็นโพสแล้วได้ไปค้นมาว่าเทศกาลวันที่หกเดือนหกเป็นเทศกาลอะไร โดยได้สอบถามข้อมูลมาจากผู้รู้ท่านนึงซึ่งเป็นชาวแต้จิ๋วซึ่งเค้าก็บอกว่าเป็นความเชื่อดั่งเดิมของคนในแถบเฉาโจ่ว หรือแต้จิ๋ว และได้ยังเห็นพิธีดังกล่าวในเฟสบุ๊คของอาจารย์อีกท่านนึงที่เป็นชาวแต้จิ๋วที่เคร่งครัดในธรรมเนียมแต้จิ๋วมาก ซึ่งพอผมไปค้นมาก็พบว่า เกือบจะทุกเวปได้กล่าวว่าเป็นธรรมเนียมของ คนแต้จิ๋ว(潮人) ทั้งสิ้น ตัวอย่าง
http://www.xsdlife.com/bbs/forum.php?mod=viewthread&tid=2108
http://www.chaofeng.org/article/detail.asp?id=14180
http://www.mhztt.com/forum.php?mod=viewthread&tid=4576 เป็นต้นและที่ผมกล่าวว่าวันที่ 6 เดือน 6 ตามจันทรคติจีน นั้นเป็นเทศกาลผีอีกเทศกาลหนึ่งของชาวแต้จิ๋วเลยก็ว่าได้เพราะ ประโยคนี้ครับ 有一个叫“过桥”的仪式是在六月初五下午开始举行的,是为了超度死者亡灵的,桥,
就是大家所熟悉的奈何桥了。所以六月初又是潮汕的鬼节之一,叫“死鬼过桥”、“过桥节”、“烧纸节”、“鬼节” ครับผม ผมเป็นชาวฮากกาครับ และผมไม่ได้มีเจตตนาที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม

รูปภาพของ ฉินเทียน

คำนี้หรือไม่ครับ " 潮汕 "

潮汕  chaoshan  ไม่ใช่ chaozhuo 潮州 ส่วนคนแต้จิ๋ว นั้นภาษาจีน คือ " 潮州人"

潮  สามารถพบได้ในศาลเจ้าทุกแห่งนะครับ สำหรับอากูเกิล แปล ก็คงได้ตามนี้ด้านล่างนี้ครับ

有一个叫“过桥”的仪式是在六月初五下午开始举行的,是为了超度死者亡灵的,桥,

มีอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "สะพาน" พิธีถูกจัดขึ้นในช่วงบ่ายของวันที่ห้าของเดือนมิถุนายนในการสั่งซื้อเพื่อเรียกวิญญาณที่ตายแล้ว, สะพาน,

就是大家所熟悉的奈何桥了。所以六月初六又是潮汕的鬼节之一,叫“死鬼过桥”、“过桥节”、“烧纸节”、“鬼节” 

คือการที่เรามีความคุ้นเคยกับนักกีฬา ดังนั้นมิถุนายนที่หกแต้จิ๋วฮาโลวีนหนึ่งที่เรียกว่า "สะพานปีศาจ", "สะพานเทศกาล", "เทศกาลการเผาไหม้", "ฮาโลวีน" คือ

------------------------------------------------------------------------------------------------ 

แปล แบบ ไหน ไท้ก่า คิดเองนะครับ ไหง ไม่อยากจะกล่าวให้เป็นคดีหมิ่นประมาท ครับ
อยากให้ เจ๋ tukta ยืนยันอีกครั้งว่าเป็นวัฒนธรรมของจีนกลุ่มไหน ไหงไปผิดจะไม่ดีครับ 
------------------------------------------------------------------------------------------------ 
หมายเหตุ  潮 ตัวนี้มีในสมาคมเตี้ยอันฯ ที่น่าสนใจ คือว่า อ่านว่า "เตี้ยอัน 潮安 (县) " ไม่ใช่"แต้อัน" ครับ
เนื่องจาก ไหง ไปถามคนในสมาคมเตี้ยอันฯ ผู้อาวุโสให้ความรู้มาครับ สำหรับไหง แล้ว ภาษาจีนยังไม่เก่งเท่าผู้อาวุโสหลายท่านในเวปแห่งนี้ ครับ
รูปภาพของ ท้ายแถว

คิดว่าวัฒ

คิดว่าวัฒนธรรม ประเพณี น่าจะเป็น ความเชื่อถือ ปฏิบัติ ของชุมชนแต่ละกลุ่มที่นิยมสืบทอดต่อกันมา อาจไม่เกี่ยวข้องกับอาณาเขตการปกครอง หรือชาติสำเนียงภาษา

ดังเช่น คนไทยบางกลุ่มมีพิธีกรรมบูชาเทพเจ้าบางองค์ของอินเดียบ้าง จีนบ้าง จนอาจมีวิวัฒนาการแตกแขนงจากต้นกำเนิด หรือคุยภาษาเทพต่างๆจนเจ้าของภาษาบอกไม่ใช่ภาษาตนแล้ว บ้างคิดว่าเป็นประเพณีแบบไทยก็ไม่ไม่สามารถชี้วัด ด้วยหลักภาษา หรืออ้างอิงตำนานได้ เพราะเป็นศัทธาและการสืบทอดรับวัฒนธรรมกันมาของของชุมชน

สำหรับพื้นที่แถบสวนผัก น่าจะมีลูกครึ่ง ขักกา-แต้จิ๋ว มาก เพราะเท่าที่ทราบ มีคนแต้จิวที่พูดแคะ และแคะที่พูดแต้จิ๋วได้ ปนเปอยู่ไม่น้อย ดูไม่ออกว่าคนไหนแคะคนไหนแต้จิ๋ว และชาวแคะแถบนี้ ส่วนใหญ่มีบรรพชนจากตอนใต้ฟุงสุ่น(ฮงสุน) ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับชาวแต้จิ๋ว และเกียดหยอง(เก็กเอี้ยว) ซึ่งอยู่เขตปกครองร่วมกับชาวแต้จิ๋ว (แต่บางตำบลยังใช้ภาษาแคะเป็นสำเนียงถิ่นหาใช่แต้จิ๋วไม่) 

จึงคาดเดาได้ว่า วัฒนธรรมนี้ และมาเมืองไทยก็ยังเป็นถิ่นคาบเกี่ยวสืบเนื่องมา

คิดว่าประเพณีนี้ น่าจะเป็นบางส่วนที่รับวัฒนธรรมกันมาตั้งแต่บรรพชนจากตอนใต้ของจีนที่มีเขตคาบเกี่ยวทั้งแต้จิ๋วและฮากกา และในเมืองไทยก็มีชาวแต้จิ๋วเป็นจำนวนมาก ซึ่งชาวฮากกานอกจากมาจำนวนน้อยแล้ว และยังเป็นความเชื่อถือเฉพาะบางถิ่นของชาวฮากกา (ไม่ใช่ชาวฮากกาทั้งหมด) จึงมักพบว่าเป็นที่นิยม ของชาวแต้จิ๋วมากตามสัดส่วนประชากร

สำหรับความเป็นมา เชื้อสายชนรุ่นก่อตั้ง และการสืบทอดทางวัฒนธรรม ของศาลเจ้าเฮ้งเจีย เท็จจริงประการใด คงต้องให้คุณ Tukta ช่วยแถลงไข แล้วละ

รูปภาพของ tukta

เราอยู่ร่วมกัน

เท่าที่ทราบ ผู้ก่อตั้งศาลเจ้าพ่อเฮ้งเจีย สวนผัก ตลิ่งชัน เป็นคนเชื้อสายฟงสุ่นที่พูดได้ทั้งแคะและแต้จิ๋ว

ส่วนประเพณีเป็นที่ศรัทธาของชุมชนและผู้ศรัทธามาจากที่ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ  มาร่วมพิธีอยู่เนื่ิองๆ  

สำหรับที่มาของประเพณีนี้ เป็นการสืบทอดร่วมกันมา  เป็นความเชื่อของบางท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมต่อๆกันมา และแพร่หลายมากขึ้น ดูได้จากภูเขาทองที่จองกันไว้ ในบางปีมากถึงพันลูก

ได้สอบถามคนเก่าแก่ที่อยู่ระแวกศาลเจ้านี้ เค้าไม่รู้ว่าแคะ-แต้จิ๋วมีประเพณีนี้ต่างกันด้วยหรือ! เห็นมีทั้งแต้จิ๋วและแคะต่างก็มากราบไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นี่  มีทั้งแคะและแต้จิ๋ว ซึ่งต่างก็มาไหว้พระองค์เดียวกัน


มา มากินผัดเมี่ยนเซี่ยนกัน

ผิ่นออน ซุนหลิ่ว

รูปภาพของ YupSinFa

จะแคะจะแต้ ซึ่ง ก็คือ "ฮั่น"

          ไหงเป็น แคะ เป็นหักหยิ่น หรือเป็น "ฮากกา" ที่อากุงพามาเกิดที่เสียมหลอ ณ เฉียงใหม่ เมืองเอกของ "หลานน่ากว๋อหวาง" - ราชอาณาจักรล้านนา คือ เชียงใหม่ เมืองเอกของดินแดนล้านนา ประเทศไทย
           ไหงจึงเป็นคนไทยเชื้อสายจีนฮากกา
            เนื่องด้วย อากุงของไหง่ มีอาชีพเป็นครูสอนหนังสือ ทั้งภาษาจีนกลาง และภาษาอังกฤษ และท่านก็เป็นคนที่ค่อนข้างจะ "รุ่นใหม่-ทันสมัย" ในยุคแปด-เก้าสิบปีก่อน ความเป็นผู้รู้เรื่องวัฒนธรรมพื้นบ้าน ในตัวท่าน จึงไม่มีเลย
            มาอยู่เมืองไทย จึงไม่ได้นำเอาวัฒนธรรมติดตัวมาสอนลูกสอนเมียได้เลย
            อาผอของไหง่ อาปาของไหง่ และครอบครัวไหง่ทุกคน จึงไม่มีใครรู้เรื่องราวและพิธีกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่นจีนฮากกา กันเลย
            ทุกเทศกาล ที่เราไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ เราก็ไหว้ตาม ๆ บ้านอื่น หรือ ไหว้แบบ "ใครไหว้อย่างไร เราก็ไหว้อย่างนั้น" มานานแสนนาน หรือคล้าย ๆ กับว่า ปฏิบัติกิจกรรมไปตามเทศกาลของวัฒนธรรมประเพณีจีน ของพวกเรา แบบ เรียบ ๆ ง่าย ๆ พอให้ได้ทำเป็นพิธี และความสนุกสนานเบิกบาน และความสบายใจ
             ไม่ได้เคร่งเครียดจริงจังอะไรมากมาย
             ทุกท่านที่เป็นสมาชิกรุ่นแรก รุ่นเดียวกับไหง และติดตามงานเขียนของไหง่ มาตลอด จะเห็นว่า ยับสินฝ่า ไม่เคยเอาเรื่องราวด้านวัฒนธรรมจีน เน้นจีนฮากกา หรือจีนทั่วประเทศจีน มาสาธยาย เลย นั้นเพราะไหงรู้ตัวดีว่า ความรู้ด้านวัฒนธรรม การปฏิบัติตามประเพณีจีน ของไหง่ นั้น มันสั้นเสียยิ่งกว่าหางอึ่ง เสียอีกครับ ท่านผู้ชม
              จากการที่ไหงเกิดมาในครอบครัวที่ไม่รู้เรื่องราวด้านวัฒนธรรมจีน ไหงก็เลยเป็นคนที่ไม่ได้จริงจังอะไรเกี่ยวกับ "พิธีกรรม" ต่าง ๆ และไหงก็ืถือว่า ตัวเองไม่รู้ ก็จึงได้นั่งอยู่วงนอกชมท่านผู้รู้แต่ละท่าน ได้ สาธยาย พิธีกรรมต่าง ๆ อย่างสนุกสนานและชื่นชม...
              รสนิยมในความเป็นจีน ของยับสินฝ่า มันจึงออกมาในแนวศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคม การเมืองและความยิ่งใหญ่ของประชาชาติจีน ในภาพรวมมากกว่าที่จะเรียนรู้ลึกถึงเรื่องราวรายละเอียดปลีกย่อยทางการปฏิบัติด้านพิธีรีตอง
              ไหงจึงออกจะเป็นคนที่โน้มเอียงไปในทางเห็นด้วยกับการนำประเทศจีนใหม่ของก้งฉานต่าง(พรรคผู้บริหารประเทศจีนใหม่) เสียมากกว่า ครับท่านทั้งหลาย 
               ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ และเกาะไต้หวันนั้น มีชาวจีนที่ถูกเรียกว่า "เค่อเจีย" หรือ ฮากกาอย่างพวกเรา ณ ปี 2013 นี้ มีการพูดกันว่า มีประชากรชาวจีนเค่อเจียหรือฮากกาอยู่ 1 ร้อย กว่าล้านคน ครับ ไท้ก๋าหยิ่น
               ไม่รวมพวกฝ่าเขี่ยว หรือ ฝ่าหยิ่น อย่างพวกเราในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเก๊า ยุโรป และอเมริกา นะครับ
                แต่คนจีนที่พูดภาษาแต้จิ๋ว ในเมืองแต้จิ๋ว เมืองซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง มีประมาณ ไม่เกิน 20 ล้านคน ครับ พี่น้อง
                ชาวจีนแต้จิ๋วกลับมามีอยู่กันอย่างหนาแน่นในประเทศไทย และเป็นคนจีนกลุ่มใหญ่ที่สุด ในประเทศไทยของเรา ดังนี้ วัฒนธรรมจีนแต้จิ๋ว จึงเป็นวัฒนธรรมลีดเดอร์ หรือ เป็นวัฒนธรรมจีน ในสายตาของคนในประเทศไทย และพาลจะเข้าใจไปว่า วัฒนธรรมแต้จิ๋ว เป็น วัฒนธรรมจีน ทั้งหมด???
                 ย้อนกลับเข้าไปในมณฑลกวางตุ้ง ณ เมืองแต้จิ๋ว และ ซัวเถา วัฒนธรรมแบบแต้จิ๋ว กลับเป็นวัฒนธรรมพื้นถิ่น ที่มีอยู่ในวงแคบ เฉพาะจุด ๆ หนึ่ง ในมณฑลกวางตุ้ง แ่ค่นั้นเองครับ พี่น้อง และในมณฑลกวางตุ้ง ก็มีวัฒนธรรมเย่ หรือ วัฒนธรรมของคนที่พูดภาษาไป๋ฮว่า หรือภาษาเย่ หรือภาษากวางตุ้งนั่นแหละ เป็นวัฒนธรรมหลัก แล้วยังมีวัฒนธรรมไห่หนาน(ใหหนำ) อีก
                  พูดไปพูดมา กลายเป็นสาธยายเรื่องวัฒนธรรมที่ตัวเองไม่รู้ไปเสียแล้ว ยับสินฝ่า
                  อย่าเข้าใจผิดนะครับ ไหงแค่อยากจะสื่อให้เห็นภาพของความแตกต่างด้านวัฒนธรรมจีนในแต่ละท้องถิ่น ประเทศจีนกว้างใหญ่ไพศาล เหนือ อีสาน กลาง ตะวันตก และใต้ ล้วนมีวัฒนธรรมแตกต่างกันนะครับ
                  แม้แต่ในมณฑลหนึ่ง ยังมีวัฒนธรรม(ที่เป็นฮั่น)ไม่ค่อยจะเหมือนกันในแต่ละเมืองเลย...
                  และปัจจุบันนี้ เนื่องจากจีนเป็นประเทศปฏิวัติ ในปัจจุบันนี้ คนจีนรุ่นใหม่ แทบจะไม่รู้ หรือไม่สนใจในรากเหง้าของวัฒนธรรมกันเลย สาเหตุจะเพราะอะไร ไหงคิดว่าเรา ๆ คงจะพอรู้กัีนอยู่...
                  กลายเป็นว่า ปัจจุบันนี้ วัฒนธรรมจีน แบบดั้งเดิม (เน้นเฉพาะของจีนแต้จิ๋ว) กลายเป็นว่า ถ้าคนจีนอยากจะมาเห็นจะต้องมาศึกษาดูงาน ทำวิทยานิพนธ์ กันที่เยาวราช ปากน้ำโพ และหัวเมืองต่าง ๆ ที่มีชาวแต้จิ๋วเป็นกลุ่มหลัีก ในประเทศไทย
                  มันเป็นอย่างนี้จริง ๆ ครับ พี่น้อง
                  ให้ตายสิ ไหงไปเมืองจีนเกือบทุกเดือน ได้เห็นคนจีน ปัจจุบัน มีความบ้องแบ้วในเรื่องประเพณีอยู่ให้เห็นเป็นธรรมดา
                  เอาเป็นว่า จะเป็นแต้จิ๋ว หรือ เป็นใหหนำ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน หยุนหนาน และขักหยิ่น หรือ ฮากกา ก็ล้วนเป็นชาว "ฮั่น" ด้วยกัน ทุกกลุ่ม
                  อยากแยกประเด็นเรื่องความขัดแย้งด้านวัฒนธรรม กลายมาเป็น โม้เรื่องภูมิศาสตร์วัฒนธรรม ไปเสียฉิบ อย่าถือสาไหงเลยนะครับ อาโกทั้งหลาย... 
รูปภาพของ YupSinFa

เคารพซึ่งกันและกัน

กลับมาต่อ นะครับ คิดว่าจะรวมไว้ในเม้นท์ เดียว ก็กลัวว่ามันจะไม่โดดเด่น จึงตัดสินใจแยกออกมาร่ายเดี่ยวอีกตะหาก จะดีกว่า ว่ามั้ยครับ หน่วยสอดแนม เสือหมอบ แมวเซา ทั้งหลาย อิอิอิ.

ในระยะเกือบ 2 ปีมานี้ ไหงมีน้อย ถึง น้อยมาก ๆ ที่ไม่ได้เข้ามาพร่ำเพ้อในชุมชนของเรา แม้แต่คอลัมน์ที่เขียนค้างไว้ ก็ ผัดแล้วผัดอีก ยังลงไม่ได้ซักที แต่วันนี้ เป็นวันอาทิตย์ สบาย ๆ ก็แวะเข้ามาทักทายกันเสียหน่อย หวังว่าคงไม่ลืมกันนะครับ อิอิ.

ถึงแม้ว่าไหงไม่ค่อยได้เขียน แต่ก็ได้แวะเวียนมาอ่านอยู่เป็นระยะ วันนี้ อ่านความเห็นที่ คิดต่าง เห็นต่าง ก็เกรงว่าจะไม่เข้าใจกัน จึงขอสอดแทรกเข้ามาเป็นสะพานเชื่อม ก็ หวังว่า จะเห็นแก่ความตั้งใจของไหง่ นะครับ

ไหงว่า เรื่องราวด้านวัฒนธรรมนี้ เป็นเรื่องดีมาก ๆ นะครับ พวกเราชาวฮั่น ก็จะมีวัฒนธรรมหลัก เรียกง่าย ๆ ว่าวัฒนธรรมจีน แล้ว วัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ แต่ละภาค ก็จะเ็ป็นวัฒนธรรมรอง แล้วเมื่อพวกเรา จากบ้านจากเมืองของบรรพบุรุษมาไกลถึงอุษาคเนย์ ดังนี้ วัฒนธรรมของกลุ่มจีนต่าง ๆ มันก็คงจะมีการผสมผสานกันไปบ้าง ไหง ว่า เป็นเรื่องดี เสียอีก ว่าไหมครับ ท่านทั้งหลาย

อย่าเคร่งเครียดจริงจัง กับมันนัก ครับ เอามาผสมกัน ดีเสียอีก เหมือนกับว่า เราได้ประโยชน์ ยกกำลัง สอง กำลัง สาม เชียวนา ว่ามั้ย 

แต่ไหงก็เห็นด้วย ครับ ที่เราจะอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมของเรา และก็ควรจะรู้ว่า อย่างไหน เป็นของเรา อย่างไหน เป็นของเขา

การที่มีผู้ที่ "รู้จริง" มาบอกผู้ที่ รู้นิด ๆ หน่อย ๆ และ บอกผู้ที่อยากรู้ จึงเป็นเรื่องที่ควรยกย่อง นับถือ

ไม่ถือว่า จะเป็นรุ่นไหน รุ่นเล็ก รุ่นกลาง รุ่นใหญ่ ขอเพียงแต่คน ๆ นั่น ท่าน นั้น ๆ เป็นผู้ที่มีความรู้ ก็เป็นพอ

อย่างคุณ Maxkung นี้ ไหงก็รู้สึกชื่นชม และทราบมาว่า กี๋เป็นคนหนุ่ม ที่มีความแตกฉานทางด้านภาษาจีน และความรู้เรื่องวัฒนธรรมประเพณี ของพวกเรา ชาวจีนฮากกา อย่างรู้จริง ท่านหนึ่งในชุมชนของเรา

เป็นคนหนุ่มที่ทรงคุณภาพ ว่างั้นเถอะครับ

ไหงจึงอยากกราบเรียน ไท้ก๋าหยิ่น ได้บำรุงรักษาบุคคลท่านนี้ ไว้ เพราะไหงได้รับการยืนยันจากผู้ที่หวังดีว่า คนนี้ เจ๋งจริง ครับ ท่านที่รัก

ทุกท่าน ที่อยู่หน้าจอในชุมชนของเรา ทุกท่าน ล้วนเป็นบุคคลที่สมควรได้รับการยกย่อง เพราะอย่างน้อยที่สุด พวกเราได้เสียสละเวลา เพื่อเข้ามาร่วมด้วยช่วยกันสร้างสรรค์ ชุมชนของเราให้มีความโดดเด่น สมดังเจตนารมย์ ของท่านผู้สร้าง และรั้งตำแหน่งเว็ปไซด์ของชาวไทยเชื้่อสายจีน อันดับ 1 ของใต้ฟ้าเมืองไทยไปตลอดกาล

ไหงขอยืนยันนะครับ ว่า เว็ปไซด์ของเรา เป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลด้านความเป็นจีน ที่สำคัญที่สุด เว็ปหนึ่ง ของประเท ศไทยเรา จริง ๆ ครับ ไม่เชื่อท่านไปถามอากู๋ ดูสิ ส่วนตัวไหงเอง แต่ละวันก็จะมีถามเข้ามาทางช่องทางอีเมล เฟซบุ๊ค และทางโทรศัพท์อยู่บ่อย ๆ ครับ

ด้วยความรักและนับถือ

              Yubsinfa (Klit.Y)

นครเชียงใหม่

 

ผมต้องขอบ

ผมต้องขอบอกนะครับผมไม่ได้มีเจตนาที่จะสร้างความขัดแย้งหรือต้องการจะเปิดประเด็นใดๆๆ และผมไม่ได้จะบอกว่าไม่ให้คนฮากกาไปทำพิธีดังกล่าว หรือไม่ได้มีเจตนาที่จะไม่ให้คนในพื้นที่ไม่ว่าจะชาวฮากกา หรือชาวแต้จิ่วนั้นไปสืบสานพิธี鬼仔過橋節 ผมยังดีใจซะอีกที่ประเพณีที่หายากนี้ยังคงสืบถอดอยู่ แต่ด้วยที่คุณtuktaได้กล่าวตอนท้ายของโพสว่า "งานพิธีแบบนี้ตัวไหง่ก๊พึ่งจะได้ไปได้เห็นมา เลยนำมาเล่าแบ่งปันกัน หากท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมช่วยชี้แนะด้วย" และก่อนที่จะเห็นโพสของคุณ tuktaนี้ ผมก็ได้เห็นภาพในพิธีดังกล่าวที่จัดโดยอาจารย์อีกท่านในเฟสบุ๊ค ซึ่งท่านได้โพสว่าเป็นธรรมเนียมโบราณที่หายากแล้วของชาวแต้จิ๋ว และได้คุยกับผู้รู้(ซินแซ)ชาวแต้จิ่วท่านนึงเกี่ยวกับประเพณีนี้  เมื่อผมเห็นโพสนี้จึงลองหาข้อมูลเพิ่มเติม ก็พบว่าทุกเวปพูดในทำนองเดียวกันว่าเป็นธรรมเนียมของ潮汕เฉาซาน ซึ่งก็คือเฉาโจว 潮州  นั้นเองที่ภาษาไทยทับศัพท์ว่า "แต้จิ๋ว" เพราะในปัจจุบัน คนแต้จิ๋ว และวัฒนธรรมแต้จิ๋ว ถูกเรียกว่าเฉาซ่าน
潮汕 หรือเตี่ยซัว เช่น คนแต้จิ่วถูกเรียกว่า เฉาซานเหริน潮汕人 ภาษาแต้จิ๋วถูกเรียกว่า เฉาซานฮว่า潮汕话 และอาหารแต้จิ๋วถูกเรียกว่า ฉ่าวซานฉ่าย潮汕菜ครับ คำว่า เฉา 潮 ภาษาแต้จิ่วอ่านว่า เตี่ย แต่คนไทยมาเพี้ยนเสียงว่า "แต้" ครับ เพราะฉนั้นหากถามคนแต้จิ่วว่า เฉา 潮 อ่านว่าอย่างไรย่อมได้คำตอบว่า เตี่ย ไม่ใช่ แต้ แน่นอนครับ ผมเองเป็นเด็กศึกษาภาษาจีนเพียงเล็กน้อย และที่ผมโพสเพื่อเป็นแบ่งปันความรู้ที่ได้ศึกษามา และเป็นการโพสเพื่อเพิ่มเติมข้อมูลอย่างที่คุณtuktaได้กล่าวไว้ และผมก็เข้าใจนะครับว่าวัฒนธรรมคือความนิยมของคนแต่ละพื้นที่ มีการผสมผสาน หลอมรวมกัน ถือว่าเป็นสิ่งดีเป็นสิ่งที่ยืนยันว่าชาวบ้านในท้องที่นั้นรักใคร่กลมเกลียวจนเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ทุกวัฒนธรรมย่อมมีที่มา และต้นกำเนิด เราก็ควรศึกษาเพื่อเป็นความรู้ดังคำที่กล่าวว่า 源恩水饮 เมื่อดื่มน้ำต้องนึกถึงต้นน้ำ และต้องร่วมกันสืบสานเพื่อเป็นการรักษาประเพณีอันดีงามของบรรพชน และผมต้องขอโทษทุกท่านด้วยนะครับหากเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่เหมาะสม
และผมต้องขอโทดคุณฉินเทียนด้วยนะครับ ที่คุณฉินเทียนกล่าวไว้ว่า


"แปล แบบ ไหน ไท้ก่า คิดเองนะครับ ไหง ไม่อยากจะกล่าวให้เป็นคดีหมิ่นประมาท ครับ



อยากให้ เจ๋ tukta ยืนยันอีกครั้งว่าเป็นวัฒนธรรมของจีนกลุ่มไหน ไหงไปผิดจะไม่ดีครับ"

ผมเองไม่คิดจะไปฟ้องหมิ่นประมาทหรอกครับ เพราะผมคิดว่าการแสดงความคิดเห็นไม่ใช่เรื่องที่ผิด ในแวดวงการการศึกษา หรือวงการวิทยาศาสตร์ ก็มีการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่บ่อยครั้ง และไม่เห็นว่าเป็นสิ่งผิดครับ แต่สิ่งที่สำคัญคือการวางใจให้เป็นกลางปราศจากอคติ แล้วมามองกันด้วยที่เหตุผลครับ สุดท้ายนี้ ผมต้องบอกว่าผมยังยืนยันคำที่ว่า ผมขอโทษนะครับผมไม่ได้มีเจตนาให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมใดๆทั้งสิ้น

ผมขอขอบคุณ คุณ ยับสินฝ่า นะครับที่มาเป็นสะพานเชื่อมผมเอง เป็นเด็ก อาจพูดจา หรือทำอะไรที่ไม่เหมาะสม ผมก็ต้องขออภัยด้วยครับ

รูปภาพของ tukta

ไหงก็ไม่ร

ไหงก็ไม่รู้มาก่อนว่าประเพณีนี้มาจากทางใด ทราบแต่ว่าที่นี่ทำทุกปีสืบต่อกันมานานแล้ว

ต้องขอขอบคุณ ทุกความคิดเห็น ทุกท่านที่ร่วมมาแบ่งปัน ข้อมูล เชิงวิชาการ เชิงข้อคิดเห็นทำให้ทราบความจริงร่วมกัน

ส่วนที่จะถามว่าผิดไหม คิดว่าถ้าเราทำด้วยศรัทธา ทำแล้วสบายใจก็ทำเถอะ

ผิ่นออน ซุนหลิ่ว

ร่วมโลกเดียวกัน

สวัสดีไถ่ก๊าทุกท่านครับ

ไหงคนขักหงินสวนผักตลิ่งชัน ขอแจงข้อมูลบางอย่างนะครับ

คนจีนสวนผักประกอบด้วยฮ้อกล่อหงินส่วนใหญ่  ขักหงินรองรองมา ฝุกเกี้ยนหงินมีบ้าง แฉวหยองหงินก็ยังพอมี

แต่เดิมมีกี่ครอบครัวที่เป็นถองหงิน
ไหงยังพอสามารถไล่ได้แทบทุกบ้าน เฉพาะบ้านอามั้นสุก กื๋อเป็นขักหงิน เซี่ยงจ๊อง
มาจากเฉี่ยบุกเหลียว เกียดหยอง เป็นเพื่อนกับอาหยาไหงเองเดิมมาจากถองซั้นก็ยังมาพักร่วมกันกับอาหยาไหงอยู่พักหนึ่ง

 อามั้นสุกซึ่งก็คือพ่อของคุณฟุ้ยเหลวี่ยง
คนทรงเจ้าพ่อเห้งเจีย ก็คืออาไถ่ก๊อของคุณฟุ้ยก๊วง(ผู้ใหญ่อ๋า) นั่นแหละครับ

เกียดหยองก็เป็นที่ทราบกันว่า มีทั้งขักหงิน กับฮ้อกล่อหงินอยู่ปนเปกันจนต่างพูดภาษาของกันและกันได้

พอมาอยู่เสียมหลอก็ยังชวน ๆ กันมาอยู่ละแวกเดียวกันเหมือนถองหงินย่านอื่น
ๆ ที่ปฏิบัติกัน การประกอบกิจกรรมทางวัฒนธรรมก็ทำร่วมกัน ไม่ได้แยกแยะกันแน่ชัดเท่าไร?ซึ่งก็ผินอ๊อนสุ่นหลิวมาตลอดอย่างที่คุณอาฉีว่าไว้แหละครับ

คนสวนผักไม่เคยขัดแย้งอะไรเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เลย

คุณฉินเทียนมาไม่ผิดที่หรอกครับ ถ้ามาไม่ถูกไหงพอช่วยนำทางให้ได้ครับ 

รูปภาพของ ฉินเทียน

ตอเซีย ทุกความเห็น เป็นความดี ที่มีต่อประเพณีอันดีงาม

การรำลึกนึกถึงบุญคุณบรรพชน คนมีบุญคุณให้ความรักความดูแลรักษาชีวิตกระทั่งมีวันนี้ นี่ละครับวัฒนธรรมหลักของจีน "ความกตัญญู"  รู้อย่างนี้ก็สบายใจครับ กับการจะไปให้ประเพณีอันดีงาม ได้สืบสานไปสู่ จีนแคะ / 客人 / 客家 /  汉人 / Hakka คนรุ่นต่อไป ครับ

ส่วนเรื่องวัฒนธรรมนี้เป็นของ ปั้นซันขัก 半山客话 หรือ เป็น วัฒนธรรมเตี๋ยซัว 潮汕话 จะต้องให้วงการวิชาการได้วิจัย และศึกษากันอย่างชัดเจน เพราะว่า"ไหง "คือ "ไหง"  "หงี" คือ" หงี" ไม่ใช่" ฮั่ว" คือ "ฮั่ว" "ลี้อ" คือ "ลื้อ"  หรือไม่ใช่ "กู "คือ" กู ""มึง" คือ" มึง" ("I " คือ"I" "You"คือ "You") ฯลฯ  ซึ่งจะทำให้เด็กรุ่นหลัง งง และสับสน นะครับ เห็นใจเด็กรุ่นหลังด้วยครับ อย่ามั่วมา เพราะจะทำให้คนทั่วโลก เหยียดหยามว่า แม้แต่วัฒนธรรมตัวเอง ยังไม่รู้ โง่จริงๆ ถ้าไม่รู้ควรเร่งรีบศึกษาหาความรู้ ดั่งท่านซุนวู กล่าวว่า "รู้เรา รู้เขา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง "  ( ใครจะไม่ยึดถือรักษาไว้ ก็ได้นะครับ แต่ขอให้บวชในพระพุทธศาสนา หรือไปเข้าศาสนาอื่น ๆ ก็ได้ครับ เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของศาสนานั้นๆ  แต่อย่ามาทำลายสิ่งดีงาม วัฒนธรรมอันมีคุณค่าของบรรพชนจีนแคะ / 客人 / 客家 /  汉人 / Hakka และของโลก) ครับ ด้วยความเคารพ 

ประเพณีฮั่น คือ ประเพณีของชนชาติจีน และเป็นประเพณีหลักของชาติ ถ้าเป็นวัฒนธรรมฮั่น ก็ควรรักษาไว้ ส่วนใครจะมาทำลายแบบร้ายกาจ ก็ให้ทุกชาติทุกภาษาได้รับรู้ว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลอย่างไร ขอเสริมว่าประเพณีวัฒนธรรมในจีนตอนนี้ อยู่ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ นับตั้งแต่ ยุคของท่าน เต็ง เซ่ผิน   ปราบแก๊งสี่คนสำเร็จ ( ส่วนใครจะทำลายวัฒนธรรมเฉกเช่น แก๊งสี่คน พวกมันทีบูชาไหว้เคารพคาร์ มาร์ก Karl Heinrich Marx แต่ดูหมิ่นเหยียดหยามแม้บรรพชนจีนของตัวเอง ก็จะได้รับผลกรรมและความฉิบหาย อย่างแน่นอนครับ)

ฉะนั้น ประเพณีวัฒนธรรมทุกอย่างจะต้องได้รับการจัดระบบและรักษาไว้อย่างดี ว่าวัฒนธรรมนี้เป็นวัฒนธรรมของใคร อะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร ทำไม  

ส่วนนักวิชาการ ที่ดีมีมาก แต่ที่ไม่ดีมีอยู่ ดูได้จากข่าวต่อไปนี้ ครับ ฮากกา

มติสภาฯจุฬาฯถอนปริญญาเอก"ศุภชัย"ลอกวิทยานิพนธ์

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน 2555 เวลา 18:42 น.

ภายหลังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับแจ้งกรณีการตรวจพบวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ของนายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(สนช.) มีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นนั้น

วันนี้ (21 มิ.ย. ) ที่อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ พร้อมด้วย ศ.กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์  อุวรรโณ ในฐานะอุปนายกสภาจุฬาฯ แถลงหลังการประชุมสภาจุฬาฯ ว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรณีจุฬาฯ รับแจ้งว่า วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยได้ลอกเลียนผลงานทางวิชาการและนำไปเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เพื่อสำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติปริญญาโดยสภามหาวิทยาลัยในการประชุมเดือนพ.ค..2551นั้น ภายหลังรับทราบข้อมูลแล้วทางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนโดยการสืบหาข้อเท็จจริง และพบว่าวิทยานิพนธ์ดังกล่าว ได้คัดลอกผลงานตามเอกสาร งานวิจัยหรือบทความอื่นอย่างมีนัยสำคัญ และในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งการกระทำดังกล่าว เข้าข่ายเป็นการลอกเลียนวรรณกรรมโดมมิชอบ ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงให้ผู้เสนอวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าวได้มีโอกาสเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงพยานหลักฐานฝ่ายตนต่อคณะกรรมการบริหารคณะที่มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ การสำเร็จการศึกษา ที่จะทำให้ผู้สำเร็จการศึกษามีสิทธิได้รับปริญญา

"เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวได้พิจารณาข้อเท็จจริงทั้งจากรายงานการสอบสวนหาข้อเท็จจริงและจากการให้ข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานของผู้เสนอวิทยานิพนธ์แล้วเห็นว่า วิทยานิพนธ์มิได้เป็นไปตามระเบียบจุฬาฯ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2542 ทั้งการกระทำดังกล่าวยังเป็นการประพฤติผิดจริยธรรมทางวิชาการ อันทำให้ผู้เสนอวิทยานิพนธ์ขาดคุณสมบัติข้อที่เป็นผู้มีความประพฤติดีตามระเบียบดังกล่าวด้วย ดังนั้นสภาจุฬาฯ จึงมีมติให้เพิกถอนมติของสภามหาวิทยาลัย ซึ่งอนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตให้บุคคลนั้น ตามข้อเสนอและมติของคณะกรรมการบัณฑิตวิทยาลัยและคณะกรรมการบริหารคณะ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 21 มิ.ย.แต่ไม่มีผลย้อนหลัง" ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าว

ด้าน ศ.กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ กล่าวว่า ระเบียบการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตนั้นจะต้องเป็นความรู้ใหม่ที่ตัวเองต้องสร้างขึ้นซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ทั้งนี้จุฬาฯ ไม่กังวลกรณีที่อาจถูกฟ้องร้องจากผู้ถูกเพิกถอนปริญญาเนื่องจากถือเป็นสิทธิ์ที่จะดำเนินการได้ ในส่วนของสภามหาวิทยาลัยทำตามหน้าที่และได้พิจารณาโดยถี่ถ้วน รวมถึงให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหาได้ป้องกันตัวเองอย่างเต็มที่แล้ว  การที่สภาได้พิจารณาให้มติดังกล่าวไม่มีผลย้อนหลังเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบจากการเพิกถอนสิทธิ์ต่างๆ ในอดีต ส่วนกรณีจะส่งผลถึงสถานะในปัจจุบันของผู้ถูกเพิกถอนปริญญาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับแต่ละหน่วยงานที่จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ถูกเพิกถอนว่าต้องมีตลอดไปหรือไม่ อย่างไรก็ตามกรณีดังกล่าวถือเป็นรายแรกของจุฬาฯ ที่มีการเพิกถอนปริญญา

http://www.dailynews.co.th/education/120934

รูปภาพของ วี่ฟัด

ถามกันให้ควักว่าฉินเจียงเอ้ยฉินเทียนคือใคร

เพราะกระทู้นี้แท้ทำให้มีคนมาถามไหง่หลายคนว่าฉินเจียงเอ้ยฉินเทียนคือใคร ที่ทำให้อาตำหมากฮุ่งหวังเหวิดได้ปานนั้น

รูปภาพของ ฉินเทียน

... คือใคร ... ครับ

โปรดฟังอีกครั้ง เมื่อนักวิชาการ มาร่วมตัวกัน อันเป็นบ่อเกิดปัญญาญาณ  ณ ม.มหิดล

                            http://hakkapeople.com/node/3368

โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม ผู้ชมอายุน้อยกว่า 20 ปี ควรมีผู้ปกครองแนะนำครับ 

รูปภาพของ ฉินเทียน

อักขราวิสุทธิ์

ใคร ลอก (ใคร ไม่ค้นคว้า ใคร ไม่ศึกษา ) ใคร ไม่มีวิชาการ ปัจจุบันมีมาตรการจัดการ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ใช้มาตรการตวจสอบการลอกโดยไม่ค้นคว้า ด้วยอักขราวิสุทธิ์

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal