หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

"ฮั่น" ชนชาติที่มีประชากรมากที่สุดในโลกปัจจุบัน (ตอนจบ)

รูปภาพของ YupSinFa

                            ชนชาติฮั่น

ไท้ก๋าหยิ่นทั้งหลาย ในตอนที่แล้วค้างไว้ว่าฉินอิ๋งเจิ้ง ได้ขึ้นครองบัลลังก์ในรัฐฉิน และเข้มแข็งเก่งกาจสามารถ รวบรวมรัฐต่าง ๆ ทุกรัฐ เข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐฉิน เ้พียงรัฐเดียว เป็นราชอาณาจักร "จงกว๋อ" อันยิ่งใหญ่ ภายใต้การปกครองของปฐมจักรพรรดิ์ราชวงศ์ฉิน "ฉินสื่อหวงตี้" - จิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 247-206 ก่อนคริสต์กาล)

ก่อนจะมาเป็น "ต้าฮั่้น" อันยิ่งใหญ่

ฉินสื่อหวงตี้ ทรงรวบอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ณ กรุงเสี้ยนหยาง สั่งเผาตำราวิชาการวิทยาการต่้าง ๆ ของรัฐอื่น ๆ แล้วทรงบังคับให้ทั่วทั้งราชอาณาจักร ใช้อักษรของรัฐฉิน เพียงอย่างเดียว 

คุนูปการของฉินสื่อหวงตี้ในด้านที่มีต่อความเจริญของราชอาณาจักรจีน และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในทุกวันนี้ คือ การสร้างกำแพงเมืองจีน หรือกำแพงหมื่ืนลี้ จากตะวันออกสุดบริเวณชายหาดด้านตะวันออกสุดของมณฑลเหอเป่ยติดกับมณฑลเหลียวหนิง ที่เรียกว่า "ฉินหวงต่าว" (เกาะจิ๋นซี) ณ ด่าน ซานไห่กวาน ไปจนถึงตะวันตกสุดในมณฑลกานสู ที่ด่าน "เจี๋ยอี้กวาน" มีความยาวทั้งสิ้น 6,350 กิโลเมตรโดยประมาณ

รวมถึงการบังคับให้ทั่วทั้งราชอาณาจักรใช้ตัวอักษรแบบเดียวกัน ใช้่มาตราชั่ง ตวง วัด ในแบบเดียวกัน ฯลฯ

ฉินสื่อหวงตี้ มีอัครมหาเสนาบดีคู่พระทัย อันเป็นที่ปรึกษาที่มีความฉลาดหลักแหลม และซื่อสัตย์ เขาได้สร้างตำรา "หลี่ซื่อชุนชิว" ถวายองค์จักรพรรดิ์ และในเวลาต่อมาก็ได้กลายมาเป็นบทแห่งการบริหารประเทศในราชวงศ์ต่อ ๆ มา

อัครมหาเสนาบดีหลี่ซือ อำมาตย์คู่พระทัยของฉินสื่อหวงตี้

บริเวณที่สัณนิษฐานว่าเป็นสุสานของหลี่ซือ ณ เขตซือ นครซีอาน มณฑลส่านซี

เมิ่งเถียน แม่ทัพใหญ่ผู้มีหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้าง(โฟร์แมน-วิศวกร?)ของฉินสื่อหวงตี้ ในการสร้างกำแพงหมื่นลี้ตามบัญชาของฉินสื่อหวง

เขียนเรื่องชนชาติ ต้่าฮั่้น อันยิ่งใหญ่ แต่เกริ่นเรื่องเกี่ยวกับราชวงศ์ฉินเสียค่อนข้างยาว แต่ว่ามันเกี่ยวเนื่องกัน ครับ เพราะต่อจากนี้ไป ฉินสื่อหวง จะหลงตัวเอง บ้าอำนาจ และวิตกจริตว่าตนเองจะต้องตายไปเพราะความชราภาพ หรือโรคภัยเบียดเบียน แต่ก็ไม่สามารถต้านกฏของธรรมชาติอยู่ได้ จึงเสด็จสวรรคต เมื่อปีที่ 210 ก่อนคริสต์กาล 

 

เทียนมิ่ง-อาณัติสวรรค์ส่งมอบให้เป็นชนชาติฮั่น

อย่างที่ไหงกล่าวไว้ตั้งแต่ตอนต้นแล้วครับ ว่า ถ้าจะกล่าวถึงความเป็นมาของชนชาติฺฮั่น แล้ว จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงการก่อกำเนิดของประชาชาติจีนนับตั้้งแต่ตอนต้นซึ่งยังเป็นเพียงตำนาน มาจนถึงราชวงศ์เซี่ย ราชวงศ์ซาง และราชวงศ์โจว มาถึงราชวงศ์ฉิน ซึ่งสามารถรวบรวมแดนดินถิ่นแดนแคว้นต่าง ๆ มารวมเป็นราชอาณาจักรจงกว๋อ เพียงหนึ่งเดียวได้ แล้วเมื่อการสูญสิ้นไปของราชวงศ์ฉิน แล้ว ราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่ยาวนาน ก็ถึงการอุบัติขึ้นมา โดยมีรายละเอียดที่ไหงจะโม้ให้พี่น้องอ่าน อีกแล้วครับท่าน

เมื่อฉินสื่อหวงตี้เสด็จสวรรคต เจ้าชายหูไห่พระราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา ในเวลานั้น เจ้าชายหูไห่มีพระชนมายุได้ 21 ปี มีชื่อรัชกาลว่า "เอ้อร์สื่อหวงตี้" หรือ จักรพรรดิ์องค์ที่สอง แต่จักรพรรดิ์เอ้อร์สื่อมีภูมิปัญญาโง่เขลา อ่อนแอ อันเป็นนิสัยที่ตรงกันข้ามกับพระราชบิดา เรียกว่าลูกไม้หล่นกระเด็นไปไกลต้น หูไ่ห่หวงตี้ จึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมหาขันที่ที่มีนามว่า "จ้าวเกา" เป็นหุ่นให้จ้าวเกาเชิดเล่นได้่ตามอำเภอใจ บ้านเมืองและพลเมืองจึงเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ความอ่อนแอของหวงตี้ และความเหลวแหลกภายในราชสำนัก บวกกับข้าวก็ยาก หมากก็แพง จึงได้เกิดกบฏชาวนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติจีน  ชั่วเวลาเพียงสามเดือน กบฏที่ต้องการโค่นบัลลังก์ฉินก็ลุกลามแพร่หลายไปทั่วราชอาณาจักร

จ้่าวเกาซึ่งตั้วตัวเองจากขันทีไม่มีพวง มาเป็นสมุหนายก ก็ได้หลบลี้หนีปัญหาเนื่องจากตัวเองก็หมดปัญญาไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี (อัครมหาเสนาบดีหลี่ซือถูกจ้าวเกาเพ็ดทูลต่อเอ้อร์สือหวงตี้ ให้หลงเชื่อแล้วรับสั่งประหารหลี่ซือเสีย) ผลสุดท้ายจึงคบคิดกับน้องชายและลูกเขย ร่วมกันปลงพระชนม์เอ้อร์สื่อหวงตี้ซะแต่ก็ไม่ทันที่จะได้ปลงพระชนม์ เอ้อร์สื่อหวงตี้ก็ชิงกระทำอัตวินิบาตกรรมไปเสียก่อน เป็นดังนี้แล้วจ้าวเกา ก็ยกเจ้าชายจื่ออิง หลานปู่ของฉินสื่อหวงตี้ เพราะเป็นโอรสคนโตของเจ้าชายฝู่ซูโอรสองค์แรกของฉินสื่อหวงตี้ ขึ้นเป็นฮ่้องเต้แทน แต่ใช้คำว่า "หวาง" (อ๋อง) โดยไม่ยอมใช้คำว่า หวงตี้ (จัีกรพรรดิ์) โดยอ้างว่ารัฐทั้งหกก็ได้ประกาศเอกราชไปหมดแล้ว 

โชคยังดีที่เจ้าชายจื่ออิงรู้ตัวว่า ตัวอันตรายร้ายกาจนั้น คือจ้าวเกาเอง จึงได้ทำเฉย ไม่ยอมไปพบจ้าวเกาเพื่อรับการสถาปนาเป็นอ๋อง จ้าวเกาส่งคนมาเชิญหลายหนหลายครั้ง ก็เฉย ในที่สุดอีตาจ้าวเกาก็ทนไม่ไหว ต้องมาเฝ้าเจ้าชายจื่ออิงด้วยตัวเอง เจ้าชายจื่ออิงที่รอโอกาสอยู่แล้วจึงให้ทหารที่เก็บซ่อนอยู่ประหารชีวิตจ้าวเกาในตำหนักของพระองค์นั่นเอง

ในความโชคดีของเจ้าชายจื่ออิง ที่ได้เป็นจักรพรรดิ์ราชวงศ์ฉิน แต่ก็ได้เป็นแค่ 6 วัน และเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ฉินองค์สุดท้าย เพราะกองทัพกบฏที่นำโดย หลิวปัง ลูกชายของชาวนาเซี้ยงหลิ่ว (ฮากกาออกเสียง หลิว ว่า หลิ่ว หมิ่นหนาน-ฮกเกี้ยนใต้ ออกเสียงว่า เล่า ฮากกาอำเภอเฟิงซุ่นออกเสียงว่า เล่า แต้จิ๋วออกเสียงว่า เล้า ฯลฯ) หลิ่วปั๋ง หรือหลิวปังหัวหน้ากบฏ บุกเข้ามาทางเมืองอู่กวาน จนมาถึงเมือง ป้าซั่ง ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ เสี้ยนหยาง เมืองหลวง ตั้งมั่นอยู่ รอจนกระทั่งต้นเดือนกุมภาพันธ์ฺ  206 ปี ก่อนคริสต์กาล ทั้งหวางตี้และพวกเจ้าราชวงศ์ฉินทั้งหลายจึงออกมามอบตัว สวามิภักดิ์ต่อกองทัพกบฏกลุ่มหลิวปัง...........

หลิวปัง...(ปีที่ 256-195 ก่อนคริสต์กาล) เคยเป็นข้าราชการ มีตำแหน่งแห่งหนเป็นหัวหมู่ทะลวงฟันคอยปราบปรามโจรผู้ร้าย เดิมทีหลิวปังเป็นเพียงลูกชาวนาธรรมดาที่มีฐานะยากจนตามปกติของเกษตรกรในสมัยนั้น เขาเกิดที่อำเภอไพ่เสี้ยน ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในเขตทางเหนือของมณฑลเจียงซู

หลิวปัง ซึ่งต่อมาคือ "ฮั่นเกาจู่" ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่น

หลิวปังก่อกบฏขึ้ันด้วยการเริ่มต้นยึดอำเภอไพ่เสี้ยนบ้านเกิดของตัวเอง เมื่อค่อนข้างที่จะมีกองกำลังเติบใหญ่แล้ว เซี่ยงเหลียงกับเซี่ยงหยี่ ก็ยกกำลังของพวกตนมาเข้าพวกด้วยกันกับหลิวปัง 

ถึงตรงนี้ไหงขอเล่าเรื่องของเซี่ยงเหลียง กับ เซี่ยงหยี่ เป็นเกร็ดความรู้แก่ไท้ก๋าหยิ่น เล็กน้อย (ซึ่งในประวัติศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องกัน) กองทัพกบฏกลุ่มเซี่ยงเหลียง กับ เซี่ยงหยี่ สองอา-หลาน มีกำลังที่เข้มแข็งที่สุดและได้รับการสนับสนุนจากประชาชนชาวไร่ชาวนามากที่สุด แต่ในการยกกองกำลังขึ้นเหนือเพื่อพิชิตกรุงเสี้ยนหยาง กองทัพเซี่ยงเหลียง กับ เซี่ยงหยี่ ก็ถูกกองทัพราชวงศ์ฉินเข้าจู่โจมโดยไม่ทันได้รู้ตัว (เรียกว่าเก่งแต่ไม่เฮง) และด้วยความประมาท เซี่ยงเหลียงถูกฆ่าตายเสียในสนามรบที่เมืองติงเถา (ในมณฑลซานตงปัจจุบันนี้) 

กองทัพกบฏสอง เซี่ยง ที่เหลือเพียงเซี่ยงหยี่ได้ตระเตรียมกองทัพทหารเพื่อจะยกไปโจมตีกองทัพหลวงของราชวงศ์ฉิน โดยคิดย่ามใจว่า จะต้องชนะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จึงสั่งให้เตรียมเสบียงติดไปกับกองทัพพอกินแค่ สาม วัน แล้วสั่งจมเรือแล้วทุบหม้อข้าวให้หมด(เหมือนสมเด็จพระเจ้าตากสินเลยนะครับท่านผู้ชม)เซี่ยงหยี่พาทหารของตัวเองเข้ารุกรบกับกองทัพของราชวงศ์ฉิน ซึ่งมีจำนวนมากกว่าถึงสิบเท่า ด้วยความกล้าหาญ การสู้รบดำเนินไปถึงเก้าครั้ง แล้วที่สุดทหารหลวงของฉินก็แตกพ่าย แม่ทัพนายกองของฉิน ก็ยอมอ่อนน้อมต่อเซี่ยงหยี่ พร้อมกับกองกำลังทหารของราชวงศ์ฉิน ถึง 200,000 นาย

ชัยชนะของเซี่ยงหยี่ที่มีต่อราชวงศ์ฉินนั้น ถือเป็นชัียชนะขั้นเด็ดขาด แม้กระทั่งกองทัพของกบฏฝ่ายต่าง ๆ ที่รีรอท่าทีอยู่ ต่างก็สลายกองทัพของตนเองเข้าร่วมกับกองกำลังของเซี่ยงหยี่ เป็นการส่งผลให้กองทัพของเซี่ยงหยี่มีกำลังพลมากที่สุดและแข็งแรงที่สุดยิ่งกว่า กบฏกลุ่มใด ๆ

ทางด้านหลิวปัง ก็ยกทัพไปทางตะวันตกเพื่อเข้ายึดด่านกวานจง อันเป็นที่ราบภาคกลางของมณฑลส่านซีในปัจจุบัน (แถว ๆ นครซีอาน) ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเสี้ยนหยางเมืองหลวงของราชอาณาจักรฉิน ประวัติศาสตร์จีนบอกว่า เซี่ยงหยี่ และ หลิวปัง ตกลงให้สัตยาบันกันต่อกันว่า หากแม้นว่าผู้ใดเข้ายึดเสี้ยนหยางได้ก่อน ก็จะได้ครอบครองราชอาณาจักรฉินทั้งหมด เนื่องจากหลิวปัง มีชื่อเสียงและเกียรติคุณในด้านที่เป็นคนโอบอ้อมอารีย์ มีเมตตาธรรม ไม่ให้ทหารกดขี่ข่มเหงราษฎร เมื่อทหารทัพฉินยอมแพ้ ก็ไม่ให้ฆ่า ใ่ส่ใจในทุกข์สุขของชาวนาในเมืองต่าง ๆ ที่ยึดได้ การยกทัพไปเสี้ยนหยางของหลิวปัง จึงแตกต่างจากเซี่ยงหยี่ เพราะไม่ต้องสู้รบกับทหารหลวงของฉิน เลย แถมมีประชาชนให้กำลังใจและเข้าข้าง ตามด่านและประตูเมืองหัวเมืองต่าง ๆ ทั้งทหาร ทั้งชาวบ้าน ล้วนพากันมาอ่อนน้อมด้วยความสมัครใจ กองทัพของหลิวปังจึงยกไปถึงด่าน อู่กวาน ซึ่งเป็นปากทางประตูเมืองที่จะเข้าสู่กรุงเสี้ยนหยางได้อย่างสะดวกโยธิน 

ด่านอู่กวานนี้อยู่ทางตะวันตกของเมืองส่านเจี้ยนในมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน

หลิวปัง หรือ จักรพรรดิ์ฮั่นเกาจู่ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่้น ที่ยาวนานสี่ร้อยกว่าปี

เซี่ยงหยี่ หรือ ฉู่ป้าหวาง จากการรู้รบกับหลิวปัง พ่ายแพ้ ได้กลายเป็นโศกนาฏกรรมแห่งความรักอันยิ่งใหญ่ เป็นตำนานเรื่องเล่าติดต่อกันมาสามพันกว่าปี ถึงกรณีที่ป้าหวางกำลังอำลานางสนมเพื่อไปสนามรบ เรื่องเล่าเรื่องนี้ได้กลายมาเป็นละครงิ้วปักกิ่ง เรื่องยอดนิยม เรียกชื่อเรื่องนี้ว่า "ป้าหวางเปี๋ยจวี" หรือ ป้าหวางลานางสนม หรือ คนไทย(แต้จิ๋ว)คุ้นเคยในชื่อเรื่องว่า "ฌ้อปาอ๋องอำลานางสนม"

เมื่อหลิวปังได้เข้าครองกรุงเสี้ยนหยางได้เรียบร้อย ก็ไม่ได้ทำร้ายทหาร ข้าราชการ และชาวเมือง รวมถึงพวกเจ้าราชวงศ์ฉินแต่อย่้างใด เงินในท้องพระคลังก็ไม่ยอมแตะต้อง รวมถึงการสั่งให้ทะแกล้วทหาร ไม่ให้ปล้นสะดมภ์แย่งชิงทรัพย์สินของประชาชน

ถึงแม้ว่าจะสามารถพิชิตกรุงเสี้ยนหยางได้ซึ่งถ้าพูดตามคำมั่นสัญญาที่มีต่อเซี่ยงหยี่ หลิวปังก็ย่้อมมีสิทธิที่จะเป็นใหญ่ในราชอาณาจักรฉินเดิม แต่กองทัพอันเกรียงไกรของเซี่ยงหยี่ ก็ยังคงมุ่งหน้ามาเสี้ยนหยาง บุกตะลุยเข่นฆ่าผู้คนมากมายในทุกเมืองที่ผ่านมา แล้วก็มีกองกำลังถึง 400,000 คน ฝ่ายหลิวปังมีกำลังเพียง 100,000 คน มากกว่ากันถึง สี่ ต่อ หนึ่ง ดังนั้น เมื่อเซี่ยงหยี่เข้ามาถึงเสี้ยนหยาง หลิวปังก็ยินยอมอ่อนน้อมต่อเซี่ยงหยี่แต่โดยดี ไม่เรียกร้องสิทธิืในราชสมบัติของราชวงศ์ฉิน 

ด้านเซี่ยงหยี่มีความกำแหงหาญและเชื่อมั่นทะนงตนในกำลังรบของเขาเอง แม่ทัพนายกอง หัวหมู่แมวเซา ทั้งหลายของเซี่ยงหยี่่ ก็มีความเคียดแค้นชิงชังทหารหลวงของรัฐฉินเดิม เมื่อเข้าเมืองได้ ทหารของเซี่ยงหยี่ก็ได้เข่นฆ่าผู้คนพลเมืองทะแกล้วทหารของราชวงศ์ฉิน รวมถึงจื่ออิงกษัตริย์องค์สุดท้ายและพวกเจ้าราชวงศ์ฉินทั้งหมด จนมั่นใจว่าผู้มีกำลังพลทั่วทั้งอาณาจักรยอมสยบต่อตัวเองด้วยดีแล้ว ไม่มีใครกล้าต่อกรกับฤทธิ์เดชอำนาจของตัวเอง.........

เซี่ยงหยี่ก็ได้ตั้งฉู่ไหวหวาง อ๋องรัฐฉู่ของตน เป็น อี้ตี้ หรือจักรพรรดิ์อี้(义-อี้-ผู้ทรงธรรม) แล้วตั้งตัวเองเป็น ฉู่ป้าหวาง แล้วตั้งหลิวปัง พันธมิตรที่ยินยอมต่อตน ให้เป็น ฮั่นหวาง หรือ อ๋องฮั่น (ฮั่น เป็นชื่อของบแม่น้ำที่เป็นสาขาของแม่น้ำฉางเจียงหรือที่คนไทยชอบเรียกแยงซีเกียง-แม่น้ำฮั่นเป็นแม่น้ำสายหนึ่งที่หล่อเลี้ยงดินแดนบริเวณที่เรียกว่า "ฮั่นจง" ทางตอนใต้ของมณฑลส่านซี

แม่น้ำฮั่น ในมณฑลส่านซี

เซี่ยงหยี่ ตั้งตัวเป็นใหญ่ โดยมีฉู่ไหวหวางเป็นฮ่องเต้หุ่นให้ตัวเองเชิด แต่งตั้งหลิวปัง เป็นฮั่นอ๋อง เนรเทศให้ไปอยู่ในดินแดนธุรกันดารที่เรียกว่าแคว้น ปา และแคว้นสู่ อันเป็นที่ตั้งของมณฑลซื่อชวน หรือเสฉวน ในปัจจุบัน

การที่เซี่ยงหยี่ หรือ ฉู่ป้าหวาง สั่งให้หลิวปังไปอยู่ในดินแดนทุรกันดารนั้นย่อมเป็นการปล่อยเสือเข้าป่า อันเป็นผลดีต่อหลิวปัง หรือฮั่นหวาง ที่จะสามารถซ่องสุมกำลังพลได้อย่างสะดวกโยธินโดยที่ฉู่ป้าหวางก็ไม่อาจจะล่วงรู้ตื้นลึกหนาบางได้ ดังนี้ ในปี 206 ก่อนคริสตศักราช ฮั่นหวางที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นอ๋องได้ไม่ถึงหกเดือน ก็สามารถยกทัพใหญ่จากฮั่นจงเข้าพิชิตด่านหันกู่กวาน และดินแดนทางด้านตะวันตกของราชอาณาจักรไว้ได้ ในปีัต่อมาก็สามารถระดมกำลังพันธมิตรได้อีกถึง 600,000 นาย 

ฮั่นหวาง กับ ฉู่ป้าหวาง สู้รบกันอย่างดุเดือดผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ ไป ไป มา มา และต่างก็ยึดหัวเมืองต่าง ๆ กัน ได้คนละทิศ คนละทาง (นับว่าเป็นสงครามสองก๊กว่างั้นเถอะครับพี่น้อง)  

สุดท้าย ฮั่นหวางหรือหลิวปัง พร้อมแม่ทัพนายกองทั้งหลาย ปิดล้อมเซี่ยงหยี่ หรือ ฉู่ป้าหวาง ไว้ได้ที่ เมืองไกเซี่ย ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอหลิงปี้เสี้ยนในมณฑลอานฮุยในปัจจุบัน

ภาพแผนที่สมรภูมิรบของฮั่นหวาง กับ ฉู่ป้าหวาง ในอำเภอหลิงปี้เสี้ยน มณฑลอานฮุย

กองทัพของเซี่ยงหยี่ หรือ ฉู่ป้าหวาง ถูกบดขยี้อย่างย่อยยับจนเหลือทหารเพียงหยิบมือหนึ่ง สามารถตีฝ่าวงล้อมออกมาได้ จนมาถึงท่าข้ามแม่น้ำอูเจียงซึ่งอยูํ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอเหอเสี้ยนของมณฑลอันฮุย แต่กองกำลังเป็นจำนวนมากของหลิวปัง ตามติด ๆ มาข้างหลัง และข้างหน้าของตัวเองเป็นแม่น้ำอูเจียง ขวางกั้นอยู่ ฉู่ป้าหวางจึงจำเป็นต้องอับจนทุกหนทาง ด้วยความที่เป็นขุนศึกผู้กรำศึกพิชิตชัยชนะมาตลอด จึงไม่อาจสามารถทำใจได้ ในที่สุด เซี่ยงหยี่ก็ตัดสินใจฆ่าตัวตาย ในขณะที่ตัวเองนั้นมีอายุได้เพียง 32 ปี (ยังนับว่าหนุ่มแน่นมาก-ไม่แน่ใจว่าต้นฉบับพิมพ์ถูกหรือปล่าว) และสงครามช่วงชิงอาณาจักรครั้งสำคัญหลังจากที่ฉินสื่อหวงตี้สามารถรวมจีนด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวได้เป็นครั้งแรกยังไม่ถึง 20  ปี ดี ก็สิ้นสุดลงในปี 202 ก่อนคริสตศักราช

***"สงครามระหว่างเซี่ยงหยี่หรือฉู่ป้าหวางกับหลิวปังหรือฮั่นหวางตลอดเวลากว่าห้าปี เป็นนาฏกรรมใหญ่ยิ่งอยู่ในประวัติศาสตร์จีนตลอดเวลากว่าสองพันปีมานี้ บุคคลทั้งสองเป็นผู้นำที่สำคัญที่สุดแห่งยุคหลังจากฉินสื่อหวงตี้สิ้นพระชนม์ลง และก็มีบทบาทสำคัญในการขุดหลุมฝังราชวงศ์ฉินให้ดับสูญไปด้วย 

สำหรับชีวิตการต่อสู้และวาระสุดท้ายของเซี่ยงหยี่นี้ ซือหม่าเชียน(บิดาแห่งประวัติศาสตร์จีน)ได้นิพนธ์ไว้อย่างสมบูรณ์ภายหลังมรณะกรรมของเซี่ยงหยี่ไม่กี่ทศวรรษ ถือได้ว่าเป็นนิยายโรมานซ์จากประวัติศาสตร์เรื่องเยี่ยมเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะฉากลาตายของนางอยวี๋จี สนมเอกของเซี่ยงหยี่ในคืนสุดท้ายในชี่วิตของขุนศึกจอมพิชิต ผู้สิ้นหวังด้วยประการทั้งปวง ก็ได้กลายมาเป็นละครงิ้วที่ประทับใจคนจีนโดยตลอดเป็นเวลา หลาย ต่อ หลายศตวรรษที่ผ่านมา แม้กระทั่งทุกวันนี้"

***จาก ประวัติศาสตร์ฺจีน ของ ทวีป วรดิลก อาณาจักรฉิน หน้า 163

ไหง่เป็นคนชอบฟังละครงิ้วปักกิ่งมากเป็นชีวิตจิตใจ มากจนคนจีนในประเทศจีนถามไหง่ว่า "หงีเป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่ชื่นชอบงิ้วจีนยิ่งกว่าคนจีนอีก" และงิ้วเรื่อง ฉ้อปาอ๋องอำลานางสนม หรือ "ป้าหวางเปี๋ยจวี" นี้ ไหงก็ชื่นชอบมาก ๆ เพราะทำนองเพลงบรรเลงบทงิ้วนั้น มีความอ่อนหวาน ท่วงทำนองไพเราะเพราะพริ้งมาก บทร้องก็ร้องเป็นทำนองเฉพาะตัว-ปัจจุบันนี้ โลกไร้พรมแดน ไหงสามารถคลิกคำว่า จิงจวี้ป้าหวางเปี๋ยจวี ในยูทูป ไหง่ก็ได้ฟังอย่้างชุ่มปอดแล้วครับ นี้คือคุณูปการของโลกไซเบอร์ไร้พรมแดน

ขอเสียเวลาเล่าประวัติของเซี่ยงหยี่ไว้สักเล็กน้อยนะครับ เพื่อให้เนื้อหามันมีความอุดมสมบูรณ์เกื้อกูลต่อกัน

เซี่ยงหยี่เป็นยอดนักรบ สืบตระกูลขุนนางนายทหารมาหลายชั่วคน ก่อการกบฏเมื่ออายุเพียง 24 ปี หลังจากที่ต่อสู้มาอย่างสาหัสสากรรจ์ตลอดเวลาสามปี ก็ได้ครองความเป็นใหญ่้ เมื่ออายุได้เพียง 27 ปี (แสดงว่าต้นฉบับพิมพ์ไม่ผิด) เป็นที่เกรงขามของบรรดาหัวหน้ากบฏกลุ่มต่าง ๆ เซี่ยงหยี่มีความเป็นขุนศึกอย่างเต็มร้อย เชื่อมั่นแต่ในกำลังรบและความสามารถในการต่อสู้รบของตัวเองเท่านั้น เชื่อว่าความรุนแรงและกำลังที่แข็งแกร่งสามารถแก้ปัญหาการปกครองได้ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่เคยสนใจในความทุกข์ยากของราษฎร 

ขณะเดียวกัน ตรงข้ามกับเซี่ยงหยี่ หลิวปัง กลับเป็นนักการเมืองและนักปกครองชั้นยอด จากพื้นฐานที่เป็นลูกชาวนา ผู้ต่ำต้อย ไม่มีความสูงส่งในชาติตระกูลของตนเองแม้แต่น้อย หลิวปังจึงได้รับความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ และความศรัทธาจากทหาร และประชาชน หลิวปัง รบกับเซี่ยงหยี่ นั้น แพ้ มากกว่าชนะ แต่ในด้านการเมือง หลิวปัง ได้ใจประชาชน รวมทั้งทหารหลวงของราชวงศ์ฉิน ด้วย การที่เซี่ยงหยี่ มีชัยชนะต่อหลิวปังได้นับสิบ ๆ ครั้ง แต่มาพ่ายแพ้อย่างหมดรูป หมดหนทางที่จะชนะได้เพียงครั้งเดียว และนับว่าเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตของตัวเองด้วย เพราะเป็นการจบชีวิตของตัวเอง........

นับว่าเป็น "เทียนมิ่ง" - "อาณัติสวรรค์" ที่ได้มอบให้แก่หลิวปัง ประสบความสำเร็จอย่้างสมบูรณ์ เมื่อได้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นขึ้นแล้ว ก็สามารถดำเนินนโยบายที่เป็นการสร้างพื้นฐานสำคัญให้จักรพรรดิ์ราชวงศ์ฮั่นในยุคต้น เจริญรอยตาม จนบัลลังก์ราชวงศ์ฮั่น มีเสถียรภาพมั่นคง ยั่งยืนอยู่ได้ถึง สี่ร้อยกว่าปี สามารถกล่าวได้ว่า หลิวปัง เป็นลูกชาวนาคนแรก ในประวัติศาสตร์ชาติจีน ที่เป็นหัวหน้ากบฏชาวนา แล้วสามารถสร้างตนเอง จนเป็นถึง ปฐมจักรพรรดิ์ ราชวงศ์ "ต้ิาฮั่น" และประสบความสำเร็จ ในสิ่งที่ฉินสื่อหวง สร้างไว้

อาณาจักรที่จักรพรรดิ์ราชวงศ์ฮั่น สืบต่อองค์ปฐมจักรพรรดิ์ ก็แผ่ขยายออกไปอย่้างกว้างใหญ่ไพศาล ราชวงศ์ฮั่นยั่งยืนอยู่ถึง 426 ปี ระหว่างปีที่ 206 ก่อนคริสตศักราช ถึง ค.ศ. 220 

ราชอาณาจักรฮั่นมีความยิ่งใหญ่ และก็ทรงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ พอจะเทียบอย่้างกว้าง ๆ กับอาณาจักรโรมันในยุครุ่งเรือง อันนี้นับว่าเป็ํนสิ่งสำคัญทีี่ทำให้ชาวจีนใช้เรียกตัวเองว่า ชนชาติ "ฮั่น" นับตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา............

แผนที่ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ก่อนที่จะถึงยุค 3 ก๊ก อันเป็นยุคในราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งสู้รบกันกว่า 72 ปี ราชอาณาจักรจงกว๋ออันยิ่งใหญ่ก็ถึงกาลแตกแยกออกเป็น 3 ก๊ก 3 เหล่า กว่าจะมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้อีกในสมัยราชวงศ์จิ้น(หลานของซือหม่าอี้-สุมาอี้)

ครับ ความเป็นมาของชาว "ฮั่น" หรือ ชนชาติฮั่น ก็มีเพียงประการเท่านี้ แต่จำเป็นที่จะต้องเล่า และ ร่าย เป็นเรื่องราว เพื่อให้ทุกท่านเห็นภาพ และรู้จัก-เข้าใจที่มาที่ไปของคำว่า ชนชาติฮั่น ซึ่งเป็นเพราะ ราชวงศ์ฮั่น เป็นราชวงศ์ ที่สอง และราชวงศ์แรกของจีน ที่ครองความเป็นราชอาณาจักรและราชวงศ์ฮั่น มาถึง สี่ร้อยยี่สิบหกปี ชาวจีนนับตั้งแต่นั้นมา จึงได้เรียกตัวเองว่า ชนชาติฮั่น

 

ในเรื่องต่อ ๆ ไปจะเสนอเหตุผลว่าทำไมคนจีนภาคใต้ต้องเรียกตัวเองว่า เป็น "ถ่องหยิ่น" หรือ ถังเหริน (แต้จิ๋วออกเสียง ตึ่งนั่ง ใหหนำ ออกเสียง เด่งหนั่ง) อันมีความหมายว่าเป็นชาว ถัง (ราชวงศ์ถ้ง)

 

***เว็ปไซด์ต่าง ๆ หรือท่านผู้สนใจ สามารถคัดลอกไปไว้ในเว็ปไซด์ของท่านได้ขอเพียงแต่ให้ความกรุณาว่า จากเว็ปไซด์ www.hakkapeople.com โดย Yubsinfa (Klit.Y)


รูปภาพของ ฉินเทียน

เหินห่าว

เหินห่าว

รูปภาพของ วี่ฟัด

很好

2 วันกับอีก 11 ชั่วโมงคือระยะเวลาที่เว๊ปชุมชนคนฮากกาอยู่นิ่งๆไม่มีใครเข้ามาตอบกระทู้กันเลย ได้คุยกับหลายๆท่านเช่นท่านแกว้นก็บอกว่าเว๊ปนี้ชักร้างแล้ว แต่ไหง่ว่าคงไม่ร้างหรอกที่ไม่ค่อยมีใครเขียนอะไรก็เพราะเรื่องราวเกี่ยวกับฮากกามันเคยเขียนกันเกือบทุกแง่ทุกมุมแล้ว แต่ไหง่ว่ายังหรอกความเป็นฮากกาในแง่ส่วนตัว ส่วนครอบครัว ยังไม่ค่อยมีใครเขียนเลยก็ว่าได้ อาจจะเป็นเพราะความหวงแหนความเป็นส่วนตัวของตัวเอง จะมีเพียงอาหงิ่วโกเท่านันที่กล้าเขียนเรื่องสวนตัวของตนโดยไม่เคยปิดบัง ไหง่ก็เคยเล่าเรื่องส่วนตัวของครอบครัวเยอะและมีความคิดอยากจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับไท้ปักของไหง่ตั้งแต่เดินทางจากหมอยแย้นจนเข้ามาอยู่ในประเทศไทย แต่ไหงว่าเว๊ปนี้คงดูดีมีอนาคตแน่ๆ ถ้าไม่ดีมีอนาคตจริงคงไม่มีไอ้บ้าที่ใหนชอบมาโพสต์ขายของเป็นภาษาอังกฤษได้เป็นวรรคเป็นเวร ไหง่ว่ามันคงเห็นเว๊ปของเราคงมีคนที่มีการศึกษาสูงๆฉลาดๆมาดูเยอะเป็นแน่

ไหง่เขียนได้มาเป็นวรรคเป็นเวรทั้งๆที่มีวัตถุประสงค์เพียงต้องการขอบคุณ " ฉินเทียน " เท่านั้นที่ทำให้เว๊ปเกิดความเคลื่อนไหวขึ้นมาได้จากการที่นิ่งๆมาถึง 2 วัน 11 ชั่วโมง เหินห่าว 很好ๆ ครับ

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal