หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

กว้อซิ้นเหนียนไถ่ฝัดฉอย

กว้อซิ้นเหนียน หลอยต้อ ห้อชุนเที้ยน    ตรุษจีนมาถึงเป็นฤดูใบไม้ผลิอันสดใส

จกหวุกหวุก เกี๊ยนเกี๊ยน ไถ่ฝัดฉอย       ขออวยพรให้ทุกบ้านทุกครัวเรือนเจริญรุ่งเรือง

จ้อเซ็นลี้ ไม้ไหม่ ลุ้งกอยก๊อย               ทำการค้าล้วนซื้อง่ายขายคล่อง

หยิดปุ้นหลอย ไหม่ฉ่อน ปักหว่านเหลน  ลงทุนหนึ่งขายกำไรได้กว่าล้าน

จ้อกุงจี๊อ ฝุงเป๊า ฟุ้งไถ่ไก้                 ทำเงินเดือนให้ได้อั้งเปาลูกโตโต

กวิ๊งม่อยไล่ ซุ้งหลอย เที้ยมฉอยเต๊น      ได้ลูกหญิงชาย มาคู่เสริมความร่ำรวย

ลวิ๋งม้าจิ๊น หงั่งสิน หมอสื่อเข่น         สุขภาพแข็งปึ๊กดั่งมังกรดั่งม้า ,ไร้เรื่องขุ่นเคือง

หงาเซนเสน หงิดหย่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า                ยิ้มโชว์ฟันทุกวันคืน ฮ่า ฮ่า ฮ่า


รูปภาพของ tonquincy

คงไว้ซึ่ง

คงไว้ซึ่งลูกหลาน- ภาษาแคะ

เรื่องเล่าวันที่3

 

ตื่นเช้ามาวันนี้ ก็ได้ยินอาง้าไล่จื้อ กี๋บ่นกับอาแม้กี๋ว่า
แมวมันอ้วกหรือไง? ไหงก็เลยออกไปดู เห็นเป็นแท่งสีดำ ใหญ่ ยาวประมาณครึ่งนิ้วชี้
ก็รู้ว่าเป็นมูลของ ซำสู หรือ กับป๊อ คือคางคกนั่นเอง ก็เลยนึกแปลกใจว่า
ทำไมวันนี้ถึงยังมีซำสูออกมา
เพราะตั้งแต่เด็กมาไหงก็เคยได้ยินอาแม้ไหงเล่ามาว่าในวันนี้ที่เมืองจีน
จะไม่เคยมีปรากฏ เจ้าซำสูนี่ให้เห็นง่าย ๆ นัก
เขาว่ามันเป็นอาถรรพ์หรือว่าอะไรซักอย่างนี่แหละ พวกนักเล่นก็เลยแสวงหากัน เล่ากันว่า
พวกนักเล่นนักเสี่ยงโชค จะจับเจ้าซำสูนี่ใส่พกไป เข้าบ่อนเล่น โดยเฉพาะพวกเต๋า
ไฮโล เขาว่าจะฟังเสียงมันดิ้น แล้วนับจำนวนครั้ง นำเอาไปแทง แล้วรวยออกจากบ่อนทุกราย
แต่ก็มีที่เจ้าของบ่อน หาสิ่งมาแก้ไว้เหมือนกัน เลยเจ้าซำสูดิ้นจนตาย ก็แทงไม่ถูก
ก็เป็นเรื่องเล่าช่วงตรุษจีนที่นึกขึ้นได้นะครับ
เพราะมันมาเกิดในวันที่ไหงเองก็พยายามมานานปีว่าจะได้พบเห็นเจ้าซำสูหรือเปล่า ก็ปรากฏว่า
ไหงไม่เคยเห็นเลยจริง ๆ แม้บ้านไหงจะเป็นบ้านสวนก็เถอะ ถึงวันนี้ก็ยังแค่ได้เห็นซากอารยะธรรมของมันแค่นั้น

15วันแห่งการฉลองตรุษจีน


วันตรุษจีนใกล้เข้ามาถึง เด็กน้อย เด็กโตทั้งหลายต่างใจจดใจจ่อรออังเปา ที่หมายถึงกระเป๋าแดง ซึ่งเป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็ก ๆ และผู้ใหญ่ที่ยัง ไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง ซึ่งทำเป็นประเพณีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ และมีฉลอง เลี้ยงตรุษจีนของทุกครอบครัวคนจีนกันทุกปี และคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนจะมี 15 วันแห่งการฉลองวันตรุษจีนที่เป็นประวัติสืบต่อกันมาจะมีอะไรกันบ้างไปดูเลยครับ

วันแรกของปีใหม่ของชาวจีน หรือวันตรุษจีนเป็นการต้อนรับเทวดาแห่งสวรรค์และโลก หลายคนงดทานเนื้อในวันนี้ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการต่ออายุ และนำมาซึ่งความสุขในชีวิตให้กับตน

วันที่สอง ชาวจีนจะไหว้บรรพชนและเทวดาทั้งหลายและจะดีเป็นพิเศษกับสุนัข เลี้ยงดูให้ข้าว อาบน้ำให้แก่มันด้วยเชื่อว่าวันที่สองนี้เป็นวันที่ สุนัขเกิด

วันที่สามและสี่ เป็นวันของบุตรเขยที่จะต้องทำความเคารพแก่พ่อตาแม่ยายของตน

วันที่ห้า เรียกว่า พูวูซึ่งวันนี้ทุกคนจะอยู่กับบ้านเพื่อต้อนรับการมเยือนของเทพเจ้าแห่งความร่ำรวยในวันนี้จะไม่มีใครไปเยี่ยมใครเพราะจะถือว่า เป็นการนำโชคร้าย มาแก่ทั้งสองฝ่าย

วันที่หกถึงสิบ
ชาวจีนจะเดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องเพื่อนฝูงของครอบครัว และไปวัด สวดมนต์เพื่อความร่ำรวยและความสุข

วันที่เจ็ดของตุรุษจีน เป็นวันที่ชาวนานำเอาผลผลิตของตนออกมาชาวนาเหล่านี้ จะทำน้ำที่ทำมาจากผักเจ็ดชนิดเพื่อฉลองวันนี้ซึ่งวันที่เจ็ดถือเป็นวันเกิดของมนุษย์ ในวันนี้อาหารจะเป็น เหมี่ยนเสี้ยน กินเพื่อชีวิตที่ยาวนาน และปลาดิบเพื่อความสำเร็จ

วันที่แปด ชาวฟูเจียน จะมีการทานอาหารร่วมกันกับครอบครัวอีกครั้งและ เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืนทุกคนจะสวดมนต์ของพรจาก เทียนกุ๊ง เทพแห่งสวรรค์ และวันนี้เป็นวันเทียนกุ๊งซั้งคือวันเกิดทีกงเอี๊ย


วันที่เก้า จะสวดมนต์ไหว้และถวายอาหารแก่ งวิ๊กเซี้ยนฝองตี้ หรือเง็กเซียนฮ่องเต้

วันที่สิบถึงวันที่สิบสอง เป็นวันที่ควรเชื้อเชิญเพื่อน ๆและญาติ ๆ มาทานอาหารเย็นร่วมกัน และหลังจากที่ทานอาหารที่อุดมไปด้วยความมัน


วันที่สิบสาม หลังจากทานอาหารที่อุดมไปด้วยความมันเมื่อวันที่สิบถึงวันที่สิบสองแล้ว วันนี้ก็ถือเป็นวันที่เราควรทานข้าวธรรมดากับผักดองกิมกิถือ เป็นการชำระล้างร่างกาย

วันที่สิบสี่

ความเป็นวันที่เตรียมงานฉลองโคมไฟซึ่งจะมีขึ้นในคืนของวันที่ สิบห้าแห่งการฉลองตรุษจีน

วันที่สิบห้า วันแห่งการฉลองตรุษจีน

 

 

ข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ขอขอบคุณครับ

ผักมงคล 7 ชนิด

 


ซิดฉิดหย่องช่อย (七樣菜)

  

ในวันที่ 6 ที่ 7
ของเทศกาลตรุษจีนชาวจีนจะมีประเพณีกินผัก 6 อย่าง ในวันที่ 6 และกินผัก 7
อย่างในวันที่ 7
ซึ่งก็คงต้องเริ่มหาซื้อมาก่อนบ้างแล้วเพื่อว่าผักบางอย่างอาจจะหายากในบางแห่ง จะได้มีผักได้ครบตามจำนวน

ในช่วงเทศกาลตรุษจีนนั้นจะมีเทศกาลอื่นๆ
รวมอยู่ด้วยมากมายหลายเทศกาล โดยเริ่มตั้งแต่ก่อนวันตรุษจีนยาวไปจนถึงวันเทศกาล
หงวนเซี้ยวเจียด ง้วงเซียว (
元宵節) หรือที่ชาวไทยเรารู้จักกันว่าวันเทศกาลชาวนาหรือเทศกาลโคมไฟ
อันจะเกิดขึ้นในวันที่
15 เดือน 1 (
正月十五)
ตามปฏิทินจันทรคติจีนและถือว่าเป็นวันสิ้นสุดงานเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ของชาวจีนด้วย

 

ในระหว่างเทศกาลตรุษจีนที่จะมีการเฉลิมฉลองกันยาวนานหลายวันนั้น
จะมีวันสำคัญวันหนึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางเทศกาลตรุษจีน
ที่ลูกหลานชาวไทยเชื้อสายจีนหลายท่านอาจไม่ทราบหรือลืมไป
ไม่ได้นำมาถือปฏิบัติกันมายาวนาน

 

อาจเป็นเพราะไม่ทราบว่าวันนี้นั้น
เป็นวันที่ชาวจีนโบราณถือว่าเป็นวันมงคลอีกวันหนึ่ง
เป็นวันที่บรรพบุรุษชาวจีนสร้างขึ้นมาเป็นประเพณี ให้ลูกๆ หลานๆ
รุ่นสืบไปได้ระลึกถึงความยากลำบากในชีวิตของบรรพบุรุษเราที่ผ่านมา
ว่าท่านต้องลำบากตรากตรำเพียงใด กว่าจะสร้างฐานะให้เราได้อยู่กันอย่างสุขสบายในทุกวันนี้
หรือเอาง่ายๆ ไม่ต้องไปดูไกล
ก็ให้ดูว่าในปีที่แล้วเรามีอยู่มีกินมาถึงปีใหม่นี้ได้ยังไงก็เพียงพอ

 

เทศกาลนี้จะเกิดขึ้นในวันที่
7 (初七) เดือนแรกตามปฏิทินทางจันทรคติจีน
โดยชาวจีนนั้นจะถือว่าเลข
7 เป็นเลขแห่งความมานะอุตสาหะ
เลขแห่งความอดทนอดกลั้น หรือเรียกง่ายๆ
ว่าเลขแห่งประสบการณ์ความยากลำบากในชีวิตที่ทำให้เรากล้าแกร่งมาเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ในทุกวันนี้
แล้วเอาความหมายของเลข
7 นี้มาสร้างเป็นคติไว้เตือนใจลูกหลานว่าควรดำเนินชีวิตกันอย่างไร

 

ชาวจีนจึงได้คิดประเพณีขึ้นมาในช่วงกึ่งกลางของเทศกาลตรุษจีนที่จะมีติดต่อกันยาวนานถึง
15 วัน
โดย เทศกาลนี้มีชื่อว่าเทศกาล “ฉิดหย่องช่อย”
ฉิกเอี๊ยไฉ่ (
七樣菜)”
หรือ เทศกาลกินผัก 7 อย่าง
โดยจะนำผักที่มีชื่อมงคล 7 ชนิดมารับประทานเพื่อเตือนสติว่าปีเก่าได้ผ่านพ้นไปแล้ว
ปีใหม่นี้เราควรเริ่มต้นชีวิตใหม่ตามอย่างความหมายอันเป็นนัยยะของผัก
7 ชนิดดังนี้ คือ

 

1.ขวินช่อย คึ้งไฉ่ (芹菜หรือที่คนไทยเราเรียกกันว่า ผักคื่นช่าย
นั่นเอง โดยผักคึ้งไฉ่ คำว่า คึ้งจะไปพ้องเสียงกับคำว่า
คึ้ง ()” ที่แปลว่า มุมานะบากบั่น, พากเพียร, ขยันขันแข็ง

 

ดังนั้นคึ้งไฉ่
จึงเป็นผักที่นำมาเป็นกุศโลบายเพื่อเตือนใจว่า เกิดเป็นคนต้องรู้จักขยันหมั่นเพียร
มุมานะอดทดต่อความยากลำบาก อย่าสำมะเรเทเมาลุ่มหลงไปกับกิเลสตัณหา
เพื่อที่จะได้สุขสบายและร่ำรวยในอนาคต

คำว่าคึ้ง ()” คำปั้นซั้นขักเรียกว่า “ขิ่ม” 

2. ชุ้นช่อย ชุงไฉ่ (春菜หรือที่คนไทยเราเรียกกันว่า
ผักโขมโดยคำว่า ชุง
นี้จะแปลว่า ฤดูใบไม้ผลิ, วัยหนุ่มวัยสาว,
ความรัก, พลังชีวิต แล้วยังไปพ้องเสียงกับคำว่า
ชุง (
)” ในภาษาแต้จิ๋วที่แปลว่า
แผ่ขยาย
, เหยียดออก, ยืดออก

 

ดังนั้นชุงไฉ่
จึงเป็นผักที่นำมาเป็นกุศโลบายเพื่อเตือนใจว่า
ให้รู้จักขยันทำมาหากินรู้จักเพิ่มพูนทรัพย์สินด้วยความกระปรี้กระเปร่าเหมือนตอนหนุ่มสาว
อย่าทำตัวขี้เกียจ สิ่งใดที่เลวร้ายที่ผ่านมาก็ให้ถือว่าเป็นบทเรียนเพื่อให้เรากลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่งอีกครั้ง
การงานอะไรที่ทำอยู่แม้เราจะไม่ชอบงานที่ทำอยู่นั้น
เราต้องทำมันด้วยความรักเอาใจใส่และความรับผิดชอบหน้าที่การงานนั้นให้ดีที่สุด

 

3. เก่าฮับช่อย เก๋าฮะไฉ่ (厚合菜) ผักเขียว    ใบหนา ๆ  ไม่มีชื่อในภาษาไทยแต่มีขายและปลูกในประเทศไทยแล้ว โดยคำว่า เก๋านี้จะแปลว่า ให้ความสนใจ, เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่,
ยกย่องให้เกียรติ, อบอุ่น ส่วนคำว่า ฮะแปลว่า ร่วมกัน, พึงควร,
ถูกต้อง

   เจ้าสาวที่แต่งงานไปในครอบครัวคนจีนที่ยังเคร่งอยู่ก็จะได้รับประทานผักตัว  นี้ เพื่อให้ซื่อสัตย์ต่อสามี   ส่วนคนไทยเชื้อสายจีน  ดึงมาเป็นพวกเสียเลย เก๋าจึงเป็นศัพย์แสลง  แปลว่า แน่  แปลว่า   ผู้ชำนาญการ   แต่บางครั้งผัก  เก๋าฮะ  นี้   เขาก็ใช้   แป๊ะฮะ  百合    แทนก็มี
ซึ่งก็แปลว่าเป็นผู้ที่เข้าได้กับทุกคน
   เข้าได้  กับทุกสถานะการณ์พ้องเสียงกับคำว่าสมานฉันท์  เข้าได้หมดไร้ปัญหา  

ดังนั้นเก๋าฮะไฉ่
จึงเป็นผักที่นำมาเป็นกุศโลบายเพื่อเตือนใจว่า จะทำงานอะไรก็ตามแต่
ต้องให้เกียรติรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้ร่วมงานและผู้อื่นเสมอ
และพึงควรให้ความสนใจสอดส่องกิจการงานที่ทำอยู่ตลอดเวลาอย่างไม่ประมาท

 

4. ซ่อนช่อย สึ่งไฉ่ (蒜菜หรือหรือที่คนไทยเราเรียกว่า
ต้นกระเทียมหรือจะเป็นหัวกระเทียมก็ได้
โดยคำว่า
สึ่งนี้จะไปพ้องเสียงกับคำว่า
สึ่ง (
)” ที่แปลว่า คิดคำนวณ, แผนการ, นับ

 

ดังนั้นสึ่งไฉ่
จึงเป็นผักที่นำมาเป็นกุศโลบายเพื่อเตือนใจว่า ก่อนที่จะลงมือทำอะไรสักอย่าง
ให้คิดใคร่ควรให้รอบคอบก่อนลงมือทำ
อย่าด่วนใจร้อนตัดสินด้วยการเอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง
หัดรู้จักเริ่มนับจากหนึ่งไปจนเต็มร้อย เริ่มจากทุนรอนที่เรามีอยู่แล้วค่อยเก็บออมจนมั่งมี
อย่าคิดรวยทางลัดด้วยการทำอะไรที่ขัดต่อหลักศีลธรรมหรืออย่าทำอะไรที่เกินตัวเกินกำลังมากไป
เพราะมันจะนำมาซึ่งความเสียหายแก่เราในภายหลัง

 

5. ไถ่ช่อย ตั้วไฉ่ (大菜หรือที่คนไทยเราเรียกว่า ผักกาดเขียว โดยคำว่า ตั้ว
นี้จะเเปลว่า มากหรือใหญ่ ผักกาดเขียวก็จะเป็นผักที่มีใบมาก
มีใบขนาดใหญ่และเป็นผักที่หัวใหญ่ด้วย
บางครั้งถ้าหาผักกาดเขียวไม่ได้ก็สามารถใช้ผักกาดขาวหรือกะหล่ำปลีมาใช้แทนก็ได้

 

ดังนั้นตั้วไฉ่
จึงเป็นผักที่นำมาเป็นกุศโลบายเพื่อเตือนใจว่า จะทำอะไรให้พยายามมองไปข้างหน้า
(อนาคต) หัดอดเปรี้ยวไว้กินหวาน
คิดถึงการใหญ่ที่เรามุ่งหมายจะไปให้ถึงที่ฝันเอาไว้เป็นที่ตั้ง เรื่องเล็กๆ น้อยๆ
ที่ผ่านไปได้ก็ให้ผ่านเลยไป อย่าเก็บเอามาเป็นเรื่องเป็นราวเป็นอุปสรรคให้เสียงาน

 

6. ช่อยแถว ไช่เท้า (菜頭หรือที่คนไทยเราเรียกกันว่า หัวไชเท้า หรือ ผักกาดหัวโดยคำว่า ไฉ่ก็คือ ผัก ส่วนคำว่า เท้า
จะแปลว่า หัว, หัวหน้า, เจ้านาย,
หรือไปพ้องกับ “ฉอย” ไช้ (  ) แปลว่า   โชคลาภ  มีลาภ   จุดเบื้องต้นและจุดเบื้องปลายของสรรพสิ่งดังนั้นไฉ่เท้า
จึงเป็นผักที่นำมาเป็นกุศโลบายเพื่อเตือนใจว่า
คนเราเมื่อร่ำรวยหรือได้เป็นใหญ่เป็นโตดั่งที่ปรารถนาแล้ว ก็อย่าลืมกำพืด
อย่าลืมตน
หมั่นนึกถึงความยากลำบากและการสู้ชีวิตชีวิตที่ผ่านมาจนทำให้เราร่ำรวยได้และมาเป็นใหญ่เป็นโตในวันนี้

 

7. กับหลำช่อย ขัดหนาช่อย กะนั้มไฉ่ (หรือที่คนไทยเราเรียกกันว่า ผักคะน้าโดยคำว่า กะจะหมายถึง ยอดเยี่ยม, ล้ำเลิศ, เกราะป้องกัน ส่วนคำว่า นั้มจะหมายถึงสีน้ำเงินหรือสีคราม
ซึ่งสีนี้ชาวจีนถือกันว่าเป็นสีแห่งท้องฟ้าหรือสวรรค์
และในพระพุทธศาสนานิกายมหายานถือว่าเป็นสีรัศมีแห่งธรรมะ

甲藍หมายถึงที่หนึ่งในตะกร้า  คำว่า กับ”กะ”(   )เมื่อไปผสมกับ คำว่าประเทศ หรือ โลก ก็แปลว่ายอดเยี่ยม เป็นที่หนึ่งในโลกจึงไม่น่าสงสัยว่าทำไมต้องเป็นผักตัวนี้

 ดังนั้นกะนั้มไฉ่
จึงเป็นผักที่นำมาเป็นกุศโลบายเพื่อเตือนใจว่า
ชีวิตคนเรานั้นเกิดมาก็มีแต่ตัวอย่างเดียวมาแต่กำเนิด
ตายไปก็เอาอะไรติดตัวไปไม่ได้ ที่สุดแล้วก็จะมีแต่ความดีงามที่ติดตัวไปได้เท่านั้น
พึงหมั่นเร่งสร้างบุญสร้างกุศลและปฏิบัติธรรมเพื่อให้หลุดพ้น
ถ้าทำได้เช่นนี้แล้วก็จะถือว่าเป็นยอดแห่งคนและธรรมนั้นจะเป็นเกราะคุ้มครองให้ผู้ปฏิบัติธรรมเสมอ

 

  

 

ผักมงคลสอนใจทั้ง 7 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นนี้
คนไทยเชื้อสายจีนในบ้านเรารับเอาอิทธิพลความเชื่อมาจากชาวจีนเชื้อสายแต้จิ๋วเป็นส่วนมาก
เพราะเห็นได้จากชื่อของผักบางชนิดที่มีชื่อไปพ้องเสียงกับคำมงคลอีกคำหนึ่ง
โดยถ้าเป็นภาษาจีนเชื้อสายอื่นแล้ว เขาอาจจะนำผักอื่นที่มีชื่อพ้องกับคำมงคลในภาษาเขามาใช้แทนก็ย่อมได้

 

การกำหนดให้รับประทานผัก   อย่าง    น่าจะเป็นกุศโลบายของนักปราชญ์แต่โบร่ำโบราณ   การที่จะบอกให้คนที่รับประทานหมูเห็ดเป็ดไก่  ร่ำสุรา มาตลอดเป็นเวลาหลายวัน  ไปถ่ายท้องเสียบ้าง  คงมีคนเชื่อยาก    เลยหากลวิธีให้กินผักซึ่งมีกากใย มากจะได้มีสุขภาพดี   เลยให้กำหนดเป็นอาหารผัก  แต่แนะนำอย่างเดียวคงยากเลยลากบาลีเข้าวัดเสียเลยจะได้ขลัง  ให้ออก ไปทางมงคลเสียบ้าง   คนเราชอบอะไร  ๆ ที่เป็นสิ่งดี  ๆ จึงถือเป็นประเพณีที่ต้องกินผักอย่างที่เป็นศิริมงคล กันมาตั้งแต่โบราณ

 

 

ขอขอบคุณ คุณ ฝูซิง (福星)

กว้อซิ้นเหนียน ไถ่ฝัดฉอย

ในเทศกาสลอันเป็นศุภมงคลของชาวจีน2557ปีม้ามงคลนี้

ไหงขอส่งความปรารถนาดีด้วยการนำบทร้อยกรองของชาวเรา มาร้อยถักเสียใหม่ อวยพรให้ทุกท่าน เฮงเฮง รวยรวย สุขภาพแข็งแรง และโชคดีกันทุกคนครับ

ซินจั๊ง หยียี่ เซ็นลี้หลอย ศักราชใหม่ ขอให้ทำมาค้าขายสมใจปราถนา
ซิ้นเหนียน ฝัดฉอย หลอยเก๊าสิน ลูกค้าอุดหนุนอุ่นหนาฝาคั่งให้ร่ำให้รวย
ม้ายหลอย หม่ายคื่อ หว่านสื่อฮิ้น ซื้อง่าย ขายคล่อง เจริญรุ่งเรือง
ฉอยหงวน ก้วงจิ้น ไถ่ลิ้นซั้น เงินทองไหลมาเทมามากมายก่ายกอง
ทั่งเหนียน ยิ้วฉอย ขอยหมุนเคี้ยม ทั้งปีทั้งมีทรัพย์มีโชคมาเกยถึงหัวกระได
กิ๊มเหงน เต้วเจี๊ยม เที้ยมหมอหัน เงินทองเบียดเสียดกันมาไม่เว้นว่าง
หงิดหงิด ฉอยป้อ เชี้ยนกว้อปั๊น ทุกวันรับทรัพย์ลูกค้าพันกว่าราย
ไถ่เจ้น ไถ่กั้น ไถ่ฟั้นฮี่ ขยันหมั่นเพียรสบายอกสบายใจ
หวองกิ๊ม หว่านเลวี้ยง ลอลอท้อ ทองเรืองอร่ามหมื่นตำลึงถูลู่ถูกัง
เจ๊วฉอย จิ้นป้อ ต้อก๊าหลี่ เงินทองไหลมาเทมายังบ้านเรือน
ก๊าก๊า ฮับฝอ หมอตอตี๊ ทั่วทุกครัวเรือนเสมัครสมานสามัคคี
เห็นฝุก หยียี่ หยุ่นคี่ห้อ มีความสุขสมปรารถนาโชคชะตาราศีดี
ซิ้นถี้ เกี้ยนค้อง ฉองฝุกซิ่ว สุขภาพแข็งแรง อายุยืน วาสนาดี
เที้ยนหลุก หลุกชิ้ว ต้อเต๊นต้อ ฟ้าประทานวาสนาครั้งแล้วครั้งเล่า
ลวิ๋งม้า จิ๊นสิน ชิ่นลิดต๊อ สุขภาพแข็งแรงพละกำลังมากมาย
จี้ป๊อ ฟ้อยป๊อ ฉ่อหวานต๊ำ แบ๊งค์ม่วงแบ๊งค์เทา เก็บเป็นหาบ

สามประสพ

  วันนี้ถือเป็นวันมงคลยิ่งวันหนึ่งในรอบไม่รู้กี่ปี จึงจะมีอย่างนี้สักวัน 
 1.วันหงวนเซี้ยวเจียด 元宵节เป็นเทศกาลประดับโคมไฟ
 2.วันมาฆบูชา หว่านฟูดเจียด万佛节
 3.วันวาเลนไทน์ ชิ้นหงินเจียด情人节
 วันทั้งสามมาตรงกันโดยบังเอิญไม่ได้นัดแนะกัน เหมือนหนุ่มสาวที่แปลความวันวาเลนไทน์ไปเป็นวันเสียสาว(เสียหนุ่มด้วย)ซะแล้ว ก็มีสิ่งอันเป็นมงคลของชาวจีนมาฝากไถ่ก๊าทุกท่านครับ เรียกว่าสิ่งอันเป็นมงคล 44 อย่าง
 
                   
 1. พระยิ้ม 

สัญลักษณ์ของความรวย ความสุข
และความอุดมสมบูรณ์
 

เป็นพระอ้วนกลมยิ้มแย้ม พุงพลุ้ย
มีลักษณะท่าทางหลายแบบ แต่ละท่าล้วนแล้วแต่มีของมงคลที่สื่อถึงความมั่งมี ศรีสุข ประกอบอยู่ด้วย
เชื่อว่า ผู้ใดบูชาพระยิ้ม จะได้รับมงคลที่มุ่งถึงความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคาร
และความสุข เพราะท่านเป็นพระที่ร่ำรวย บางท่านมีความเชื่อว่า
ให้อธิษฐานลูบท้องพระวันละครั้งจะทำให้เกิดโชคดี สมปรารถนา และมีลูกหลานเป็นบัณฑิต
 

 

2. ฮก ลก ซิ่ว ลาภ รวย อายุ 

ฮก แปลว่า โชคลาภ
ความสุขที่เกิดจากการได้สมหวังดังใจ เทพฮก เป็นชายโหงวเฮ้งดี มีสง่าราศี
แต่งกายภูมิฐาน มือหนึ่งประคองคทายู่อี่ ยอดทำด้วยหยก (คทา
 

สมปรารถนา) เป็นของวิเศษ
ใครอธิษฐานสิ่งใดก็ให้สมปรารถนา หรือได้โชคลาภตามคำขอ
 

ลก แปลว่า รวย หรือความมั่งคั่ง
เทพลก เป็นอัครอภิมหาเศรษฐีผู้มั่งคั่ง
มือหนึ่งถือบัญชีทรัพย์สินรายชื่อลูกหนี้ม้วนใหญ่ เพราะร่ำรวยล้นฟ้ามีสมบัติมหาศาล
จึงมีลูกหนี้มากมาย อีกมืออุ้มลูกชาย ในมือลูกชายถือเงินทอง
และอาจมีลูกสาวตัวน้อยเกาะขาอยู่ ในอ้อมแขนลูกสาวมีเครื่องประดับ ดอกไม้ ขนม
แสดงถึงความมีกินมีใช้ ตามความเชื่อโบราณ ลก ที่สมบูรณ์จะต้องมีลูกชาย
เพราะคนจีนถือเรื่องสืบต่อวงศ์ตระกูล ถ้ารวยอย่างเดียวโดยไม่มีลูกชายสืบสกุล
ก็ไร้ประโยชน์
 

ซิ่ว แปลว่า อายุยืน  เทพซิ่ว
เป็นชายแก่ศรีษะล้าน หน้าผากนูน เคราสีขาวยาว มือหนึ่งถือผลท้อ
ซึ่งเป็นผลไม้สวรรค์ ใครได้ทานจะมีอายุยืนยาว
อีกมือถือไม้เท้าหัวมังกรสัตว์ในตำนานที่มีอายุยืนถึงหมื่นปี
ที่คอไม้เท้าห้อยน้ำเต้า ภายในน้ำเต้าบรรจุยาอายุวัฒนะ เหนือน้ำเต้ามี
"เซียนจือ" ผูกติดอยู่ เซียนจือคือตำรายาเทวดา หรือตำรายาอายุวัฒนะ ซิ่ว
มีนกกระเรียนเป็นสัตว์เทพพาหนะ
 

ฮก ลก ซิ่ว
มีฮกเป็นหัวหน้า ส่วนลก และซิ่ว เป็นบริวาร ถือว่าต้องมีลก กับซิ่วจึงจะมีฮก
นั่นคือต้องมีอายุมั่นขวัญยืน และมั่งมี จึงจะศรีสุขได้ การตั้งฮก ลก
ซิ่วที่ถูกหลัก ต้องตั้งฮกไว้ตรงกลาง
 

 

3.กวนอู 

เทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ กตัญญู เป็นที่ยำเกรงของภูตผีปีศาจ
กวนอู เดิมชื่อ หนเตี๋ยง ชาวเมืองฮอตั่งไก่ สูง ๖ ศอก ปากแดง หน้าแดง คิ้วตัวไหม
ดวงตาการเวก
 

มีง้าวเป็นอาวุธ เป็นคนดีมีคุณธรรม
ซื่อสัตย์ กตัญญูรู้คุณคน เล่ากันว่า ผู้ใดคิดไม่ซื่อหวังทุจริต เมื่อได้พบเห็น
หรือสบตากับเทพกวนอู จะเกิดความละอายใจ ไม่กล้าคิดคด
จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีบริวารอยู่ใต้ปกครอง ควรบูชาไว้เพื่อเป็นสิริมงคล
 

 

4. ไชซิ้งเอี้ย 

เทพเจ้าแห่งโชคลาภ หรือเทพเจ้าเงินตรา
เป็นที่นิยมนับถือของผู้ประกอบการค้าชาวจีนมาช้านาน
เนื่องจากมีอานุภาพในด้านการอำนวยโชค ลาภ ความมั่งคั่ง ร่ำรวย มั่นคง
ให้แก่ผู้บูชา ไชซิ้งเอี้ย เป็นเทพเจ้าใส่หน้ากากงิ้ว ถ้าปั้นเป็นเทพ ๒ องค์
คือปั้นแบบครบชุดจะมีบู๊ และบุ๋น องค์บู๊จะหน้าดุ บางครั้งประทับบนหลังเสือ
หรือเหยียบเสืออยู่ ที่หัตถ์ถือกระบอง ส่วนองค์บุ๋นหน้าตาดี มีหนวด เชื่อกันว่า
องค์บู๊ ให้คุณเรื่องหนี้สินด้วย คือช่วยทวงหนี้ให้ผู้บูชา ลูกหนี้ไม่กล้าเบี้ยว
 

 

5. จี้กงอ๊วกฮุด 

อรหันต์ที่ชอบประทานความช่วยเหลือ
เป็นพระที่มีชีวิตชีวา หน้าตาขี้เล่นเบิกบาน ไม่ถือศีลกินเจ แต่ชอบร่ำสุรา
รูปของท่านจึงมักมีจอกสุรา อยู่ด้วย และมือหนึ่งจะถือพัดอั้งโล้ว ที่ใช้พัดเตาไฟทำด้วยใบลาน
บางทีก็หิ้วรองเท้าข้างหนึ่ง แล้วใส่อยู่ข้างหนึ่ง เล่ากันว่า
ท่านชอบช่วยเหลือคนที่มีความสามารถ ในรูปแบบแปลกๆที่คาดไม่ถึง
 

 

6. จงขุย หรือเจ็งคุ้ย 

เทพปราบมาร เป็นเทพแห่งปีศาจทั้งปวง
ตำนานเล่าว่า เป็นผู้ขจัดภูตผีปีศาจที่พระเจ้าถังเสวียนฝันถึง และให้อู๋เต๋าจือ
จิตรกรวาดภาพตามคำ บอกในฝัน ที่มาบอกถึงพระเจ้าถังเกาจง
(พระราชบิดาของพระเจ้าถังเสวียน) ได้เมตตาประทานชุดสีน้ำเงิน และจัดงานศพของตน
ที่ตกบันไดตาย เนื่องจากเสียใจสอบจอหงวนไม่ได้ จึงตั้งใจจะขจัดภูตผีปีศาจและสิ่งเลวร้ายให้
ดังนั้นในวันที่ ๕ ของเดือน ๕ เป็นวันปล่อยผี (ตวนอู่เจี่ย)
จึงพากันแขวนเทพจงขุยไว้ที่ผนังบ้าน เชื่อกันว่า ใครที่กลัวจะถูกทำของใส่
หรือถูกคุณไสยเล่นเอา ต้องมีจงขุยคุ้มครองอยู่ในบ้าน หรือกรณีที่ต้องเข้าโรงพยาบาล
หรือคนป่วยไปพักฟื้นที่ไหน สถานที่เหล่านั้นถือว่า มันสกปรก คือมีคนตายมาก
ต้องมีผีอยู่ ให้เอาเทพปราบมารองค์นี้ไปด้วย แล้วจะปลอดภัยหายเป็นปกติกลับบ้านได้
 

 

7. หยิน-หยาง (ไท้เก๊กโต๊ว) 

เป็นสัญลักษณ์วงกลมครึ่งขาวครึ่งดำ
ในดำมีจุดขาว ในขาวมีจุดดำ เหมือนตาปลา ทำให้ดูเป็น ปลาขาวดำสองตัวกลับหัวกัน
ความหมายให้สีดำเป็น หยิน - ผู้หญิง ความมืดดำ โลก ดวงจันทร์ ความอ่อนแอ (สวยงาม)
และความสันโดษ สีขาวเป็นหยาง - ผู้ชาย ความขาวสว่าง ท้องฟ้า (สวรรค์) ดวงอาทิตย์
ความเข้มแข็ง (พละกำลัง)
และความเป็นคู่หยินหยางนี้เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตที่มีสองด้านเสมอ
จึงถูกนำมาใช้เพื่อเป็นพลังมงคลในการเสริม และปรับฮวงจุ้ยได้อย่างดี
 

 

8. น้ำเต้า (หลู หรือ หู) 

เป็นสัญลักษณ์ของหมอเทพหรือหมอยา
ชาวจีนมักใช้แขวนในห้องเด็ก หรือผู้สูงอายุ เพราะเชื่อว่าหมอเทพได้มาอยู่ในห้อง
ทำให้มีสุขภาพ แข็งแรง เด็กๆไม่งอแง และไม่มีภูตผีมารบกวน
นอกจากนี้ผลน้ำเต้ายังเป็นพืชพันธุ์ที่มีเมล็ดมาก มีเครือยาว และออกผลไม่จบสิ้น
เปรียบเท่ากับหมื่นชั่วคน ใช้แสดงถึงความเป็นมงคลให้มีอายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรง
มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง
 

 

9. ระฆัง (เจง หรือเจ่ง) 

เป็นสัญลักษณ์มงคลทางศาสนา
หมายถึงการตื่น และการรู้ เสียงระฆังทำให้ตื่นจากการหลงในกิเลสตัณหา ให้รู้สึกตื่น
และรู้สัจธรรมที่แท้จริง ยังมีความเชื่ออีกว่า
เสียงระฆังจะนำแต่ข่าวดีและเรื่องมงคลต่างๆมาให้เท่านั้น
อีกทั้งยังจะทำให้รู้เท่าทันศัตรูคู่แข่งอีกด้วย
 

 

10. เหรียญจีนโบราณ 

สัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวย
มีเงินทองมากมาย ชาวจีนโบราณถือว่าเป็นหนึ่งในมงคลแห่งสมบัติโบราณ
เป็นสิ่งนำโชคลาภมาให้ จึงมักสลักคำสิริมงคล ไว้บนเหรียญ ซึ่งแปลว่า ให้มีสิริมงคล
สมปรารถนา หรือให้มีเงินทองเต็มบ้าน หรือเหรียญตราแห่งความเจริญรุ่งเรือง
 

 

11.คทามงคล (ยู่อี่) 

สัญลักษณ์แห่งความสมปรารถนา
เป็นเครื่องยศชั้นสูง สำหรับจักรพรรดิ ขุนนางชั้นสูง
และพระจีนชั้นผู้ใหญ่ไว้ใช้ทำพิธีกรรม ส่วนหัวของ คทาเป็นรูปทรงแป้น งอๆ
ซึ่งมาจากรูปลักษณ์ตรงส่วนหัวของเห็ดหลินจือ ที่ชาวจีนโบราณเชื่อว่า
มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ใครได้กินจะเป็นอมตะ และจัดเป็นพืชมงคลอย่างหนึ่ง
คทายู่อี่อาจทำด้วยงาช้าง หยก หิน ไม้ไผ่ และโลหะ ถ้าทำด้วยหยกเรียกว่า
"เง็กยู่อี่" เง็ก คือหยก ยู่อี่ แปลว่าสมปรารถนา
คทายู่อี่ยังเป็นของวิเศษที่พระโพธิสัตว์ และเทพฮก (ฮก ลก ซิ่ว) ถืออยู่ด้วย
เพราะฮก คือความสุข สุขที่เกิดจากการได้สมปรารถนาในทุกเรื่อง
จึงเชื่อว่าสัญลักษณ์ยู่อี่นี้ จะนำความสมปรารถนามาให้
 

 

 


12.
มังกร (หลง หรือ เล้ง) 

เป็นสัญลักษณ์แห่ง พลัง อำนาจ
ความยิ่งใหญ่ เพศชาย จักรพรรดิ ประเทศชาติ มังกรถือเป็นสัตว์สำคัญที่สุดของจีน
และเป็นสัตว์เทพที่ศักดิ์สิทธิ์ เกิดจากลักษณะของสัตว์ ๕ ชนิด มี เขากวาง หัววัว
ตัวงู เกล็ดปลา เท้าเหยี่ยว แต่บางตำราว่า มังกรมีที่มาจากส่วนของสัตว์ ๙ ชนิด คือ
เขากวาง หัวอูฐ ตาปีศาจ คองู ท้องหอยแครงยักษ์ เกล็ดปลาตะเพียน หรือปลากะโห้
เล็บอินทรีย์ หรือเหยี่ยว ฝ่าเท้าเสือ หูวัว ที่สำคัญมีหนวดเครางอกยื่นออกนิดเดียว
ใช้เวลา ๕๐๐ ปี หากอายุ ๑๐๐๐ ปี จะมีปีกงอกออกบินได้อีก ในปากมังกรจีนมีมุกอัคนี
ซึ่งเป็นมุกวิเศษที่ขยายให้เล็ก-ใหญ่ มืด-สว่างได้ ใช้เรียกลม ฝน
และปราบภูตผีปีศาจ ใช้แสดงพลังอำนาจ และความยิ่งใหญ่ มังกรเป็นสัตว์เทพ
จึงเหาะเหินเดินอากาศได้ แหวกน้ำดำดินได้ การนำสัญลักษณ์มังกรมาใช้
ไม่ว่าจะเป็นรูปวาด รูปปั้น หรือประดับตามข้าวของเครื่องใช้ หากเป็นของจักรพรรดิ
มังกรจะมี ๕ เล็บ ของขุนนางจะมี ๔ เล็บ ถ้าสามัญชนจะมี ๓ เล็บเท่านั้น ตามตำนานจีน
มังกรเป็นสัตว์มงคลสูงสุด เป็นราชาแห่งสัตว์มีเกล็ดทั้งมวล เป็นตัวแทนแห่งความแข็งแกร่ง
ความดีงาม ความตั้งใจ ความอุตสาหะพยายาม ความกล้าหาญ และความอดทน ชาวจีนจึง ถือว่า
มังกรคือ จิตวิญญาณของการเปลี่ยนแปลง และฟื้นฟูให้ดีขึ้น
และมังกรยังเป็นผู้นำฝนแห่งชีวิตมาให้ ภาพลักษณ์ของมังกร
จะเหมาะอย่างยิ่งกับผู้ที่เกิดปีไก่ (ระกา) ซึ่งเชื่อกันว่าแปลงร่างมาเป็นนกโฟนิกซ์
ที่เป็นเพื่อนสนิทกับมังกร
 

 

13. หงส์ (เพิ่งหวง) 

เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดินี ความงาม
เพศหญิง และการเริ่มต้น หรือการมีชีวิตใหม่ที่ดี หงส์ เป็นสัตว์ในตำนานเหมือนมังกร
และกิเลน มีลักษณะของนกมงคล ๕ ชนิดประกอบกัน คือ
 

หัวไก่ฟ้า ปากนกแก้ว ตัวเป็ดแมนดาริน
ขนนกกระสา และหางนกยูง หงส์เป็นใหญ่ในสัตว์ปีกทั้งหมด มี ๕ ประเภทคือ
ประเภทขนสีแดง ขนสีม่วง ขนสีเหลือง และขนสีขาว (หรือห่านฟ้า)
หงส์ตัวเมียมีหัวสีแดง ตัวผู้หัวสีเขียวหรือน้ำเงิน เสียงร้องเหมือนขลุ่ย
ไม่กินแมลงที่มีชีวิต ไม่จิกต้นไม้ที่เขียวสด ไม่บินเร่ร่อน
เมื่อบินไปไหนจะมีนกอื่นบินตาม นกนี้สามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ณืบนโลกได้
จะปรากฏในสถานที่มีความสงบเท่านั้น จึงใช้เป็นสื่อแสดงถึงความงาม และความดี ๕
ประการ คือ คุณธรรม ความยุติธรรม ศีลธรรม มนุษยธรรม และสัจธรรม
รวมถึงทางศาสตร์ฮวงจุ้ยจะใช้หงส์ ในความหมายของการตั้งต้นใหม่ที่ดี
 

 

14. กิเลน (ฉีหลิน) 

สัญลักษณ์ของวาสนา ความมั่นคง
และป้องกันสิ่งอัปมงคล กิเลน เป็นสัตว์มงคลตามตำนาน บางครั้งชาวจีนเรียกว่า
"ม้ามังกร" เหมือนเรื่องพระอภัยมณีของคน ไทย มีลักษณะของสัตว์มงคล ๕
ชนิดรวมกัน คือ หัวมังกร เขายูนิคอร์น ตัวเป็นกวาง มีเกล็ดเหมือนปลา หางวัว
ถือเป็นสัตว์มงคลซึ่งเมื่อปรากฏขึ้นที่ไหน หมายถึงกำลังจะมีเรื่องมงคลเกิดขึ้น
หรือจะมีแต่โชคดี ไม่มีเรื่องร้าย และยังเชื่อกันว่า
การจัดตั้งกิเลนไว้จะช่วยกรองและขจัดสิ่งอัปมงคลต่างๆ ให้พ้นไป
แต่จะนำเอาความโชคดี ข่าวดีมาให้
 

 

15. สิงห์ (ไซ หรือจอหงวนไซ) 

เป็นสัตว์มงคลที่มีอำนาจในภาคพื้นดิน
ให้คุณทางด้านแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง บางตำนานเล่าว่า
สิงห์ไม่ใช่สัตว์พื้นบ้านของจีน แต่มีในถิ่นแอฟริกา มีนักเดินทางชาวจีนไปเห็น ก็
ชอบมาก แต่ไม่สามารถนำกลับประเทศได้ จึงจดจำกลับมาสร้างภาพตามจินตนาการ
มีความสง่างามกำยำล่ำสัน เสียงร้องก้องกังวาน ถือเป็นเจ้าแห่งสัตว์ป่าทั้งปวง
สิงห์จึงเป็นที่ชื่นชม เคารพบูชาตั้งแต่กษัตริย์ จนถึงขุนนาง
และนิยมจัดตั้งสิงห์คู่ไว้หน้าสถานที่สำคัญ เช่นหน้าพระราชวัง โบสถ์ วัด
ยังมีบางตำนานกล่าวอีกว่า สิงห์ตัวผู้ และตัวเมียหยอกล้อเล่นกัน
ขนของมันที่หลุดออกจากตัวเกาะกันเป็นลูกกลมๆ
และต่อมาก็มีสิงห์ตัวเล็กออกจากก้อนกลมนั้น เราจึงเห็นรูปปั้นสิงห์ตัวผู้
(หวงไซจื้อ) จะเหยียบลูกโลก หรือลูกบอล ตัวเมีย (ฉือไซจื้อ) เหยียบลูกไว้
ชาวจีนเชื่อว่า การจัดตั้งสิงห์ไว้หน้าประตู หรือปลายหัวเสา แสดงถึงอำนาจ
น่าเกรงขาม เพราะสิงห์เป็นสัตว์เทพมงคล โดยเฉพาะสิงห์สีเขียวเป็นสัตว์เทพพาหนะของ
มัญชุศรีมหา-โพธิสัตว์ (บุ่งชู้ผ่อสัก) ในพุทธมหายาน
ดังนั้นสิงห์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการปกป้องคุ้มภัย และมีอำนาจขจัดภูตผีปีศาจ
ให้กับสถานที่นั้นๆอย่างยอดเยี่ยม
 

 

16. คางคกสามขาคาบเหรียญ (เซียมซู้ซากิมจี๊ หรือฉางฉุ) 

มีอีกชื่อว่าคางคกฟ้า เป็นสัตว์นำโชค
มีมงคลหมายถึงโชคลาภ เงินทอง อายุยืน ลักษณะเหมือนคางคก แต่มีสามขา
ปากคาบเหรียญทอง ตามตำนานเล่าว่า เนื้อเซียมซู้เป็นยา อายุวัฒนะ
กินแล้วช่วยให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ และเป็นอมตะ ตัวเซียมซู้จึงถูกจับกิน
จนต้องอพยพทิ้งถิ่นไปอยู่บนดวงจันทร์ มีชายคนหนึ่งชื่อเหล่าไฮ้
เป็นผู้โชคดีได้พบตัวเซียมซู้ แล้วเก็บมาเลี้ยงอย่างดี จึงบันดาลให้เกิดโชคมากมาย
ที่เคยยากจนก็กลับร่ำรวยขึ้นมา ชาวจีนเชื่อว่า เซียมซู้ เป็นสัตว์มงคล
ที่นำความร่ำรวย มีโชคลาภ และอายุยืนมาให้
 

 

17. กวาง (หลู้ หรือลก) 

เป็นสัญลักษณ์แทนเทพเจ้าลก ในฮก ลก ซิ่ว
ซึ่งหมายถึงยศถาบรรดาศักดิ์ ความร่ำรวย รุ่งเรือง มั่งคั่ง อายุยืนยาว กวาง
เป็นสัตว์อายุยืนมาก กวางสีเทามีอายุ ๑
,๐๐๐ ปี กวางสีดำมีอายุ ๑,๕๐๐ -๒๐๐๐ ปี และพบว่ากวางถูกใช้ในพิธีบูชายัญ
เพื่อความเป็นอมตะ ดังนั้นชาวจีนจึงเชื่อว่า ภาพหรือรูปปั้นกวาง
นำสิ่งมงคลถึงความยืนยาว ทั้งด้านยศศักดิ์ ความก้าวหน้า ความร่ำรวย และสุขภาพดี
มาให้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
 

 

18. เต่ามังกร 

สัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง อายุยืน
สุขภาพดี ตั้งใจ มุมานะ นำไปสู่ความก้าวหน้า ความสำเร็จ อย่างมั่นคง ยืนยาว
และรวมถึงความเพิ่มพูนด้านทรัพย์สินเงินทอง และป้องกันคุ้มภัยจากสิ่งชั่วร้าย
 

เต่ามังกร เป็นสัตว์เทพที่มีพลังอำนาจ
เป็นที่ศรัทธาสูงสุดของราชวงศ์ถัง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ถังได้สร้างรูปปั้นเต่ามังกรไว้หน้าพระราชวัง
และเป็นความเชื่อสืบต่อกันมาของชาวจีน เพราะมีความเชื่อว่า เต่ามังกร
เป็นลูกตัวที่ ๙ ของพญามังกร ซึ่งออกมาเป็นเต่าหัวเป็นมังกร ตามความหมายแล้ว เต่า
เป็นตัวแทนของความยั่งยืน แข็งแรง อดทน มีเกราะป้องกันอันตราย ส่วนมังกร คือ
ความยิ่งใหญ่ ความดีงาม ความกล้าหาญ วาสนาบารมีสูงส่ง จึงถือเป็นมงคลสูงสุด
เมื่อสัตว์มงคลทั้งสองชนิดมารวมกันไว้ ซึ่งเป็นสุดยอดปรารถนาของชาวจีนในอดีต
และเป็นที่เชื่อถือมาจนถึงปัจจุบัน
 

 

19. ปลา (ฮื้อ หรือ อวี๋) 

สัญลักษณ์ของการมีมากมายล้นเหลือ
ได้กำไร ได้ประโยชน์ ภาษาจีนแต้จิ๋ว ฮื้อ เป็นคำพ้องเสียงแปลว่ามากมายล้นเหลือ
ใช้แสดงถึงความหมายมงคล ให้มีสิ่งที่ ต้องการมากมาย มีเหลือกินเหลือใช้ ไม่ขาด
และโชคดี หากเป็นปลาทอง จะหมายถึงทองและหยกเต็มบ้าน หากเป็นปลาหลี่ฮื้อ
หรือหลี่อวี๋ หมายถึง ความสำเร็จ โดยมีตำนานว่า ปลาหลี่ฮื้อตัวใดสามารถว่ายมาถึงประตูมังกรที่ปากทางสวรรค์
แล้วกระโดดข้ามไปได้ จะกลายเป็น "ปลามังกร" ซึ่งเป็นคติสอนใจชาวจีนว่า
คนจนก็มีสิทธิ์รวยได้ ถ้ามีความมุ่งมั่นและพยายามเหมือนปลาหลี่ฮื้อ
ที่เพียรว่ายน้ำมาจนถึงปากทางสวรรค์ และใช้แรงพยายามสุดชีวิตเพื่อให้เข้าประตูมังกรได้สำเร็จ
ซึ่งจะได้เปลี่ยนเป็นปลาที่มีเกียรติยศสง่างาม
ถ้าปลาตัวใดกระโดดข้ามไม่ได้ก็ยังคงเป็นปลาหลี่ฮื้อตามเดิม
จึงนิยมใช้ปลาหลี่ฮื้อแทนคำอวยพรที่ว่า ขอให้ประสบความสำเร็จในชีวิต
และให้มีเพียงพอ
 

 

20. เป็ดแมนดาริน (อวงเอียง) 

สัญลักษณ์ของการมีชีวิตคู่ที่มีความสุข
การแต่งงาน ตามธรรมชาติของเป็ดแมนดาริน จะอยู่ด้วยกันเป็นคู่เสมอ
จึงใช้อวยพรคู่บ่าวสาวให้มีชีวิตคู่เปี่ยมสุข และซื่อสัตย์ต่อกัน
จึงมีความเชื่อว่า การใช้สัญลักษณ์เป็ดคู่
จะเป็นมงคลสูงสุดในเรื่องของความสมหวังใน ความรัก
 

 

21. ม้า (หม่า) 

สัญลักษณ์แทนความว่องไว รวดเร็ว ทันที
แข็งแรง ไม่หยุดอยู่กับที่ การเดินทาง เลื่อนตำแหน่ง ชาวจีนเชื่อกันว่า
การจัดวางม้าสามตัวจะสามารถแก้การแตกแยกได้ หรือใช้ภาพม้าแปดตัว แปด
 

อิริยาบถ
เพื่อเสริมความก้าวหน้ารุ่งเรืองในทางธุรกิจการค้า สำเร็จรวดเร็ว ม้า
ยังเป็นสัญลักษณ์แทนคำอวยพรให้สุขภาพแข็งแรงอีกด้วย
 

 

22. หมู (จู) 

สัญลักษณ์ของการสอบได้ ทุกเรื่องง่าย
สมบูรณ์พร้อม กินอิ่มนอนหลับ ชาวจีนเชื่อกันว่า การอวยพรโดยใช้รูปหมู
หมายถึงการให้สอบได้ ส่วนคำว่า "ฮวน"ที่แปลว่าหมูป่าจะ
หมายถึงความสนุกสนาน ใช้แทนความหมายดีใจอย่างยิ่ง บางตำราเชื่อว่า
หมูเป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์พร้อม ในเรื่องของการมีกินมีใช้ตลอด กินอิ่มนอนหลับ
สบายใจ เพราะทุกเรื่องที่ยากจะกลับเป็นเรื่องง่ายๆ
 

 

23. ปี่เซียะ / ผี่ชิว หรือเผ่เย่า 

สัญลักษณ์ของสัตว์มงคลนำโชค
ป้องกันและกำจัดสิ่งอัปมงคล มีลักษณะรูปร่างคล้ายกวาง มีเขี้ยว ตาโปน ปากกว้าง
มีเขา หางยาว ปีกสั้น แต่บางตัวก็ไม่มีปีก มีอุปนิสัยกล้าหาญ เปิดเผย จงรักภักดี
ซื่อสัตย์กับเจ้าของ ซึ่งรูปลักษณะของปี่เซียะเป็นการรวมสัตว์มงคล ๕ ชนิด ๕
ธาตุไว้ด้วยกัน คือ มีสี่เท้าของสิงโตอันทรงพลัง (ธาตุทอง) มีเขาและลำตัวเป็นกวาง
(ธาตุน้ำ) มีปีกของพญานกอันแข็งแกร่ง (ธาตุไฟ) มีศรีษะของมังกรอันทรงพลัง
(ธาตุไม้) มีหางแมวอันศักดิ์สิทธิ์ (ธาตุดิน)
จึงเป็นความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับรูปลักษณะว่า เท้าตะปบเงิน ยกหัวข่มศัตรูคู่แข่ง
อ้าปากกว้างรับทรัพย์ ลิ้นตวัดเกี่ยวเงินทอง หางยาวกวักโชคลาภ ไม่มีรูทวารเงินทองจึงไม่รั่วไหล
เล่ากันว่า ปี่เซียะเป็นราชบุตรองค์ที่ ๙ ของพญามังกรสวรรค์ ที่เรียกกันหลายชื่อ
ขึ้นอยู่กับสถานที่พบเห็น บ้างก็ว่า "เผ่เย่า"อยู่บนสวรรค์
"ผี่ชิว"อยู่บนโลกมนุษย์ "พีแคน"อยู่ในมหาสมุทร
แต่ทั้งหมดจัดเป็นสัตว์เทพ ที่นำโชคลาภและขจัดสิ่งอัปมงคล ป้องกันอันตราย
รวมทั้งยังช่วยนำพาลาภลอยมาให้ โดยเฉพาะโชคลาภที่เกี่ยวข้องกับการงาน
หรืออาชีพที่ต้องเสี่ยง เชื่อว่า ปี่เซียะ มีพลังแรงมากในเรื่องการนำโชค
หากยิ่งได้นำไปตั้งคู่กับ "กิเลน"ด้วยแล้ว จะยิ่งมีพลังแรงมากขึ้นไปอีก
ผู้ที่จัดตั้งปี่เซียะนั้นควรเป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม จึงจะประสบผล
แต่หากมีนิสัยคดโกง ประพฤติผิดศีลธรรม ไม่มีคุณธรรมแล้ว
ก็จะได้รับผลในทางตรงกันข้าม
 

 

24. แพะ (เหยียงหรือเอี๊ย) 

สัญลักษณ์แห่งความโชคดี ความรุ่งเรือง
และความสำเร็จ คนจีนโบราณยกย่องให้แพะเป็นสัตว์มงคล หมายถึงโชคดี และความรุ่งเรือง
มีการวาดหรือปั้นลวดลาย แพะสามตัว พ่อแม่ลูกกับดวงอาทิตย์ (ซาเอี๊ยไคไข่)
ลายแพะสามตัวเปิดประตู (ซาเอี๊ยคุยมึ้ง) ถือเป็นมงคลและเป็นการอวยพร
หมายถึงความรุ่งเรือง ความสำเร็จได้กลับมา อุปมาเหมือนเมื่อฤดูใบไม้ผลิ
ความสดชื่นเขียวชอุ่มสวยงามก็กลับมา
 

 

25. กระต่าย (ทู่จื่อ หรือ โท้วบุ๊ง) 

สัญลักษณ์ให้มีอำนาจ ความสามารถ
ความกล้าหาญ และยุติธรรม ตามความเชื่อของชาวจีนสมัยโบราณเชื่อว่า
ฝูงกระต่ายสีขาวบนดวงจันทร์ มีหน้าที่ปรุงยาอายุวัฒนะ จึงวาดลวดลายมงคลเป็นกระต่าย
๓ ตัววิ่งไล่กันเป็นวงกลม โดยให้หูข้างเดียวของกระต่ายแต่ละตัวอยู่ตรงกลางเป็นสามเหลี่ยม
เมื่อดูทีละตัวจึงจะเห็นกระต่ายแต่ละตัวมีหูสองข้าง ใช้แสดงมงคลถึงการให้มีอำนาจ
กล้าหาญ และยุติธรรม หากใช้สัญลักษณ์ "กระต่ายป่า"
จะหมายถึงความมีอายุยืนเหมือนกวาง
 

 

26. กุ้ง (เซีย) 

สัญลักษณ์แห่งความโชคดี ผ่านพ้นอุปสรรค
เชื่อกันว่าลักษณะตัวงอของกุ้ง ทำให้ตัวเองมีแรงกระโดดได้ไกล
ไม่มีอุปสรรคทั้งทางโค้งทางลัด จึง
 

หมายถึงการทำสิ่งใดได้ผลตามที่ปรารถนา
สามารถผ่านพ้นอุปสรรคทั้งหลายได้ และโชคดีในทุกเรื่อง
 

 

27. ถั่วลิสง (หลัวฮวาเชิง) 

ถือเป็นผลไม้มงคลอย่างหนึ่ง
ซึ่งได้รับขนานนามว่า เมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืน ถั่วลิสง
สามารถเจริญเติบโตได้ดีเมื่ออยู่ใต้ดิน มีเมล็ดเป็นพวงคล้ายองุ่น
เก็บไว้ได้นานไม่เน่าเปื่อย มีรสชาติอร่อย หอมและมีคุณค่าต่อร่างกาย
จึงใช้ถั่วลิสงเป็นสัญลักษณ์มงคล แสดงถึงความงอกเงย
งอกงามและความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง
 

 

28. ต้นไผ่ (จู๋) 

สัญลักษณ์แห่งความก้าวหน้า การยืดหยุ่น
มั่นคง ทนทาน อายุยืน ดังสุภาษิตที่ว่า ต้นไผ่สูงขึ้นร้อยเมตร
ชีวิตต้องก้าวหน้าไปหนึ่งก้าว ( แป๊ะเชี๊ยะกอเท้า เก๊งจิ๊งเจ๊กโป่ว) ไผ่
คือต้นไม้มงคล ตามลักษณะของไผ่ เป็นไม้ที่มีประโยชน์มาก ปลูกง่ายโตเร็ว แตกกอเร็ว
และให้ใบ สีเขียวตลอดปี ในฤดูหนาวต้นไผ่จะไม่แห้งตาย และลู่ตามกระแสลม
โดยเฉพาะเสียงแตกของไม้ไผ่ในกองไฟนั้น ใช้ขับไล่ภูตผีปีศาจได้
(เป็นต้นกำเนิดเสียงประทัด) และทำให้เกิดความสงบร่มเย็น ภาษาจีน คำว่า
"จู๋" แปลว่า อวยพร ดังนั้น ต้นไผ่จึงเป็นสุดยอดไม้มงคลของการอวยพร
ตามความหมายให้ก้าวหน้า รุ่งเรืองอย่างมั่นคงตลอดกาล
 

 

29. เจ้าแม่กวนอิม หรือพระโพธิสัตว์กวนอิม 

เทพแห่งความเอื้ออารี
ช่วยเหลือผู้ประสบทุกข์ จะประทานพรให้ตามคำอธิษฐาน
 

 

30. ฮัวฮะ 

เซียนคู่ องค์หนึ่งมีของวิเศษเป็นใบบัว
อีกองค์ถือตลับกลม เป็นมงคลให้รักใคร่ปรองดองกัน บ้านไหนพี่น้องชอบตีกัน
สามีภรรยาวิวาทกัน หรือที่ทำงานพนักงานไม่ลงรอยกัน ตั้งฮัวฮะไว้ จะอยู่เย็นเป็นสุข
 

 

 

 

31. ดอกโบตั๋น 

ความมั่งคั่ง มีเกียรติ ความสง่างาม 

 

32. ช้าง 

เป็นสัตว์ที่มีอำนาจ พละกำลัง และฉลาด ถือสัตว์มงคลที่ช่วยนำความสำเร็จมาให้ 

 

33. เสือ 

เป็นสัตว์เทพที่มีอำนาจ
ใช้ป้องกันภูตผีปีศาจ และคุ้มครองชีวิต
 

 

34. ไก่ 

หงอนที่หัวหมายถึง
ความมีสติปัญญาทางหนังสือ เดือยที่เท้าหมายถึง ความองอาจกล้าหาญ
สัญชาตญาณการปกป้องตัวเมีย แสดงถึงความเมตตากรุณา คนจีนใช้เป็นมงคลในเรื่องของตำแหน่งทางการงาน
และใช้เพื่อป้องกันไฟ
 

 

35. เต่า 

อายุยืน แข็งแกร่ง อดทน 

 

36. ลิง 

ได้ยศศักดิ์ตำแหน่งสูงทุกชั่วคน 

 

37.สุนัข 

ปกป้องทรัพย์สิน 

 

38. เรือใบ 

ความสะดวกปราศจากอันตราย
และนำเงินทองเข้ามา
 

 

39. ผลท้อ 

ขจัดภูตผีปีศาจ และป้องกันโรคภัย
อายุยืน
 

 

40. ง่วนป้อ 

ความมั่งคั่ง รองรับโชคลาภ เงินทอง 

 

41. ชาวประมงตกปลา 

ให้ได้กำไร มากมาย 

 

42. จักจั่น 

อมตะ การฟื้นคืนชีพ
เป็นสัญลักษณ์ของความสุข และหนุ่มสาวตลอดกาล
เพราะจักจั่นเป็นแมลงชนิดเดียวที่มีอายุยืนยาวถึงสิบเจ็ดปี และยังเป็นมงคลแทนการสอบได้
เรียนเก่ง ความสำเร็จ
 

 

43. ยันต์แปดทิศ (โป๊ยก่วย) 

ใช้แก้ฮวงจุ้ยที่เสียให้ดีขึ้น
และป้องกันสิ่งอัปมงคลต่างๆ
 

 

44. ใบไม้ 

ความสุขสันติ ปัดเป่าความชั่วร้าย 

 

 

 

 

ขอบคุณที่มา : http://www.7wondersthailand.com/showdetail.asp­boardid=1362




 
 
   
 
[email protected]    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal