หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

เล่าขานตำนานชาวฮากกาอำเภอสิชล

รูปภาพของ วี่ฟัด
ชาวฮากกาคนหนึ่ง เดินทางจากหมอยแย้นมาตั้งแต่อายุ 13 มาตั้งรกรากอยู่ที่อำเภอสิชล นามว่า " หลิ่วซังคิม "
หนังสือใบต่างด้าวของนายหลิ่วซังคิม ที่บุตรสาวเก็บรักษาไว้ อย่างดี เพื่อรำลึกถึงอาปาของกี่่
ภาพถ่ายที่แสนจะเก่าแก่ แต่ก็ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดีเพื่อรำลึกถึงบิดา ชาวฮากกา
นายหลิ่วซังคิม เมื่อมาอยู่ในประเทศไทย ที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีอาชีพทำเหมืองแร่เลี้ยงดูลูกๆด้วยความขยันขันแข็ง
ภาพถ่ายของนายหลิ่วซังคิม ในช่วงสุดท้ายของชีวิต
นายหลิ่วซังคิม มีบุตรสาวสองคน บุตรคนโตชื่อว่า " หลิ่วปิดเลี่ยน " ส่วนคนน้องชื่อว่า " หลิ่วปิดหย่ง "
บุตรสาวคนเล็ก " หลิ่วปิดหย่ง " ตอนอายุสักหนึ่งขวบ
เด็กหญิงปิดเลี่ยนในวันน้ั้นยิ้มแก้มปริ่ เพราะเธอได้รับนาฬิกาเรือนเล็กเก่าเก็บ ที่เป็นสมบัติที่มีค่ามากที่สุดเท่าที่อาปามีอยู่ เพื่อให้ลูกสาวคนนี้ ดูเธอในวันนั้นช่างมีความสุขเหลือเกิน ในรูปเธอจึงตั้งใจโชว์แขนที่มีนาฬิกาผูกอยู่ ส่วนเด็กหญิงปิดหยุ่งเธอร้องให้งอแง เพราะอยากได้บ้างตามประสาเด็กหญิง วันนั้นอาปาเหนื่อยกว่าจัดการกับลูกสาว2คนนี้เข้ากล้องได้สำเร็จ เล่นเอาเหงื่อตก อาปาจึงไปหากำไลข้อมือมา1อันเพื่อปลอบใจเด็กหญิงปิดหยุ่ง นั้นแหละเธอจึงหยุดงอแง แต่เธองอนจึงไม่อยากอวด ทั้งหมดนี้คือความทรงจำที่มีต่ออาปาและพี่สาว ด้วยรักและผูกพันธ์
สองพี่น้องปัจจุบันปิดเลี่ยนได้เสียชีวิตไปแล้ว
ยากจน ทำงานหนักตลอดชีวิต แต่อาปาไม่เคยบ่นให้ลูกๆได้ยิน ใบหน้าเปื้อนยิ้มตลอดเวลา และยังมีแรงกาย และแรงใจเผื่อแผ่แก่เพื่อนฮากกาด้วยกัน รวมทั้งเพื่อนบ้านคนไทยด้วย หลายครั้งเห็นอาปาช่วยรักษาคนเจ็บป่วย ที่อยู่ป่าเขาชาวเหมืองแร่ทั้งไทยจีน ด้วยวิธีรักษาแบบจีนโบราณโดยไม่คิดเงิน คนที่ อ.สิชล ล้วนรู้จัก แป๊ะกิมชายจีนที่รักลูก เลี้ยงลูกสาว2คนโดยลำพัง ถึงวันนี้ภาพของอาปาอยู่ในจิตสำนึกของลูกตลอดเวลา คือผู้ให้ คือผู้ปลูกจิตวิญณาน ภูมิใจที่มีอาปาเป็นพ่อ เป็นพระสูงสุดที่ลูกบูชา ( คำบอกเล่าความในใจของหลิ่วปิดหย่ง )
หมายเหตุ วันที่ที่ปรากฏบนภาพถ่ายคือวันเดือนปีที่ก๊อปปี้ภาพนะครับ
ไหง่ได้ไปพบในเฟชบุ๊คของ " หลิ่วปิดหย่ง " แล้วประทับใจมากที่ลูกคนหนึ่งที่ยังคิดถึงพ่อ คิดถึงความเป็นฮา่กกา ไม่เคยลืมความเป็นฮากกาเลยแม้สักวันเดียว แม้ว่าปัจจุบันตนจะไปใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี่มาถึง 27 ปี แล้ว ไหง่จึงขอถ่ายทอดความซาบซึ้งของพี่น้่องชาวฮากกาทั้งหลาย ซึ่งประวัติศาสตร์ของความเป็นฮากกาแบบปัจเจก หรือส่วนตัวนี้ไม่ค่อยมีใครกล้าเปิดเผย ที่ไหง่นำมาลงนี้ไหง่ได้รับอนุญาตจากหลิ่วปิดหย่งเรียบร้อยแล้ว 

รูปภาพของ วี่ฟัด

ใช้ปิดจุน

พอไหง่เห็นชื่อ " หลิ่วปิดเลี่ยน " " หลิ่วปิดหย่ง " ไหง่รู้สึกคุ้นกับชื่อนี้มาก เพราะที่หมอยแย้นไหง่ก็ก็มีหลานผู้หญิงชื่อ " ไช้ปิดจุน " กับ  " ใช้ลี่จุน " ชื่อใช้ลี่จุนนี้คำว่า " ลี่จุน " นี่ก็ไม่ใด้เอามาจากใหนหรอกครับก็เอามาจากชื่อ " เติ้งลี่จิน " นั่นเอง ดังนั้นเติ้งลี่จิน น่าจะมีชื่อในภาษาฮากกาว่า " เท้นลี่จุน " นะไหง่ว๊า  แต่ไหง่สงสัยว่าคำว่า " ปิด " ในชื่อของคนฮากกาจะมีความหมยว่าอย่างไร แบบ " ปิดหย่ง " คำว่า " หย่ง " น่าจะมาจากคำว่า " หยงหย่วน " ในสำเนียงจีนกลางในความหมายว่า " นิจนิรันดร์ " แน่ๆ

หลายๆท่านคงสงสัยว่า " หลิ่วปิดหย่ง " คือใคร ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนหรอกครับ เป็นสมาชิกเว๊ปฮากกา ที่เขียนตอบกระทู้อยู่บ่อยๆ นี่เองครับ 

รูปภาพของ Lotus

ขอบคุณค่ะ วีฟัดโก

ขอบคุณค่ะโก ยินดีมากๆที่โกถ่ายถอดเรื่องราวหง่าปาลงในเว็ป ไว้ว่างๆไหง่จะเล่าเรื่องราวดีๆ ของคนฮากกาที่สิชลอีก ที่ซึ่งสมัยนั้น ไหง่วัยยังเด็กมาก แต่มโนสำนึกของไหง่เวลานั้นได้บันทึกเรื่องราวต่างๆไว้มากมาย ได้เห็นและซึมซับวัฒนธรรม และจริยธรรมของชาวฮากกาจนหล่อหลอมจิตวิญณานให้เป็นไหง่ทุกวันนี้ มีโอกาสแล้วจะเขียนเข้ามาใหม่ค่ะ
หลิ่วปิดหยุ่ง

รูปภาพของ วี่ฟัด

ฮักกาหงิ่น

เมื่อเช้าวานนี้ไหง่ไปศาลสมุทรสงคราม พอเสร็จธุระปะปังไหง่ก็ขับรถเข้าตลาดสมุทรสงครามหรือที่เขาเรียกแบบภาษาชาวบ้านๆว่าตลาดแม่กลอง เอารถไปจอดบริเวณหน้าวัดเพชรสมุทร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าวัดหลวงพ่อบ้านแหลม แล้วไหง่ก็เดินจะไปกินบะหมี่เกี๊ยวของร้านของคนกวางตุ้งชื่อว่าร้าน " ก๋องเม่งจั่น " ร้านบะหมี่ของคนกวางตุ้งที่เก่าแก่กว่า 70 - 80 ปี พวกลูกหลานเจ้าของร้านก็ยังพูดภาษากวางตุ้งได้ดี ถ้าถามไหง่ไหง่ว่าร้านนี้เป็นร้านบะหมี่ที่อร่อยที่สุดในโลกที่ไหง่เคยซิดมา ไหง่กินมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะสมัยก่อนเวลาที่บ้านไหง่ผ่านมาแถวแม่กลองจะต้องซื้อใส่ห่อกลับบ้านร่วม 10 ห่อ

ร้านนี้อยู่ใกล้สถานีรถไฟแม่กลอง ใกล้ตลาดร่มหุบที่โด่งดังมีชื่อเสียงไปทั่วโลกเป็นอเมซิ่งไทยแลนด์ พูดแบบนี้ไท้กาหงิ่นอาจนึกออกว่าตลาดร่มหุบคือตลาดที่เวลารถไฟวิ่งผ่านมาตามรางแม่ค้าที่วางสินค้าค้าขายอยู่ก็จะเก็บร่มหรือผ้าใบกันแดดเพื่อให้รถไฟผ่าน ซึ่งถ้าถามไหง่ว่าแปลกใหม ไหง่ว่าไม่เห็นแปลกเพราะเราเคยเห็นแบบนี้มาตั้งแต่เด็กๆแล้วเพราะไหงไปแม่กลองบ่อยๆเพราะราชบุรีกับแม่กลองมันไกล้กันนิดเดียว เมื่อวานไหง่เลยเห็นว่ามีนักท่องเที่ยวชาวจีนมาเที่ยวดูตลาดร่มหุบกันหลายคณะเชียว

พอไหง่เดินเข้าไปในร้านบะหมี่ก๋องเม่งจั่น ไหง่พบวัยรุ่นผู้หญิงสามคนนั่งกินบะหมี่อยู่ในร้าน ไหง่ชอบทักทายอยู่แล้วจึงเข้าไปทักทายจึงทราบว่าเป็นคนมาเลเซีย ทั้งสามคนเป็นคนเชื้อสายกวางตุ้งกับฮกเกี้ยนมาเที่่ยวเมืองไทยกันสามคนแบบมาเองไม่พึ่งทัวร์ ไหง่จึงบอกว่าไหง่เป็นคนเค่อเจียเหริน ทั้งสามต่างกล่าวออกมาเป็นเสียงเดียวกันว่า " ฮักกาหงิ่น " เห็นใหมครับว่าในระดับอินเตอร์เนชั่นแนล เขาต่างเข้าใจว่าคนเค่อเจียก็คือคนฮักกา แม้แต่เด็กอายุ 17 - 18 มันยังรู้เลย มีแต่บ้านเราอเมซิ่งไทยแลนด์แดนปูแดงนี่แหละที่บางทีคนแก่ๆเหล่าๆกับไม่เข้าใจหรือไม่อยากเข้าใจหรือไม่อยากรับรู้ที่จะเข้าใจหรือแกล้งสับสนที่จะเข้าใจหรือไม่พยายามที่จะเข้าใจหรือ....etc.

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal