หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

泰国黄梅调电影的流传

六十年代流传在泰国的黄梅调电影     

    黄梅调的来由

      “黄梅调”,源于湖北黄梅地区(对于其起源多有争议),是当地以前在每年农历四、五月霉雨季节(后统称黄梅季节)农民在田间劳作时唱的一种曲调,且多为对唱形式,称之为“唱黄霉”,因季节雨水多,其家中物件容易上霉,故称为霉雨季节,因霉字有不吉祥之意,并且此季节正好是梅子成熟的季节,逐渐称为梅雨季节或黄梅季节(上霉的物件多呈黄色故称黄梅季节)。后来因人民的社会交往逐渐向东流传到安徽安庆(旧称怀宁)一带,并以此为中心,发展成型,在其漫长的过程中,吸收了青阳腔、徽剧等和当地民歌及其他戏曲的音乐精华,逐渐形成了今天自己独特的风格。[1]      

        
泰国黄梅调电影的开拓江山美人
    

     泰国自二十世纪六十年代以前,正因这一段时期为政府实行排华政策,与中国断绝邦交,因此传入泰国的中国影片都是来自香港与台湾的。那个时候所放印的中国影片多是黑白的潮剧和粤剧片,由于语言的限制而且拍摄的技术也不太精巧,所以只能流传在一些喜爱潮剧的潮汕人之间而已。虽然也是有些国语片,只是不能获得广泛的欢迎,直到六十年代初从香港影业公司来了一部彩色片《江山美人》在泰国问世后,受到泰华民众广泛的欢迎, 给泰国人定下了喜爱黄梅调影片的基础,迎来了以后数十年在泰国的黄梅调电影热。

       江山美人是邵氏公司李翰祥的名作,电影内容讲述的是一位青年风流皇帝“朱德正”化装为民下江南,与一位江南酒家民女“李凤姐”的爱情故事。他们俩经过一段欢乐美好的日子,最后终于揭露了真象。在分手之前朱德正答应马上就会派人来迎接她入宫。可是当他回宫之后就被后宫无数的美女迷得把江南的一切事情全都忘到一干二净了。苦的是李凤姐竟落得未婚生子,受尽欺凌,哀苦不堪,呼天天不应、唤地地不灵,憔悴朱颜改。还是他酒家的忠仆“大牛”冒险进京,替她打抱不平提醒了风流皇帝。最后虽然派来了宫廷轿队迎接李凤姐进宫,只因她熬苦许久,悲愤过渡,重病缠身,经不起长途的操劳,终于在半途中归故了。

         这部电影改编自京戏《游龙戏凤》,据说此事却有其实,那位风流皇帝“朱德正”就是“明武宗、朱正德”皇帝[2]。它虽然只是一部通俗爱情悲剧片,然而比起过去所有的黑白片,就令人感新鲜入眼得多了。女主角李风姐是由四届亚洲影后“林黛”饰演,林黛曾以《不了情》一部黑白电影在泰国已颇有了声名,而在《江山美人》中古装娇美窈窕的姿态,更是令人迷恋。在六十年代以前也稍有些黄梅调影片在泰国放映,只是不大受到广泛的欢迎,撤目之后不久也就没人再提到了。《江山美人》所能获得空前轰动的成就可能有几个原因;一方面是女主角林黛的花容月貌与她的表演技术,在泰国已有了不少的影迷。而且电影的内容前半部活跃有趣、欢乐美好,后半部哀怨动人、无处不悲这是非常明显对比的情节转折,真是让观众们揪心无比。 尤其是李凤姐在林中忆旧的那一段情节,显现得那么痴情、呼天唤地的哀怨、悲伤惆怅不堪,更是令人产生一种无限的悲痛和怜悯之心。另一方面是黄梅调的曲子是一种重复的旋律调子,可说是百词一调的歌曲,自始至终都没多大的变化,使听众很容易牢记在心。而且音调温柔、舒畅,最能发表故事内容的情绪,观众们很容易從歌唱的曲调风格,体念到故事的经过或是主角內心的感情。并且《江山美人》中的几首插曲委婉动听,琅琅上口,极易流行。如:天女散花、江南好、扮皇帝、戏凤等等是当时黄梅调歌曲的精华,实为脍炙人口符合泰华子弟的口味,一直流传至今,还不断地在台上不时地演唱。


รูปภาพของ วี่ฟัด

กั้วเค่อ-แคะเกินพิกัด

กั้วเค่อหมายถึงความเป็นเค่อแบบแบบสุดพิกัดเกินขอบเขต และไหง่ว่าจริงด้วยมาด้วยภาษาจีนแบบเต็มๆไม่มีเม้ม ไหง่ว่ากั้วเค่อน่าจะเป็นคนที่เคยผ่านการศึกษาจากต้าลู่มาอย่างแน่นนอนและเป็นคนเรียนภาษาจีนรุ่นใหม่ซึ่งในขณะนี้มีอยู่มากมาย หลานไหง่ลูกของอาจี้ก็เคยผ่านการศึกษาจากต้าลู่เหมือนกันหลังจากจบจากภาควิชาภาษาจีน คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร จึงเป็นที่ปรึกษาไหง่ได้อย่างดี คงคล้ายๆกับกั้วเค่อ ไม่เหมือนกับจองกวานหมื่นโกที่ไหง่เดาว่าคงจะมีอายุพอสมควรแล้วจึงมีความเก่งกล้าด้านภาษาจีนมาก

เก่งจริงๆครับกั้วเค่อ-แคะเกินพิกัดจริงๆ

สวัสดีครั

สวัสดีครับคุณวีฟัด

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่สนใจในเรื่องที่ผมโพสท์และขอขอบคุณที่ชมจนรู้สึกเขิน ไหงเป็นคนแคะ丰顺เคยเรียนภาษาจีนแถวบ้านตอนเด็กๆ แต่ไม่มีโอกาสได้เข้าโรงเรียนที่เป็นทางการ แต่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของจีน จึงศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ ส่วนคุณจองกวานหมื่นเท่าที่ผมอ่านการแปลบทกวีในบล็อกอื่น นับว่าลึกล้ำทั้งไทย-จีน 

ช่วงหลังผมสนใจในวรรณคดีและดนตรีเพลงของจีน จึงเอาหนังเก่าๆที่เคยดูตอนเด็กมาดูใหม่ ก็เกิดอารมณ์และจินตนาการที่แตกต่าง ที่เขียนขึ้นมาก็เป็นอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง  

ชื่อ过客ที่ผมใช้นั้นเกิดจากการศึกษาบทกวีของ王维 ที่ถือว่าทุกสิ่งในโลกนี้ล้วน似有似无,是我非我 หรืออธิบายอีกอย่างได้ว่าในอดีตนั้นไม่มีฉัน ในอนาคตก็ไม่มีฉัน ปัจจุบันที่มีฉันนั้นเพียงชั่วคราว ทำให้ผมรู้สึกว่า人生在世皆为客,人事沧桑过莫非。ไม่มีเจตนาจะแปรความหมายเป็นคนแคะเกินพิกัดจริงๆ 

รูปภาพของ วี่ฟัด

凌波-遠山含笑 訪英台


1996凌波-遠山含笑 訪英台 十八相送&李碧華


(金曲情牽半世紀演唱會):凌波(1939年),本名黃裕君,幼年被轉賣至廈門當養女,改名君海棠,是香港著名電影演員,出生於汕頭。丈夫為演員金漢。50年代到香港,以­藝名「小娟」拍閩南片。1962年,進入邵氏電影公司,開始演出國語片,初名沈雁,後改名為「凌波」,頓有輕靈逍遙之感。後凌波因在《紅樓夢》中幕後代唱賈寶玉,受李翰祥­導演賞識出演《梁山伯與祝英台》,該片令她一舉成名,榮獲第二屆金馬獎「最佳演技特別獎」。

泰国黄梅调电影的顶峰

 

化蝶 

碧草青青花盛开,彩蝶双双久徘徊。

千古传颂生生爱,山伯永恋祝英台。

同窗共读整三载,促膝并肩两无猜。
十八相送情切切,谁知一别在楼台。
啊...
楼台一别恨如海,泪染双翅身化彩蝶翩翩花丛来
历尽磨难真情在,天长地久不分开。
历尽磨难真情在,天长地久不分开。
 
 

泰国黄梅调电影的顶峰         

    《江山美人可说是给泰国人定下了爱好黄梅调剧片的基础,在六十年间邵氏电影公司出品的黄梅调电影一直受欢迎,如:紅樓夢 、白蛇傳、杨贵妃等等。
但是要说能把黄梅调电影熱潮推至最高峰的便是六十年代末所放映的《梁山伯與祝英台》。这部电影故事本是中国流传千古的民间爱情故事,古代四大民间传说之一。其三部则《白蛇传》、《孟姜女》和《牛郎织女》。其中以《梁山伯與祝英台》流传最广,也是惟一在世界上产生广泛影响的中国民间传说。此剧在1963年问世,获得第二届金马奖最佳剧情片奖、最佳导演奖、最佳女主角奖、最佳演员特别奖(凌波)、最佳剪辑奖(姜兴隆)、最佳音乐奖(周蓝萍),同年还获第十届亚洲影展最佳彩色摄影奖、最佳音乐奖、最佳录音奖(王杨华)、和最佳美术设计奖(陈志仁)。

 

故事大要

浙江上虞祝家一女祝英台化男赴杭求学,路上偶遇会稽书生梁山伯,两人志同道合即义结金兰。三载同窗共读,英台深爱山伯,山伯却不知英台是女子。祝员外催英台速归,英台、山伯依依难舍。十八里相送途中,纯朴的山伯始终不释英台屡屡暗示的爱情。后来,山伯听得师母介绍的实情,赶往祝家庄求婚,怎料祝员外已将英台许配于太守之子。楼台相会,梁、祝柔肠寸断。不久,山伯忧郁成疾而死,英台被迫出嫁。花轿行至山伯墓前,英台抚碑痛哭失声。墓裂,英台跃入墓内,两人化为一对蝴蝶,飞翔在百花丛中。[1]

思想特色 

          祝英台是反抗封建制度对女性的不平等待遇和束缚的象征,她争取得到与男性一般能有受教育的平等机会,这就是对于古代的传统观念女子无才便是德表示反抗。祝英台实在是为古代的女性打抱不平,在杭州求学时,有一次在读本上提到:唯女子与小人难养也,近之则不逊,远之则怨。夏傑王為妹喜把江山敗,殷紂王為妲已黎民受災,周幽王寵褒似犬戎犯界,戲諸侯一笑烽火台,聖人之言傳後代,仔細想再思裁,為兄之言該不該。英台表现出极其反对的态度,与山伯发起严厉的争辩有唱词说:“古来多少女贤才,细听小弟说明白,女娲炼石把天盖,嫘祖养蚕把桑栽呀,把桑栽,慈母教子有记载,请问兄,孟母三迁为何来呀?那些昏君自把朝纲败,亡国反怪女裙钗,兄读书不求甚解,是非黑白分不开,小弟之言休见怪,堪笑你是小书呆。”[2] 祝员外便是封建社会财主的代表,他既有财富便想靠拢权势,即将英台许配给马泰守之子马文才。英台坚决地反对这场“门当户对”的婚事,有唱词说:“我寒梅岂怕风雪压,凤凰怎肯配乌鸦,无论他马家权势有多大,要成亲除非是日出西山,铁树开花!”[3]英台也是为自己争取爱情自由的象征,她与山伯同窗三载,山伯忠厚纯朴,英台深深爱恋,在临行前托师母为媒,在十八相送也自动做主把九妹许配给山伯,这是对于古时的传统思想发起大胆的挑战。然而在古时的封建社会尽管他俩相爱情深意重,也不可能会有婚姻的自由,更何况英台简直不能违抗父之命,终于誓下生不同衾,死当同穴。唯有以死相殉才能达到自己理想的爱情自由世界。最后二人化成彩蝶翩翩飞舞,为理想中美丽的自由界象征。彩虹万里百花开,花间蝴蝶成双对,千年万代不分开,梁山伯与祝英台。

          艺术的成就

          香港邵氏影业公司所拍摄的《梁山伯與祝英台》仍然是李翰祥自编自导。被视为是60年代极其重要的电影之一,女主角祝英台是由乐蒂所饰演,而男主角梁山伯则凌波反串演出。该电影所以能获得盛况空前的成就,除了本故事是千古传诵美丽动人的爱情故事之外,最重要的是在银幕上的每一段每一节都拍摄得特别精彩出色。在表演的技术方面,凌波反串饰演梁山伯扮相俊秀,艺术巧妙非凡,无论是在喜怒哀乐每个情节都表现得非常出色逼真。令人稀奇的是凌波除了以女扮男装饰演梁山伯之外,还自唱剧中男主角的唱曲,这也是空前未有的事,以致凌波就以梁山伯与祝英台一举成名。至于饰演祝英台的乐蒂,她在银幕上比凌波早先出名,实不在于林黛之下,尤其是在古装的角色优美文雅的资态,并有“古典美人”之称。她在饰演祝英台的角色显得精巧特出,以至获得第二届金马奖最佳女主角奖。尤其是在十八相送鸟语花香的景界中,英台触景生情不断借物抚意,暗示爱情,两人对唱得有声有色,充满了诗情画意,教观众们也都能体会到山水带笑的旋律,这就是黄梅调的特点。乐蒂在饰演祝英台的角色的成就不在凌波之下,然而凌波绝对是凤毛麟角中的传奇人物,以致多数人们一提起这部电影,总未免会提到凌波为首。

      
黄梅调虽源于湖北、安徽黄梅地区的戲曲,但是在香港电影插曲所聽的黃梅調,其實是流行曲式的黃梅調,不算是戲曲。在香港黃梅調電影的插曲当中,作曲者多是王純,王福齡及周藍萍,作詞者也有李雋青,然而影響深遠又掀起熱潮的要算是王純的“江山美人”, 但是把熱潮推至最高峰的便是周藍萍的“梁山伯與祝英台” ,而兩者的填詞皆出自李雋青的手筆。谈起黄梅调不得不提起幕后代唱的靜婷和江宏,虽然唱黃梅調插曲的歌手也有不少,除了靜婷还有凌波、劉韻、江宏等,但是要說代表性也就非靜婷與江宏莫屬了,他們倆也幾乎包辦了大部份黃梅調電影的插曲。而靜婷还有“黃梅調歌后”之称。

 

รูปภาพของ อิชยา

ช่วยแปลหร

ช่วยแปลหรือเขียนเป็นภาษาไทยให้ด้วยก็จะขอบคุณอย่างมาก   เพราะไหงไม่ได้เรียน  จึงอ่านอักษรจีนไม่ได้

และขอเชิญไปชมหนังจีนเก่าอีกเรื่องที่บล๊อกไหง  เรื่องราวความรักของหนุ่มชาวเรือกับสาวเลี้ยงแกะ

ตอเซี๊ยะ 

รูปภาพของ วี่ฟัด

อัตตาหิอัตโนนาโถ. ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนแล.

          

คำอ่าน

guo4   (ㄍㄨㄛˋ)

คำแปล

เกินไป เกินขอบเขต เลยเถิด

/(experienced action marker)/to cross/to go over/to pass (time)/to celebrate (a holiday)/to live/to get along/(surname)/excessively/too-/

คำอ่าน

ke4   (ㄎㄜˋ)

คำแปล

 

/customer/visitor/guest/guest web user (e.g. blogger 博)/phonetic -ke, -ge, -co, -key etc in loan words/

过客 - แคะที่ เกินไป เกินขอบเขต เลยเถิด

          อาม้อยอิสยาใช้แบบไหง่ก็ได้ครับ ไหง่ภาษาจีนแค่หางอึ่งไหง่เลยต้องใช้ตัวช่วยโดยใช้เว๊ปพจนานุกรม จีน ไทย , ไทย จีน ใช้ง่ายๆแค่ก๊อปตัวหนังสือจีนใส่เข้าไปก็ใช้ได้แล้ว ทำไปเรื่อยๆทีละคำทีละคำ เดี๋ยวก็เก่งภาษาจีนแบบ " กั้วเค่อ " เองแหละครับ ทำบ่อยๆจะได้เป็นแคะทะลุพิกัดได้เลยครับ
           อันนี้เลยครับ http://www.zhongtai.org/dict.php?vocab=%E8%BF%87&x=1

รูปภาพของ อาฉี

ตัวช่วยแปล

ลอง copy ข้อความ ภาษาต่างประเทศ ลงในช่องซ้ายของหน้า http://translate.google.com/ แล้วเลือกภาษาที่ต้องการให้เขาแปลให้ได้ตามต้องการ

ถึงสำนวนอาจจะไม่ถูกต้องนัก แต่ก็พอเดาได้ ถูกบ้างผิดบ้างก็ทำใจว่า ยังดีกว่าแปลไม่ได้เลย 

และถ้าใส่ที่อยู่หน้าเว็บที่ต้องการให้แปล มันจะทำ link หน้าเว็บที่แปลให้แล้ว ทั้งหน้าเว็บนั้นให้เลย

เช่นหน้านี้ แปลแล้วจะได้ http://translate.google.com/translate?hl=th&sl=auto&tl=th&u=http%3A%2F%2Fhakkapeople.com%2Fnode%2F3028

ลองเล่นดูได้ ขำขำ แต่ถ้าวางเมาท์บนข้อความที่แปลแล้วนั้น มันจะแสดงข้อความเดิมให้เปรียบเที่ยดูได้

ที่สำคัญ ฟรีจ้า

รูปภาพของ tonkla

ถึงพี่อิชยาค่ะ

บอกตรงๆเลยว่าหนูเห็นอักษรจีนเรียงกันเยอะอย่างนี้หนูขำออกมาเชียวล่ะค่ะ ขำให้กำลังใจตัวเองอีกด้วยนะคะ บ้าไปแล้วถ้าอ่านรวดเดียวเข้าใจหมด นอกจากจะงงยังลายตาอีกด้วย และแล้วเพื่อนๆสมาชิกก็ชี้แนะให้คำแนะนำหลากหลายวิธี ง่ายยากปนกันไป แต่สิ่งที่ชอบและประทับใจคือยังคงช่วยๆกันดี พี่อิชยาสบายดีไหมคะ ถ้าจำไม่ผิดเราเจอกันที่งานที่ห้วยกระบอกที่ผ่านมาใช่ไหมคะ

ไม่ได้เข้ามาโพสต์ที่เวปพักหนึ่งรู้สึกเพื่อนๆสมาชิกเยอะขึ้นมากมาย อยากรู้จักทุกๆคนเลยค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสู่เวปไซท์เรานะคะ

 ขอฝากนอกเรื่องถึงเวปมาสเตอร์หน่อยค่ะ มีวิธีไหนมั๊ยคะที่เราเอาเมาส์ไปวางแล้วมันไม่หายไปค่ะ ขอแค่เปลี่ยนสีไปนิดหน่อยเพื่อแสดงให้รู้ว่าเรากำลังจะเลือกหรือจะคลิกแล้วนะ หนูลากเมาส์ไปมาอย่างน้อย 2 รอบเป็นอย่างต่ำทุกทีเลย ภาพสเตตัสสมาชิกที่เอามาลง สามารถปรับความคมชัดได้ไหมคะ อยากรู้จักเเละเห็นหน้าตากันชัดๆ โดนภาพมันบีบบางคนก็เลยหมดหล่อหมดสวยไปเลย แต่ที่จริงใครจะไปรู้ว่าตัวจริงดูดีกว่าในภาพซะอีกค่ะ

มาแล้วครับภาคภาษาไทย

กระแสนิยมภาพยนตร์เพลง “ฮว๋างเหมยเตี้ยว”ในประเทศไทย

 ภาพยนตร์เพลง “ฮว๋างเหมยเตี้ยว” ที่เผยแพร่ในประเทศไทยยุคปี60

        ความเป็นมาขอเพลง “ฮว๋างเหมยเตี้ยว”

เพลง “ฮว๋างเหมยเตี้ยว”มีต้นกำเนิดที่บริเวณ“ฮว๋างเหมย” มณฑลหูเป่ย(เรื่องต้นกำเนิดนี้ยังมีการโต้แย้งกันอยู่) เนื่องจากบริเวณนี้จะมีฝนตกชุกในเดือน4-5ของทุกปีเรียกว่าฤดูฝนเหมย霉雨季节 เป็นเพลงที่ชาวนาขับร้องในขณะที่ทำงานในเรือกสวนไร่นา เรียกว่าร้องฮว๋างเหมย“唱黄霉” เนื่องจากเป็นหน้าฝน มีความชื้นสูง ทำให้ข้าวของในบ้านขึ้นราจึงเรียกว่าฤดูฝนรา霉雨季节 เนื่องจากคำว่านอกจากแปลว่าราแล้ว ยังหมายถึงความอัปมงคลอีกด้วย และบังเอิญที่ช่วงนี้เป็นฤดูลูกเหมยสุก ลูกเหมยเมื่อเริ่มสุกจะมีสีเหลือง ข้าวของที่ขึ้นราก็มีสีเหลืองเช่นกัน  จึงเปลี่ยนจาก霉雨季节 เป็น 黄梅季节ต่อมาได้ขยายไกลออกไปถึงเมืองอันชิ่งมณฑลอันฮุย และเป็นศูนย์กลางของศิลปะการขับร้องเพลงประเภทนี้ นอกจากนี้ยังได้ผสมผสานกับการร้องในสำเนียงชิงหยาง งิ้วอันฮุย และการขับร้องเพลงพื้นบ้านแถบนั้น พัฒนาเป็นเอกลักษณ์ของเพลง“ฮว๋างเหมยเตี้ยว”

ประกายกระแสนิยมภาพยนตร์เพลง“ฮว๋างเหมยเตี้ยว”ในประเทศไทย“จอมใจจักรพรรดิ”

ก่อนทศวรรษที่60ของศตวรรษที่20 ภาพยนตร์จีนที่ฉายในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมาจากฮ่องกง และไต้หวันบ้างเล็กน้อย และส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์งิ้วขาวดำภาษาแต้จิ๋วและภาษากวางตุ้ง ถึงแม้จะมีภาพยนตร์ภาษาจีนกลางบ้าง แต่ทั้งฝีมือการแสดงและเทคนิคการถ่ายทำยังไม่ค่อยประณีต จึงไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง “จอมใจจักรพรรดิ”ของบริษัทชอว์บราเดอร์เข้าฉายในช่วงต้นปี60 ได้จุดประกายกระแสนิยมภาพยนตร์เพลง “ฮว๋างเหมยเตี้ยว” ในประเทศไทยสืบต่อเนื่องไปอีกนับ10ปี

เรื่อง “จอมใจจักรพรรดิ”เป็นผลงานสร้างชื่อของผู้กำกับหลี่ฮั่นเสียงแห่งบริษัทชอว์บราเดอร์ เป็นเรื่องราวความรักระหว่างกษัตริย์หนุ่มเสเพลที่ปลอมตัวเป็นสามัญชนชื่อจูเต๋อเจิ้ง กับหญิงสาวร้านขายเหล้าที่เจียงหนานชื่อหลี่เฟิ่ง ทั้งสองได้มีชีวิตรักหวานชื่นร่วมกันเพียงช่วงสั้นๆ ก่อนที่ความจริงจะเปิดเผย ก่อนจากกัน จูเต๋อเจิ้ง ได้ให้สัญญาว่าจะรีบส่งขบวนมารับนางเข้าวัง แต่เมื่อกลับถึงวังหลวง พระองค์ก็ลุ่มหลงนางกำนัลในวังหลังจนลืมเรื่องราวที่เจียงหนานจนหมดสิ้น ปล่อยให้หลี่เฟิ่ง ให้กำเนิดบุตรโดยไม่ได้แต่งงาน ถูกดูถูกเหยียดหยาม จมปลักอยู่ในความความทุกข์ทรมาน ร่ำร้องทุกข์ทนกับฟ้าดิน จนในที่สุดคนรับใช้ที่ซื่อสัตย์ต้าหนิว ได้เดินทางไปร้องทุกข์ที่เมืองหลวง ทำให้กษัตริย์เสเพลจูเต๋อเจิ้งรู้สึกตัว ท้ายที่สุดถึงแม้จะส่งขบวนมารับหลี่เฟิ่งเข้าวัง แต่เนื่องจากนางกรำทุกข์มานานปี จิตใจเศร้าหมอง สุขภาพเสื่อมทรุด ในที่สุดก็เสียชีวิตระหว่างทาง

  ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากงิ้วปักกิ่งเรื่องมังกรเย้าพญาหงส์ ว่ากันว่าเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง สำหรับกษัตริย์เสเพลจูเต๋อเจิ้งนั้นก็คือกษัตริย์หมิงอู่จง จูเจิ้งเต๋อ ถึงแม้จะเป็นนิยายรักรันทดเช่นเดียวกับนิยายรักรันทดเรื่องอื่นๆ แต่ก็มีความวิจิตรการตากว่าภาพยนตร์ขาวดำก่อนหน้านี้ ตัวเอกหญิงแสดงโดยนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์เอเซียแปซิฟิกสี่สมัยหลินไต้ สำหรับหลินไต้นั้นได้เคยสร้างชื่อจากภาพยนตร์ขาวดำโดยเฉพาะเรื่อง不了情มาก่อน แต่บทบาทที่อรชรอ้อนแอ้น ใบหน้าที่หวานแฉล้มในชุดหญิงสาวโบราณนั้นยิ่งน่าไหลหลง ถึงแม้จะเคยมีภาพยนตร์ประเภทนี้เข้าฉายในประเทศไทยมาก่อน แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก สาเหตุที่“จอมใจจักรพรรดิ”ได้รับความนิยมอย่างไม่เคยมีมาก่อนอาจมีหลายสาเหตุ หนึ่งคือความสามารถในการแสดงความงามและความมีชื่อเสียงมาก่อนของหลินไต้ ซึ่งมีแฟนคลับเดิมอยู่ไม่น้อย ส่วนเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ช่วงต้นสนุกสนานมีชีวิตชีวา ช่วงท้ายเศร้าโศกรันทด ร่ำร้องไม่วาย เป็นข้อเปรียบเทียบที่เด่นชัดบีบหัวใจผู้ชมทำให้เกิดความเศร้าสลดสงสารจับใจ อีกข้อหนึ่งคือเพลง “ฮว๋างเหมยเตี้ยว”เป็นเพลงประเภทร้อยเนื้อทำนองเดียว ง่ายแก่การจดจำ ในขณะเดียวกันความลื่นไหล ความสละสลวยของทำนอง เหมาะแก่การบรรยายอารมณ์และเรื่องราว เพียงการเริ่มต้นของทำนองเพลงผู้ชมก็สามารถสัมผัสได้ถึงอารมณ์และเหตุการณ์ของเรื่องราว นอกจากนี้เพลงประกอบภาพยนตร์เช่น天女散花、江南好、扮皇帝、戏凤มีทำนองที่ไพเราะเนื้อหาจับใจ เป็นที่จดจำขึ้นใจทำให้มีการขับร้องสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้

 


รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

ที่แท้เป็นเช่นนี้เอง

ขอบคุณคุณกว้อเคอะอาคันตุกะผู้ผ่านทางมากครับ สำหรับคำขยาย
ความที่มาที่ไปของเพลงทำนองหวังเหมยเตี้ยว ที่แท้ต้นตอมาจาก
เชื้อราสีเหลืองนี่เอง
 
หมายเหตุ:คำว่ากว้อเคอะหรือกว้อฮัก จำได้สมัยก่อนผู้ใหญ่ใช้เรียก
บุคคลที่ไปมาระหว่างจีนกับไทย โดยอาสารับออเดอร์จากผู้ต้องการ
สินค้าจากจีน คือเป็นตัวกลางซื้อขายสินค้านั่นเอง บางครั้งก็เรียก
สุ้ยฮักหรือสุ่ยเคอะ เช่นประโยคที่จำได้ เฮ้!กว้อฮักหล่อยลอ อ๊อยมาย
มะกายฮ่าวเกี๊ยะเกี๊ยะหล่อยกาวต้ายกี่ฮี่มาย

สวัสดีครั

สวัสดีครับคุณ
จองกว๊านหมิ่น

ผมเป็นปั้นซั้นขัก คงพูดว่า กั้วขักหลอยเลี่ยวมั้งครับ 

ภาคภาษาไทยต่อครับ

ผีเสื้อจำแลง 

บุปผาบานสะพรั่งทุ่งหญ้าเขียวขจี

ผีเสื้อหลากสีบินเวียนเคียงคู่

ตำนานรักแท้สืบขานนานมา

คือซานป๋อมั่นรักจู้อิงไถ


สามปีร่ำเรียนร่วมหอ

เคลียคลอปรับทุกข์ชนเข่าไม่กังขา

สิบแปดอำลาอาลัยอาวรณ์

หอจำพรากจากจรใครจะรู้

อา............อา..............


หอจำพรากจากกันแสนขมขื่น

น้ำตาอาบปีกบินเวียนกลางบุปผา

ทุกข์ระทมสุดแสนรักไม่คลาย

ชั่วฟ้าดินสลายตายไม่แยกจากกัน


ทุกข์ระทมสุดแสนรักไม่คลาย

ชั่วฟ้าดินสลายตายไม่แยกจากกัน


กระแสนิยมสูงสุดในภาพยนตร์“ฮว๋างเหมยเตี้ยว”ในประเทศไทย

อาจกล่าวได้ว่าเรื่อง“จอมใจจักรพรรดิ”ได้จุดกระแสความนิยมในประเทศไทย ทำให้เกิดความนิยมในภาพยนตร์แนว“ฮว๋างเหมยเตี้ยว”อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความฝันในหอแดง นางพญางูขาว หยางกุ้ยเฟย เป็นต้น แต่ถ้าจะพูดถึงเรื่องที่ก่อเกิดกระแสนิยมสูงสุด คงต้องยกให้เรื่อง“ม่านประเพณี”ของบริษัทชอว์บราเดอร์ เรื่องนี้สร้างจากนิยายรักพื้นบ้านอมตะ 1ใน4เรื่องในสมัยโบราณของจีน อีก3เรื่องคือนางพญางูขาว สาวเมิ่งเจียง และเทพธิดาโคบาล ใน4เรื่องนี้ เรื่อง“ม่านประเพณี” เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุด ทั้งในประเทศจีนและประเทศอื่นๆทั่วโลก ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลม้าทองคำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม นักแสดงพิเศษยอดเยี่ยม(หลิงโป) การตัดต่อยอดเยี่ยม(เจียงซิงหลง) ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม(โจวหลานผิง)ในปี1963 และยังได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม การอัดเสียงยอดเยี่ยม(หวังหยางฮว๋า) ศิลปะยอดเยี่ยม(เฉินจื้อเหยิน) ในเทศกาลภาพยนตร์เอเซียแปซิฟิก ครั้งที่10ในปีเดียวกัน

เนื้อเรื่องโดยย่อ

บ้านสกุลจู้เมืองซ่างยวี๋มณฑลเจ้อเจียง มีบุตรสาวชื่อจู้อิงไถปลอมตัวเป็นชายเดินทางไปศึกษาที่เมืองหังโจว ได้พบเพื่อนรู้ใจเหลียงซันโป๋ ทั้งสองได้สาบานเป็นพี่น้องกัน หลังจากร่วมห้องหอร่ำเรียนศึกษามา3ปี อิงไถเกิดแอบรักซันโป๋อยู่ในใจ แต่ซันโป๋กลับไม่รู้ว่าอิงไถนั้นเป็นหญิง เมื่อเศรษฐีจู้ส่งคนมาตามตัวอิงไถกลับบ้าน ทั้งสองต่างร่ำลาด้วยความอาลัยอาวรณ์ ซันโป๋ส่งลาอิงไถระยะทาง18ลี้ ระหว่างทางอิงไถสร้างปริศนาเพื่อบอกความในใจของตนเองตลอดเส้นทาง แต่ซันโป๋ก็ไม่เข้าใจ ต่อมาซันโป๋ได้รู้ความจริงจากอาจารย์หญิงจึงเดินทางไปสู่ขออิงไถที่บ้านสกุลจู้ แต่เศรษฐีจู้ได้ยกอิงไถให้กับบุตรชายเจ้าเมืองหม่า ทำให้ซันป๋อลาจากด้วยหัวใจที่แหลกสลาย จากกันที่หอนัดพบซันโป๋ทุกข์ตรมล้มป่วยจนเสียชีวิต ต่อมาอิงไถถูกบีบให้เข้าพิธีแต่งงาน เมื่อเกี้ยวเจ้าสาวผ่านสุสานของซันโป๋ อิงไถลงมาเซ่นไหว้ กอดป้ายสุสานร่ำไห้จนสุสานแตกแยก อิงไถกระโดดเข้าไปในสุสาน ทั้งสองได้กลายเป็นผีเสื้อ บินเวียนท่ามกลางมวลดอกไม้

 

รูปภาพของ ฉินเทียน

น่าชมทุกเรื่องครับ很好

นิยายรักพื้นบ้านอมตะ 1ใน4เรื่องในสมัยโบราณของจีน คือ

นางพญางูขาว  

เทพธิดาโคบาล 

สาวเมิ่งเจียง

และ“ม่านประเพณี” เป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงสุด

ไหง เคยชม นางพญางูขาว  และ  ม่านประเพณี บ่อย สมัยก่อน

แต่ สาวเมิ่งเจียง  และ เทพธิดาโคบาล ไหง ไม่แน่ใจว่า เคยดูไหม

ท่าน 过客 โปรดนำมาให้ชมด้วยนะครับ  

ตอเซีย

สวัีสดีครับคุณฉินเทียน

สวีสดีครับคุณฉินเทียน เรื่องเทพธิดาโคบาลกับสาวเมิ่งเจียง ไม่มีในยูทูบ มีอยู่ในยูคู ซึ่งผมยังไม่สามารถดาวน์โหลดได้ จะลองพยายามอีกทีครับ

 สำหรับเรื

สำหรับเรื่องสาวเมิ่งเจียง กับเทพธิดาโคบาล ไหงไม่สามารถดาวน์โหลดมาโพสท์ได้ เลยแปะเป็นลิ้งค์ไว้ให้ผู้สนใจเข้าไปดู เรื่องที่แปะไว้นี้คือเรื่องสาวเมิ่งเจียง 孟姜女哭倒长城 

http://v.youku.com/v_show/id_XMzk5NjI2NDY4.html

รูปภาพของ ฉินเทียน

ตอเซีย

สมัยก่อนนี้ ไหง ฝึกภาษาไทย จากหนังจีน ครับ

ท่าน  过客   ฝึกภาษาจีนกลาง จากหนังจีน 

ท่าน  过客   จึงเก่ง ทั้ง ภาษาฮั่นฮากกา ภาษาฮั่นจีนกลาง และ ภาษาไทย

ไหง ขอชื่นชมด้วยใจจริงครับ 

 

 

จบภาคภาษาไทย

ทัศนะอุดมคติ
จู้อิงไถเป็นตัวแทนความคิดของสตรีที่ต่อสู้กับประเพณีผูกมัดในสมัยโบราณ นางเรียกร้องสิทธิเสมอภาคทางการศึกษาของสตรี คัดค้านคติโบราณที่ว่าสตรีหากไร้การศึกษาคือความดี ในระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่หังโจว มีบทเรียนบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า สตรีและคนถ่อยนั้นเลี้ยงยาก หากอยู่ใกล้มักลามปาม แม้อยู่ไกลยังคับแค้น อิงไถแสดงความขัดแย้งอย่างแรงกล้า ซานโป๋กล่าวว่า กษัตริย์เซี่ยเจี๋ยล่มสลายเพราะนางเม่ยสี่ ประชาชนทุกข์ระทมเพราะอินโจ้วหวังหลงนางทาจี โจวอิวหวังหลงนางเปาซื่อเพียงเพื่อหนึ่งยิ้มโฉมงามจนเสียแผ่นดิน อิงไถโต้แย้งว่า ในอดีตมีวีรสตรีอยู่มากมาย ลองฟังผู้น้องเล่าไขขาน เทพสตรีหนี่วาหลอมหินเติมแผ่นฟ้า พระนางเหลยจู่บุกเบิกการเลี้ยงไหมและทอผ้า มารดาเลี้ยงบุตรเติบใหญ่จนได้ดี ขอถามว่า มารดาเมิ่ง 3ย้ายนั่นใช่หรือไม่ เหล่ากษัตริย์ที่โง่เขลาทำบ้านเมืองล่มสลาย กลับป้ายความผิดแก่อิสตรี พี่ท่านหากร่ำเรียนตำราไม่แตกฉาน ไม่อาจแยกแยะผิดถูกดำขาว คำกล่าวผู้น้องอย่าได้โกรธ ช่างน่าขันเป็นได้เพียงหนอนตำรา นี่เป็นอีกตอนหนึ่งที่อิงไถต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของสตรี
      เศรษฐีจู้ เป็นตัวแทนความคิดของคนในยุคโบราณ ที่เห็นแก่ลาภยศเงินทอง      เมื่อมีเงินก็เริ่มเข้าหาคนที่มีอำนาจ จึงต้องการยกจู้อิงไถให้กับบุตรชายเสเพลของเจ้าเมือง หม่าเหวินไฉ     จู้อิงไถคัดค้านการแต่งงานแบบคลุมถุงชนนี้อย่างแรงกล้า มีบทสนทนากล่าวไว้ว่า บิดาคิดผิดพลาด เห็นแก่ลาภยศและเงินทอง จึงเอาอนาคตของลูกเป็นเครื่องเล่น สกุลหม่าวางอำนาจบาดใหญ่ระราน แต่ลูกเป็นดอกเหมยไม่กลัวพายุหิมะ พญาหงส์หรือจะควรคู่กับกาดำ จะเชื่อมสัมพันธ์ต้องรอให้พระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันตก เสาเหล็กผลิดอกออกเสียก่อน นอกจากนี้อิงไถยังแสดงออกถึงการแสวงหาเสรีภาพในความรัก นางร่ำเรียนร่วมห้องกับซานโป๋มา3ปี ทั้งสองมีความใกล้ชิดกันอย่างลึกซึ้ง อิงไถเป็นคนเจ้าปัญญาและรอบรู้ ส่วนซานโป๋เป็นคนซื่อสัตย์มีน้ำใจ ทำให้อิงไถเกิดความรักผูกพันในตัวซานโป๋ และคิดแสวงหาเสรีภาพในชีวิตของตนเอง ก่อนจะจากกันอิงไถได้ขอให้อาจารย์หญิงเป็นแม่สื่อ ใน18อำลาได้ออกปากยกน้องสาวฝาแฝดให้กับซานโป๋ เป็นการท้าทายประเพณีคลุมถุงชนในสมัยนั้น แต่ในสังคมยุคนั้นไม่ว่าทั้งสองจะมีความรักต่อกันที่แน่นแฟ้นเพียงใด ก็ไม่อาจมีเสรีภาพทางความรักได้ ยิ่งกว่านั้นอิงไถย่อมไม่อาจขัดขืนคำสั่งของบิดา ทั้งสองจึงสาบานร่วมกันว่า แม้ไม่อาจใช้ชีวิตร่วมกัน ก็ขอตายกลบฝังด้วยกัน มีแต่หลีกหนีจากภพนี้จึงสามารถบรรลุถึงความใฝ่ฝันในโลกเสรี จากนั้นทั้งสองได้กลายเป็นผีเสื้อโบยบินอย่างอิสสระท่ามกลางดอกไม้ เป็นสัญลักษณ์ของโลกใหม่ที่มีเสรีภาพและงดงาม ถือเป็นจุดเด่นของนิยายเรื่องนี้ ถึงแม้จะที่จบลงด้วยโศกนาฏกรรม แต่ก็มีทางแห่งความหวังเล็กๆเปรียบดังแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ให้กับหนุ่มสาวที่แสวงหาเสรีภาพในยุคนั้น จึงเป็นความสมบูรณ์ของนิยายเรื่องนี้ที่ แม้ในฉากสุดท้ายก็ไม่ถึงกับสิ้นหวังเสียเลยทีเดียว  เมื่อเปรียบเทียบกับนิยายรักโศกนาฏกรรมอื่นๆ    
สายรุ้งยาวไกลบุปผาบาน ผีเสื้อบินเวียนเคียงคู่ ร้อยวันหมื่นปีไม่แยกจากกัน เหลียงซานโป๋และจู้อิงไถ
ศิลปะการแสดง
ภาพยนตร์เรื่อง“ม่านประเพณี”เป็นผลงานสร้างและกำกับโดยหลี่ฮั่นเสียง ได้รับการยกย่องให้เป็นภาพยนตร์ดีเด่นของทศวรรษที่60 ตัวเอกฝ่ายหญิงจู้อิงไถแสดงโดยเล่อตี้ ส่วนตัวเอกฝ่ายชายเหลียงซานโป๋แสดงโดยหลิงโป สาเหตุที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากว่าเป็นนิยายรักปรัมปราที่นิยมอยู่แล้ว  ที่สำคัญคือแต่ละฉากแต่ละตอนล้วนโดดเด่นมีชีวิตชีวา ในแง่ของฝีมือการแสดงนั้น หลิงโป๋ซึ่งเป็นนักแสดงหญิงแต่งเป็นชาย นอกจากดูสวยงามสง่าเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์รักอารมณ์โกรธ อารมณ์สุขอารมณ์เศร้าก็ดูสมจริงสมจัง ยิ่งกว่านั้นคือหลิงโปยังขับร้องบทร้องของตนเองอีกด้วย ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน จึงทำให้หลิงโปโด่งดังจากเรื่องนี้เพียงชั่วข้ามคืน ส่วนเล่อตี้นั้นเป็นนักแสดงหญิงที่มีชื่อเสียงในจอเงินมาก่อนไม่เป็นรองหลินไต้ โดยเฉพาะในบทบาทของหนังโบราณ เล่อตี้จะมีบุคลิกที่สวยสง่าและอ่อนโยน จนได้รับฉายา“古典美人”และได้รับรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมจากบทบาทของจู้อิงไถ โดยเฉพาะในตอน 18อำลา อิงไถหยิบเอาสิ่งที่พบเห็นระหว่างทาง สร้างเป็นปริศนาเพื่อบอกความในใจว่าตนเองนั้นเป็นหญิง และมีใจต่อซานโป๋ทั้งสองร่วมร้องอย่างมีสีสันต์และมีชีวิตชีวา แม้ผู้ชมก็สามารถสัมผัสได้ถึงบรรยากาศ นกร้องดอกไม้บาน ขุนเขาสายธารร่วมขับขาน เล่อตี้ในบทบาทของจู้อิงไถนั้นไม่ได้ด้อยกว่าหลิงโปเลย แต่หลิงโปเป็นนักแสดงอัจฉริยะที่หายากราวหนวดเต่าเขากระต่าย จึงทำให้เมื่อเอ่ยถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ผู้คนมักจะเอ่ยถึงหลิงโปเป็นหลัก        
 ถึงแม้เพลง “ฮว๋างเหมยเตี้ยว”จะเป็นเพลงงิ้วแถบมณฑลอันฮุยและหูเป่ย แต่เพลงฮว๋างเหมยเตี้ยวที่ร้องประกอบในภาพยนตร์ของฮ่องกงนั้น ได้ดัดแปลงเป็นแบบเพลงสมัยนิยมเพื่อให้เหมาะกับผู้ฟังกว้างขวางยิ่งขึ้น ผู้แต่งทำนองคือหวังฉุน หวังฟู่หลิงและโจวหลานผิง เนื้อร้องแต่งโดย หลี่จ้วนชิง แต่ที่ได้รับความนิยมต่อเนื่องยาวนานคงต้องยกให้ เพลงประกอบภาพยนตร์ในจอมใจจักรพรรดิของหวังฉุน และในม่านประเพณีของโจวหลานผิง พูดถึงภาพยนตร์เพลง “ฮว๋างเหมยเตี้ยว” คงจะละเว้นไม่พูดถึงผู้ร้องที่อยู่หลังฉากไม่ได้ ถึงแม้จะมีผู้ร่วมร้องอยู่หลายคนเช่น หลิงโป  จิ้งถิง  เจียงหงและหลิวยวิ่น แต่ถ้าพูดถึงนักร้องหลักคงต้องยกให้ จิ้งถิงและเจียงหง ทั้งสองแทบจะเหมาเพลงประกอบภาพยนตร์“ฮว๋างเหมยเตี้ยว” ของฮ่องกงทั้งหมด จิ้งถิง ยังได้รับฉายาราชินีเพลง“ฮว๋างเหมยเตี้ยว” อีกด้วย 
 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal